กสร.ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบหลังมีกระแสข่าว รพ.ย่านอนุสาวรีย์ฯ ติดประกาศห้ามพนักงานท้อง ชี้นายจ้างเลิกจ้างหญิงตั้งครรภ์ผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โทษจำคุก 6 เดือนปรับ 1 แสน แนะร้องเรียนต่อ กสร.
วันนี้ (10 พ.ย.) นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวโรงพยาบาลในย่านอนุสาวรีชัยสมรภูมิ ประกาศให้พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ต้องลาออกจากงานว่า จะส่งเจ้าหน้าที่ กสร.ลงพื้นที่ตรวจสอบในเรื่องนี้โดยคาดว่าแรงงานกลุ่มที่มีปัญหาน่าจะเป็นกลุ่มแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรกต์) อย่างไรก็ตาม หากโรงพยาบาลดังกล่าวเป็นโรงพยาบาลเอกชนเลิกจ้างบุคลากรที่ตั้งครรภ์จริง ก็เป็นกระทำผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงขอให้ลูกจ้างหญิงมาร้องเรียนต่อ กสร. ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องรับลูกจ้างหญิงดังกล่าวกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างด้วย ส่วนกรณีลูกจ้างหญิงหมดสัญญาแล้วไม่ต่อสัญญาจ้าง หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นเพราะเหตุตั้งครรภ์ ทางนายจ้างก็กระทำผิดกฎหมาย จะต้องรับกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างเช่นกัน ส่วนถ้าเป็นลูกจ้างโรงพยาบาลรัฐมีระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้
รองอธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ปัจจุบันอนุสัญญาองค์การแรงงานประเทศและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานได้ให้ความคุ้มครองลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ไว้โดยในหลายมาตราของกฎหมายคุ้มครองแรงงานคือ มาตรา 39 ห้ามมิให้นายให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงาน เช่น งานเกี่ยวกับเครื่องจักร งานยก แบกหาม งานที่ทำในเรือ งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับพาหนะ มาตรา 41 ให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน มาตรา 42 กรณีลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดก็ได้และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้าง มาตรา 43 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งให้สิทธิลูกจ้างหญิงที่ลาคลอด 90 วันได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และได้รับเงินจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) 45 วัน
ทั้งนี้ หากลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ถูกบีบบังคับให้ลาออก การกระทำของนายจ้างดังกล่าวนี้ผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 พ.ย.) นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวโรงพยาบาลในย่านอนุสาวรีชัยสมรภูมิ ประกาศให้พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ต้องลาออกจากงานว่า จะส่งเจ้าหน้าที่ กสร.ลงพื้นที่ตรวจสอบในเรื่องนี้โดยคาดว่าแรงงานกลุ่มที่มีปัญหาน่าจะเป็นกลุ่มแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรกต์) อย่างไรก็ตาม หากโรงพยาบาลดังกล่าวเป็นโรงพยาบาลเอกชนเลิกจ้างบุคลากรที่ตั้งครรภ์จริง ก็เป็นกระทำผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงขอให้ลูกจ้างหญิงมาร้องเรียนต่อ กสร. ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องรับลูกจ้างหญิงดังกล่าวกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างด้วย ส่วนกรณีลูกจ้างหญิงหมดสัญญาแล้วไม่ต่อสัญญาจ้าง หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นเพราะเหตุตั้งครรภ์ ทางนายจ้างก็กระทำผิดกฎหมาย จะต้องรับกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างเช่นกัน ส่วนถ้าเป็นลูกจ้างโรงพยาบาลรัฐมีระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้
รองอธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ปัจจุบันอนุสัญญาองค์การแรงงานประเทศและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานได้ให้ความคุ้มครองลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ไว้โดยในหลายมาตราของกฎหมายคุ้มครองแรงงานคือ มาตรา 39 ห้ามมิให้นายให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงาน เช่น งานเกี่ยวกับเครื่องจักร งานยก แบกหาม งานที่ทำในเรือ งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับพาหนะ มาตรา 41 ให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน มาตรา 42 กรณีลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดก็ได้และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้าง มาตรา 43 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งให้สิทธิลูกจ้างหญิงที่ลาคลอด 90 วันได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และได้รับเงินจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) 45 วัน
ทั้งนี้ หากลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ถูกบีบบังคับให้ลาออก การกระทำของนายจ้างดังกล่าวนี้ผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่