วานนี้ (13 พ.ย.57) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และนิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบัน จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในโอกาสวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กปี 2557 ภายใต้แคมเปญ “อย่าอ้างว่ารัก แล้วทำร้าย” ภายในงานมีการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ชุด“อย่าอ้างว่ารักแล้วทำร้าย” และเดินรณรงค์แจกสื่อกับวัยรุ่น นักเรียนนิสิตนักศึกษา ย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า100คน
นางสาวอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาพระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจ“สถานการณ์ความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น” โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักศึกษาหญิง ทั้งหมด 1,204 ราย อายุระหว่าง 17-25 ปีจาก14 สถาบันการศึกษา ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล ทั้งนี้เมื่อถามถึงสถานการณ์ความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับตัวเองหรือจากเพื่อน/คนรู้จัก กลุ่มตัวอย่าง ระบุ อันดับแรก 98.4% คือการนอกใจ เจ้าชู้คบหลายคน รองลงมา 90.5% การใช้คำหยาบคายส่งเสียงดัง 75% การทำลายข้าวของ 74% ทำร้ายร่างกาย เช่น กระชากแขน ดึงผม ตบหน้า ตบหัว ทุบตี เตะ ขณะที่ 71.6% เป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวห้ามออกไปไหน และ 68.8%การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
นางสาวอังคณา กล่าวว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่น คือ18.8% การนอกใจ 18.6% หึงหวง/แสดงความเป็นเจ้าของ17.1% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 12.5%แสดงอำนาจที่เหนือกว่า/ไม่ให้เกียรติกัน ขณะเดียวกันเหตุผลที่ผู้หญิงต้องอดทนเพิกเฉยต่อการถูกกระทำ พบว่า 23.3% ทนเพราะรัก 22.7%ไม่กล้าบอกใคร 17.9%กลัวพ่อแม่/ผู้ปกครองรู้ 17%กลัวถูกทำร้ายซ้ำ และเมื่อถามว่า หากพบเห็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงจากแฟนหรือคนรักจะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง 33.4%ตอบว่า แจ้งตำรวจ 18%แจ้งผู้ดูแลหอพัก/ผู้อาวุโสในละแวกนั้น 16%เข้าไปห้าม 7.4% เพิกเฉย และในทางตรงกันข้ามหากเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงเอง จะมีวิธีป้องกันตัวอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง47% ระบุว่า ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน/คนรู้จัก 23.3%หนีไปอยู่ที่อื่นสักพัก/หนีปัญหา12.3%ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ9.5%ระบายทุกข์ด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนพฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่นได้อย่างชัดเจน จึงขอฝากคำแนะนำ เมื่อวัยรุ่นต้องเผชิญกับความรุนแรงดังนี้1.ตั้งสติ อย่าใช้อารมณ์2.ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง 3.หาทางเอาตัวเองออกจากพื้นที่เกิดเหตุ 4.แจ้งเหตุ ขอรับการช่วยเหลือ 5.อย่าเก็บเรื่องไว้คนเดียว ขอคำปรึกษา หาตัวช่วย และ 6.หลีกเลี่ยงการดื่มหรือเสพของมึนเมาทุกชนิด ซึ่งทำให้ขาดสติและเพิ่มดีกรีความรุนแรง อย่างไรก็ตามหากวัยรุ่นต้องเผชิญสถานการณ์เลวร้ายสามารถขอคำปรึกษาและการช่วยเหลือได้ที่ 02-5132889 ซึ่งมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาที่เกิดจากอคติทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิง เครือข่ายชุมชน กลไกรัฐ และเอกชน เพื่อบูรณการการทำงานนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืน และจากปัญหาดังกล่าว ทางมูลนิธิฯเตรียมที่จะเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกระทวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขในเร็วๆนี้ และจะสนับสนุนให้มีการรณรงค์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ”นางสาวอังคณา กล่าว
