เปิดโพลความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น ชี้ “นอกใจ-เจ้าชู้-หึงหวง” ยังครองแชมป์กระตุ้นให้เกิดความรุนแรง เผยสาเหตุที่ทนเพราะรัก-อาย-กลัวพ่อแม่รู้ แนะ 6 วิธีแก้ปัญหาตั้งสติ ไม่รุนแรง แจ้งความ ขอรับคำปรึกษา
วันนี้ (13 พ.ย.) ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และนิสิตนักศึกษา จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในโอกาสวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กปี 2557 ภายใต้แคมเปญ “อย่าอ้างว่ารัก แล้วทำร้าย”
น.ส.อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาพระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจ “สถานการณ์ความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น” โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักศึกษาหญิง ทั้งหมด 1,204 ราย อายุระหว่าง 17-25 ปีจาก 14 สถาบันการศึกษา ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ เมื่อถามถึงสถานการณ์ความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับตัวเองหรือจากเพื่อน คนรู้จัก พบอันดับแรก 98.4% คือ การนอกใจ เจ้าชู้คบหลายคน รองลงมา90.5% การใช้คำหยาบคายส่งเสียงดัง 75% การทำลายข้าวของ 74% ทำร้ายร่างกาย เช่น กระชากแขน ดึงผม ตบหน้า ตบหัว ทุบตี เตะ ขณะที่ 71.6% เป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวห้ามออกไปไหน และ68.8%การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
น.ส.อังคณากล่าวว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่น คือ 18.8%การนอกใจ 18.6% หึงหวง/แสดงความเป็นเจ้าของ 17.1% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 12.5% แสดงอำนาจที่เหนือกว่า/ไม่ให้เกียรติกัน ขณะเดียวกันเหตุผลที่ผู้หญิงต้องอดทนเพิกเฉยต่อการถูกกระทำ พบว่า 23.3% ทนเพราะรัก 22.7% ไม่กล้าบอกใคร 17.9% กลัวพ่อแม่/ผู้ปกครองรู้ 17%กลัวถูกทำร้ายซ้ำ และเมื่อถามว่า หากพบเห็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงจากแฟนหรือคนรักจะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง 33.4%ตอบว่า แจ้งตำรวจ 18% แจ้งผู้ดูแลหอพัก/ผู้อาวุโสในละแวกนั้น 16% เข้าไปห้าม 7.4% เพิกเฉย และในทางตรงกันข้ามหากเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงเอง จะมีวิธีป้องกันตัวอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง 47% ระบุว่า ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน/คนรู้จัก 23.3% หนีไปอยู่ที่อื่นสักพัก/หนีปัญหา 12.3%ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 9.5% ระบายทุกข์ด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนพฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่นได้อย่างชัดเจน จึงขอฝากคำแนะนำ เมื่อวัยรุ่นต้องเผชิญกับความรุนแรงดังนี้1. ตั้งสติ อย่าใช้อารมณ์2. ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง 3. หาทางเอาตัวเองออกจากพื้นที่เกิดเหตุ 4. แจ้งเหตุ ขอรับการช่วยเหลือ 5. อย่าเก็บเรื่องไว้คนเดียว ขอคำปรึกษา หาตัวช่วย และ 6.หลีกเลี่ยงการดื่มหรือเสพของมึนเมาทุกชนิด ซึ่งทำให้ขาดสติและเพิ่มดีกรีความรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากวัยรุ่นต้องเผชิญสถานการณ์เลวร้ายสามารถขอคำปรึกษาและการช่วยเหลือได้ที่ 0-2513-2889 ซึ่งมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาที่เกิดจากอคติทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิง เครือข่ายชุมชน กลไกรัฐ และเอกชน เพื่อบูรณการการทำงานนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืน และจากปัญหาดังกล่าว ทางมูลนิธิฯเตรียมที่จะเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขในเร็วๆ นี้ และจะสนับสนุนให้มีการรณรงค์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ” น.ส.อังคณากล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 พ.ย.) ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และนิสิตนักศึกษา จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในโอกาสวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กปี 2557 ภายใต้แคมเปญ “อย่าอ้างว่ารัก แล้วทำร้าย”
น.ส.อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาพระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจ “สถานการณ์ความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น” โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักศึกษาหญิง ทั้งหมด 1,204 ราย อายุระหว่าง 17-25 ปีจาก 14 สถาบันการศึกษา ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ เมื่อถามถึงสถานการณ์ความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับตัวเองหรือจากเพื่อน คนรู้จัก พบอันดับแรก 98.4% คือ การนอกใจ เจ้าชู้คบหลายคน รองลงมา90.5% การใช้คำหยาบคายส่งเสียงดัง 75% การทำลายข้าวของ 74% ทำร้ายร่างกาย เช่น กระชากแขน ดึงผม ตบหน้า ตบหัว ทุบตี เตะ ขณะที่ 71.6% เป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวห้ามออกไปไหน และ68.8%การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
น.ส.อังคณากล่าวว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่น คือ 18.8%การนอกใจ 18.6% หึงหวง/แสดงความเป็นเจ้าของ 17.1% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 12.5% แสดงอำนาจที่เหนือกว่า/ไม่ให้เกียรติกัน ขณะเดียวกันเหตุผลที่ผู้หญิงต้องอดทนเพิกเฉยต่อการถูกกระทำ พบว่า 23.3% ทนเพราะรัก 22.7% ไม่กล้าบอกใคร 17.9% กลัวพ่อแม่/ผู้ปกครองรู้ 17%กลัวถูกทำร้ายซ้ำ และเมื่อถามว่า หากพบเห็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงจากแฟนหรือคนรักจะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง 33.4%ตอบว่า แจ้งตำรวจ 18% แจ้งผู้ดูแลหอพัก/ผู้อาวุโสในละแวกนั้น 16% เข้าไปห้าม 7.4% เพิกเฉย และในทางตรงกันข้ามหากเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงเอง จะมีวิธีป้องกันตัวอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง 47% ระบุว่า ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน/คนรู้จัก 23.3% หนีไปอยู่ที่อื่นสักพัก/หนีปัญหา 12.3%ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 9.5% ระบายทุกข์ด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนพฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่นได้อย่างชัดเจน จึงขอฝากคำแนะนำ เมื่อวัยรุ่นต้องเผชิญกับความรุนแรงดังนี้1. ตั้งสติ อย่าใช้อารมณ์2. ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง 3. หาทางเอาตัวเองออกจากพื้นที่เกิดเหตุ 4. แจ้งเหตุ ขอรับการช่วยเหลือ 5. อย่าเก็บเรื่องไว้คนเดียว ขอคำปรึกษา หาตัวช่วย และ 6.หลีกเลี่ยงการดื่มหรือเสพของมึนเมาทุกชนิด ซึ่งทำให้ขาดสติและเพิ่มดีกรีความรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากวัยรุ่นต้องเผชิญสถานการณ์เลวร้ายสามารถขอคำปรึกษาและการช่วยเหลือได้ที่ 0-2513-2889 ซึ่งมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาที่เกิดจากอคติทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิง เครือข่ายชุมชน กลไกรัฐ และเอกชน เพื่อบูรณการการทำงานนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืน และจากปัญหาดังกล่าว ทางมูลนิธิฯเตรียมที่จะเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขในเร็วๆ นี้ และจะสนับสนุนให้มีการรณรงค์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ” น.ส.อังคณากล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่