วานนี้ (26ก.พ.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านเด็ก 43 องค์กร ได้จัดอภิปราย และอ่านแถลงการณ์ เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อเด็กทุกรูปแบบ ในพื้นที่การชุมนุม
น.ส.ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่แหลมคม เราจะต้องช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไรให้ชีวิตของเด็กปลอดภัย ได้รับความคุ้มครอง มากที่สุด รวมทั้งเป็นไปได้หรือไม่ ที่เด็กๆ จะไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ชุมนุม เนื่องจากเด็กยังไม่มีภาวะความเข้าใจ หรือการตัดสินใจที่ดีพอหากเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายเกิดขึ้น นอกจากนี้ในฐานะที่ทำงานด้านเด็ก จึงขอเป็นตัวแทนของเด็กอยากวิงวอนให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางให้เด็กผู้บริสุทธิ์ ได้รับการปกป้องคุ้มครอง รวมทั้งสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ ใครที่กระทำต่อเด็ก จะต้องได้รับผิดทางกฎหมาย
"รัฐไม่ควรใช้ความรุนแรงต่อพลเมืองที่เห็นต่างๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อม และจะต้องคุ้มครองให้ความปลอดภัยกับพลเมืองที่คิดต่าง ซึ่งหากรัฐสามารถทำได้ ก็จะถือว่าเป็นชัยชนะอันถาวรของรัฐ แต่ในวินาทีที่ยังหาทางออกไม่ได้ รัฐควรพิจารณาว่า คนกลุ่มแรกที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง คือเด็ก ซึ่งแม้สถานการณ์ขณะนี้ รัฐบาลจะเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่ภายใต้กลไกดังกล่าว รัฐก็ต้องทำหน้าที่ และหาทางออกตามที่มีพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ที่มีรมว.พัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการ และเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กระดับชาติ โดยต้องแก้ปัญหา และมีมาตรการที่ชัดเจนโดยเอาประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง ซึ่งจากนี้เราหวังว่าจะไม่มีเด็กที่จะต้องสูญเสียในเหตุการณ์ทางการเมืองเช่นนี้" น.ส.ทิชา กล่าว
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในแง่มุมของ สุขภาพจิต เรื่องที่น่าสนใจคือ เด็กมีความแตกต่างกับผู้ใหญ่ เวลาเข้าไปมีส่วนร่วมรับรู้ข่าวสารด้านการชุมนุม โดยผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมชุมนุม หรือติดตามข่าวสาร ถือว่าเป็นการแสดงถึงความเป็นพลเมือง แต่ในส่วนของเด็กคง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การรับรู้เรื่องนี้ ย่อมมีความรุนแรงเกิดขึ้น ทั้งในเรื่องธรรมชาติของความขัดแย้ง และคำพูดที่ใช้ในการอภิปรายโจมตีกันของแต่ละฝ่าย เด็กส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรับรู้เนื้อหา แต่จะรับรู้และซึมซับมากเรื่องความรุนแรง ทั้งจากคำพูด และกิริยาท่าทาง
ดังนั้นหากปล่อยให้มีการใช้ความรุนแรง และสร้างความเกลียดชังเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เด็กก็ยิ่งรับไปเต็มๆ ในแง่ของจิตวิทยา คือ เมื่อเห็นต้นแบบ ก็จะเกิดความชินชา และลดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบมากต่อเด็กที่มีภาวะอารมณ์เปราะบาง และไม่มั่นคง ดังนั้นโดยหลักการแล้วควรหลีกเลี่ยงในการพาเด็กไปในพื้นที่ความขัดแย้ง เพราะเด็กจะได้รับความรุนแรง และซึมซับนำมาเป็นต้นแบบ และเด็กจะได้รับความรุนแรงมากกว่าเรียนรู้และเข้าใจบทบาทการมีส่วน ร่วมทางการเมือง หากพ่อแม่คิดว่าต้องการพาเด็กไปเรียนรู้บทบาทการเป็นพลเมือง ควรพาเด็กไปทำกิจกรรมสาธารณะ งานอาสาสมัคร หรือทำกิจกรรมทางสังคมอื่นๆมากกว่า
แต่ทั้งนี้เราคงเลือกไม่ได้ว่า จะต้องอยู่ในสภาวะสังคมอย่างไร แต่เราสามารถเลือกได้และทำให้สังคมนั้นๆ มีความก้าวร้าวรุนแรงต่ำ และร่วมกันส่งเสริมให้เกิดความสูญเสียน้อยสุด ดังนั้นผู้นำแต่ละฝ่ายก็ควรรับฟังประชาชน ถ้าทุกฝ่ายไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผู้บงการ รัฐ ผู้จัดการชุมนุม ก็จะต้องสำเหนียก และพิจารณาในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มแรกสิ่งที่จะทำได้คือ ต้องหยุดความรุนแรง ลดความหวาดระแวง
นางสุธาทิพย์ ธัชยพงษ์ ประธานคณะทำงานด้านเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นคนที่ทำงานด้านเด็ก ภารกิจของเราคือ ต้องดูแลปกป้องเยียวยาเด็ก และในฐานะของแม่ที่มีลูก รู้สึกเสียใจมาก ที่มีผู้ใหญ่ใช้อาวุธสงครามทำร้ายเด็กจนเสียชีวิต ทั้งที่ความเป็นจริงผู้ใหญ่ต้องมีหน้าที่ปกป้องเด็ก ดังนั้นในเรื่องนี้อยากเรียกร้องไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เร่งติดตามผู้กระทำความผิด ผู้บงการ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะเราไม่ต้องการเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำอีก
ทั้งนี้ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านเด็ก 43 องค์กร ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อเด็กทุกรูปแบบในพื้นที่การชุมนุม ในท้ายที่สุด
น.ส.ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่แหลมคม เราจะต้องช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไรให้ชีวิตของเด็กปลอดภัย ได้รับความคุ้มครอง มากที่สุด รวมทั้งเป็นไปได้หรือไม่ ที่เด็กๆ จะไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ชุมนุม เนื่องจากเด็กยังไม่มีภาวะความเข้าใจ หรือการตัดสินใจที่ดีพอหากเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายเกิดขึ้น นอกจากนี้ในฐานะที่ทำงานด้านเด็ก จึงขอเป็นตัวแทนของเด็กอยากวิงวอนให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางให้เด็กผู้บริสุทธิ์ ได้รับการปกป้องคุ้มครอง รวมทั้งสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ ใครที่กระทำต่อเด็ก จะต้องได้รับผิดทางกฎหมาย
"รัฐไม่ควรใช้ความรุนแรงต่อพลเมืองที่เห็นต่างๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อม และจะต้องคุ้มครองให้ความปลอดภัยกับพลเมืองที่คิดต่าง ซึ่งหากรัฐสามารถทำได้ ก็จะถือว่าเป็นชัยชนะอันถาวรของรัฐ แต่ในวินาทีที่ยังหาทางออกไม่ได้ รัฐควรพิจารณาว่า คนกลุ่มแรกที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง คือเด็ก ซึ่งแม้สถานการณ์ขณะนี้ รัฐบาลจะเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่ภายใต้กลไกดังกล่าว รัฐก็ต้องทำหน้าที่ และหาทางออกตามที่มีพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ที่มีรมว.พัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการ และเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กระดับชาติ โดยต้องแก้ปัญหา และมีมาตรการที่ชัดเจนโดยเอาประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง ซึ่งจากนี้เราหวังว่าจะไม่มีเด็กที่จะต้องสูญเสียในเหตุการณ์ทางการเมืองเช่นนี้" น.ส.ทิชา กล่าว
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในแง่มุมของ สุขภาพจิต เรื่องที่น่าสนใจคือ เด็กมีความแตกต่างกับผู้ใหญ่ เวลาเข้าไปมีส่วนร่วมรับรู้ข่าวสารด้านการชุมนุม โดยผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมชุมนุม หรือติดตามข่าวสาร ถือว่าเป็นการแสดงถึงความเป็นพลเมือง แต่ในส่วนของเด็กคง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การรับรู้เรื่องนี้ ย่อมมีความรุนแรงเกิดขึ้น ทั้งในเรื่องธรรมชาติของความขัดแย้ง และคำพูดที่ใช้ในการอภิปรายโจมตีกันของแต่ละฝ่าย เด็กส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรับรู้เนื้อหา แต่จะรับรู้และซึมซับมากเรื่องความรุนแรง ทั้งจากคำพูด และกิริยาท่าทาง
ดังนั้นหากปล่อยให้มีการใช้ความรุนแรง และสร้างความเกลียดชังเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เด็กก็ยิ่งรับไปเต็มๆ ในแง่ของจิตวิทยา คือ เมื่อเห็นต้นแบบ ก็จะเกิดความชินชา และลดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบมากต่อเด็กที่มีภาวะอารมณ์เปราะบาง และไม่มั่นคง ดังนั้นโดยหลักการแล้วควรหลีกเลี่ยงในการพาเด็กไปในพื้นที่ความขัดแย้ง เพราะเด็กจะได้รับความรุนแรง และซึมซับนำมาเป็นต้นแบบ และเด็กจะได้รับความรุนแรงมากกว่าเรียนรู้และเข้าใจบทบาทการมีส่วน ร่วมทางการเมือง หากพ่อแม่คิดว่าต้องการพาเด็กไปเรียนรู้บทบาทการเป็นพลเมือง ควรพาเด็กไปทำกิจกรรมสาธารณะ งานอาสาสมัคร หรือทำกิจกรรมทางสังคมอื่นๆมากกว่า
แต่ทั้งนี้เราคงเลือกไม่ได้ว่า จะต้องอยู่ในสภาวะสังคมอย่างไร แต่เราสามารถเลือกได้และทำให้สังคมนั้นๆ มีความก้าวร้าวรุนแรงต่ำ และร่วมกันส่งเสริมให้เกิดความสูญเสียน้อยสุด ดังนั้นผู้นำแต่ละฝ่ายก็ควรรับฟังประชาชน ถ้าทุกฝ่ายไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผู้บงการ รัฐ ผู้จัดการชุมนุม ก็จะต้องสำเหนียก และพิจารณาในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มแรกสิ่งที่จะทำได้คือ ต้องหยุดความรุนแรง ลดความหวาดระแวง
นางสุธาทิพย์ ธัชยพงษ์ ประธานคณะทำงานด้านเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นคนที่ทำงานด้านเด็ก ภารกิจของเราคือ ต้องดูแลปกป้องเยียวยาเด็ก และในฐานะของแม่ที่มีลูก รู้สึกเสียใจมาก ที่มีผู้ใหญ่ใช้อาวุธสงครามทำร้ายเด็กจนเสียชีวิต ทั้งที่ความเป็นจริงผู้ใหญ่ต้องมีหน้าที่ปกป้องเด็ก ดังนั้นในเรื่องนี้อยากเรียกร้องไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เร่งติดตามผู้กระทำความผิด ผู้บงการ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะเราไม่ต้องการเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำอีก
ทั้งนี้ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านเด็ก 43 องค์กร ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อเด็กทุกรูปแบบในพื้นที่การชุมนุม ในท้ายที่สุด