นางสาวจีน (นามสมมติ) อายุ24ปี เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตที่เคยถูกกระทำด้วยความรุนแรงว่า ตนเป็นเด็กต่างจังหวัด ย้ายเข้ามาศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และมีแฟนเป็นรุ่นพี่ที่เจอกันขณะไปเที่ยวสถานบันเทิง จากนั้นได้ย้ายมาอาศัยอยู่บ้านแฟนได้ เพียงไม่กี่เดือนแฟนเริ่มเปลี่ยนไปชอบทำร้ายร่างกาย โมโหร้าย และเป็นคนชอบดื่ม มักจะอ้างว่าทำไปเพราะรักและหึงหวง หลายครั้งที่ต้องหยุดเรียนเพราะมีรอยช้ำตามร่างกาย อีกทั้งกลัวถูกกระทำซ้ำโดยไม่กล้าบอกพ่อแม่ของตัวเองเพราะอาย ส่วนพ่อแม่แฟนก็ไม่เคยห้ามปราม
นางสาวจีน กล่าวว่า ครอบครัวของแฟนเป็นคนฐานะดี แต่ก็ไม่พอใจที่ตนย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านตั้งแต่แรก ตนถูกกดดันสารพัด และยังถูกแฟนบังคับให้ไปทำงานหลังเลิกเรียนที่ร้านเหล้าแห่งหนึ่ง แต่ด้วยความหึงหวงของแฟนจึงต้องออกจากงาน จากนั้นด้วยความคิดว่าเขาจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้จึงทนอยู่กับแฟนกระทั่งตั้งครรภ์ ต้องหยุดเรียน ระหว่างนั้นมาทราบภายหลังว่าแฟนนอกใจไปมีผู้หญิงอื่น จึงเกิดมีปากเสียง ตนถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง เมื่อทนอยู่ไม่ได้จึงกลับมาหาพ่อแม่ที่ต่างจังหวัด เมื่อคลอดลูกแฟนก็มาตามง้อ เพราะเห็นว่าเขาเป็นพ่อของลูกจึงยอมกลับไปคืนดี แต่ได้ไม่นานก็ถูกทำร้ายร่างกายอีกซ้ำอีกจนกระดูกหัก และต้องหนีออกมาอาศัยอยู่กับเพื่อน
“สภาพร่างกายตอนนั้นทั้งบอบช้ำตามใบหน้า เนื้อตัวเขียวช้ำทั้งตัว เพื่อนพามาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ให้คำแนะนำและส่งตรวจร่างกาย แจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายชาย และได้ให้มูลนิธิฯช่วยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอบุตรชายคืน โดยไม่ขอรับค่าเลี้ยงดูบุตร ซึ่งศาลได้พิจารณาให้คืนบุตรชาย เนื่องจากเราทั้งคู่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรเป็นสิทธิของแม่เท่านั้นและตอนนี้ก็ทำงานเลี้ยงลูก และนำบทเรียนที่เคยก้าวพลาดมาเตือนสติตัวเองจนปัจจุบัน และตั้งใจเรียนให้จบ ตอนนี้เหมือนได้ชีวิตใหม่กลับมาอีกครั้ง อยากฝากกับเพื่อนวัยรุ่นทุกคนว่ารักต้องมีสติ มีเหตุผลและต้องไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาเด็ดขาด” นางสาวจีน กล่าว
ขณะที่ นายเอ (นามสมมุติ) อายุ 22 ปี เยาวชนจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ประสบการณ์ความรักในวัยรุ่นที่ผ่านมาตนและแฟนเกือบไปด้วยกันไม่รอดเราทั้งคู่ทะเลาะมีปากเสียงกันบ่อย ส่วนเหตุการณ์ที่ทำร้ายร่างกายแฟนรุนแรงที่สุดคือ ใช้ร่มตีไปที่ใบหน้าแฟนเพราะความโมโห ส่วนใหญ่เป็นเรื่องหึงหวงใจร้อน เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีอิสระหรือเป็นส่วนตัว แต่พอโตขึ้นจนตอนนี้แต่งงานกันแล้ว เราทั้งคู่ก็ได้เรียนรู้มุมมองต่างๆ ปรับพฤติกรรมเข้าหากัน ระยะเวลาที่คบกันมา8ปีทำให้ตนมีสติคิดได้หลายเรื่อง เราเป็นผู้ชายต้องไม่ทำร้ายผู้หญิง ต้องให้เกียรติเขา และเอาใจใส่เห็นอกเห็นใจ หันหน้ามาพูดคุยกันดีกว่า เพราะสิ่งที่เขาทำคือเขารักและเป็นห่วงเรา ชีวิตคู่ทำให้ผมเรียนรู้อะไรหลายอย่าง สิ่งสำคัญคือ ความรุนแรงไม่ช่วยแก้ปัญหา ทั้งนี้อีก20วัน ตนจะพ้นโทษและกลับไปเริ่มชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ และนำประสบการณ์คำสอนดีๆจากบ้านกาญฯไปใช้ประคับประคองชีวิตคู่ต่อไป
นางสาวอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาพระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจ“สถานการณ์ความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น” โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักศึกษาหญิง ทั้งหมด 1,204 ราย อายุระหว่าง 17-25 ปีจาก14 สถาบันการศึกษา ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล ทั้งนี้เมื่อถามถึงสถานการณ์ความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับตัวเองหรือจากเพื่อน/คนรู้จัก กลุ่มตัวอย่าง ระบุ อันดับแรก 98.4% คือการนอกใจ เจ้าชู้คบหลายคน รองลงมา 90.5% การใช้คำหยาบคายส่งเสียงดัง 75% การทำลายข้าวของ 74% ทำร้ายร่างกาย เช่น กระชากแขน ดึงผม ตบหน้า ตบหัว ทุบตี เตะ ขณะที่ 71.6% เป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวห้ามออกไปไหน และ 68.8%การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
นางสาวอังคณา กล่าวว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงของคู่รักในวัยรุ่น คือ18.8% การนอกใจ 18.6% หึงหวง/แสดงความเป็นเจ้าของ17.1% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 12.5%แสดงอำนาจที่เหนือกว่า/ไม่ให้เกียรติกัน ขณะเดียวกันเหตุผลที่ผู้หญิงต้องอดทนเพิกเฉยต่อการถูกกระทำ พบว่า 23.3% ทนเพราะรัก 22.7%ไม่กล้าบอกใคร 17.9%กลัวพ่อแม่/ผู้ปกครองรู้ 17%กลัวถูกทำร้ายซ้ำ และเมื่อถามว่า หากพบเห็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงจากแฟนหรือคนรักจะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง 33.4%ตอบว่า แจ้งตำรวจ 18%แจ้งผู้ดูแลหอพัก/ผู้อาวุโสในละแวกนั้น 16%เข้าไปห้าม 7.4% เพิกเฉย และในทางตรงกันข้ามหากเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงเอง จะมีวิธีป้องกันตัวอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง47% ระบุว่า ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน/คนรู้จัก 23.3%หนีไปอยู่ที่อื่นสักพัก/หนีปัญหา12.3%ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ9.5%ระบายทุกข์ด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนพฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่นได้อย่างชัดเจน จึงขอฝากคำแนะนำ เมื่อวัยรุ่นต้องเผชิญกับความรุนแรงดังนี้1.ตั้งสติ อย่าใช้อารมณ์2.ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง 3.หาทางเอาตัวเองออกจากพื้นที่เกิดเหตุ 4.แจ้งเหตุ ขอรับการช่วยเหลือ 5.อย่าเก็บเรื่องไว้คนเดียว ขอคำปรึกษา หาตัวช่วย และ 6.หลีกเลี่ยงการดื่มหรือเสพของมึนเมาทุกชนิด ซึ่งทำให้ขาดสติและเพิ่มดีกรีความรุนแรง อย่างไรก็ตามหากวัยรุ่นต้องเผชิญสถานการณ์เลวร้ายสามารถขอคำปรึกษาและการช่วยเหลือได้ที่ 02-5132889 ซึ่งมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาที่เกิดจากอคติทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิง เครือข่ายชุมชน กลไกรัฐ และเอกชน เพื่อบูรณการการทำงานนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืน และจากปัญหาดังกล่าว ทางมูลนิธิฯเตรียมที่จะเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกระทวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขในเร็วๆนี้ และจะสนับสนุนให้มีการรณรงค์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ”นางสาวอังคณา กล่าว
นางสาวจีน (นามสมมติ) อายุ24ปี เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตที่เคยถูกกระทำด้วยความรุนแรงว่า ตนเป็นเด็กต่างจังหวัด ย้ายเข้ามาศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และมีแฟนเป็นรุ่นพี่ที่เจอกันขณะไปเที่ยวสถานบันเทิง จากนั้นได้ย้ายมาอาศัยอยู่บ้านแฟนได้ เพียงไม่กี่เดือนแฟนเริ่มเปลี่ยนไปชอบทำร้ายร่างกาย โมโหร้าย และเป็นคนชอบดื่ม มักจะอ้างว่าทำไปเพราะรักและหึงหวง หลายครั้งที่ต้องหยุดเรียนเพราะมีรอยช้ำตามร่างกาย อีกทั้งกลัวถูกกระทำซ้ำโดยไม่กล้าบอกพ่อแม่ของตัวเองเพราะอาย ส่วนพ่อแม่แฟนก็ไม่เคยห้ามปราม
นางสาวจีน กล่าวว่า ครอบครัวของแฟนเป็นคนฐานะดี แต่ก็ไม่พอใจที่ตนย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านตั้งแต่แรก ตนถูกกดดันสารพัด และยังถูกแฟนบังคับให้ไปทำงานหลังเลิกเรียนที่ร้านเหล้าแห่งหนึ่ง แต่ด้วยความหึงหวงของแฟนจึงต้องออกจากงาน จากนั้นด้วยความคิดว่าเขาจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้จึงทนอยู่กับแฟนกระทั่งตั้งครรภ์ ต้องหยุดเรียน ระหว่างนั้นมาทราบภายหลังว่าแฟนนอกใจไปมีผู้หญิงอื่น จึงเกิดมีปากเสียง ตนถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง เมื่อทนอยู่ไม่ได้จึงกลับมาหาพ่อแม่ที่ต่างจังหวัด เมื่อคลอดลูกแฟนก็มาตามง้อ เพราะเห็นว่าเขาเป็นพ่อของลูกจึงยอมกลับไปคืนดี แต่ได้ไม่นานก็ถูกทำร้ายร่างกายอีกซ้ำอีกจนกระดูกหัก และต้องหนีออกมาอาศัยอยู่กับเพื่อน
“สภาพร่างกายตอนนั้นทั้งบอบช้ำตามใบหน้า เนื้อตัวเขียวช้ำทั้งตัว เพื่อนพามาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ให้คำแนะนำและส่งตรวจร่างกาย แจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายชาย และได้ให้มูลนิธิฯช่วยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอบุตรชายคืน โดยไม่ขอรับค่าเลี้ยงดูบุตร ซึ่งศาลได้พิจารณาให้คืนบุตรชาย เนื่องจากเราทั้งคู่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรเป็นสิทธิของแม่เท่านั้นและตอนนี้ก็ทำงานเลี้ยงลูก และนำบทเรียนที่เคยก้าวพลาดมาเตือนสติตัวเองจนปัจจุบัน และตั้งใจเรียนให้จบ ตอนนี้เหมือนได้ชีวิตใหม่กลับมาอีกครั้ง อยากฝากกับเพื่อนวัยรุ่นทุกคนว่ารักต้องมีสติ มีเหตุผลและต้องไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาเด็ดขาด” นางสาวจีน กล่าว
ขณะที่ นายเอ (นามสมมุติ) อายุ 22 ปี เยาวชนจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ประสบการณ์ความรักในวัยรุ่นที่ผ่านมาตนและแฟนเกือบไปด้วยกันไม่รอดเราทั้งคู่ทะเลาะมีปากเสียงกันบ่อย ส่วนเหตุการณ์ที่ทำร้ายร่างกายแฟนรุนแรงที่สุดคือ ใช้ร่มตีไปที่ใบหน้าแฟนเพราะความโมโห ส่วนใหญ่เป็นเรื่องหึงหวงใจร้อน เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีอิสระหรือเป็นส่วนตัว แต่พอโตขึ้นจนตอนนี้แต่งงานกันแล้ว เราทั้งคู่ก็ได้เรียนรู้มุมมองต่างๆ ปรับพฤติกรรมเข้าหากัน ระยะเวลาที่คบกันมา8ปีทำให้ตนมีสติคิดได้หลายเรื่อง เราเป็นผู้ชายต้องไม่ทำร้ายผู้หญิง ต้องให้เกียรติเขา และเอาใจใส่เห็นอกเห็นใจ หันหน้ามาพูดคุยกันดีกว่า เพราะสิ่งที่เขาทำคือเขารักและเป็นห่วงเรา ชีวิตคู่ทำให้ผมเรียนรู้อะไรหลายอย่าง สิ่งสำคัญคือ ความรุนแรงไม่ช่วยแก้ปัญหา ทั้งนี้อีก20วัน ตนจะพ้นโทษและกลับไปเริ่มชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ และนำประสบการณ์คำสอนดีๆจากบ้านกาญฯไปใช้ประคับประคองชีวิตคู่ต่อไป