ผู้อำนวยการสภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ชมประเทศไทยแก้ไขโรคขาดสารไอโอดีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ระบุให้ผลตรงเป้า เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความสำคัญทั้งใช้กฎหมายควบคุมมาตรฐานเกลือถึงชุมชน
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) กล่าวภายหลังให้การต้อนรับ ศ.นพ.ไมเคิล บรูซ ซิมเมอร์แมนน์ (Prof Dr. Michael Bruce Zimmermann) ผู้อำนวยการสภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน (International Council for the Control of Iodine Deficiency Disorders-ICCIDD) จากสมาพันธรัฐสวิส และหารือแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศ ว่า ผู้อำนวยการนานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนได้ชื่นชมนโยบายโครงการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนของประเทศไทยว่า มีความก้าวหน้าไปมาก และดำเนินการได้ดีในระดับชุมชนหมู่บ้านหลังจากที่ได้ลงไปเยี่ยมชมการดำเนินงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดมหาสารคาม และร้อยเอ็ด ในช่วงวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยได้เสนอให้ไทยประชุมประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
รมว.สธ. กล่าวอีกว่า ภาวะขาดไอโอดีน เป็นปัญหาทั่วโลก ผลงานที่ประเทศไทยดำเนินการได้ดี และได้รับการยอมรับจากนานาชาติ คือ การป้องกันที่กลุ่มเสี่ยงขาดสารไอโอดีน ที่สำคัญคือหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของชีวิตในครรภ์ โดยมีการตรวจหาไอโอดีนในปัสสาวะ และให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ขณะที่ประเทศอื่นๆดำเนินการในเด็กวัยเรียน นอกจากนี้ยังได้ควบคุมมาตรฐานการผลิตเกลือเสริมไอโอดีน โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้เกลือบริโภค ต้องมีปริมาณไอโอดีน 20-40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักเกลือ 1 กิโลกรัม ตั้งแต่พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้สนับสนุนเครื่องผสมเกลือเสริมไอโอดีนจำนวน 100 เครื่อง ให้แก่โรงงานผลิตเกลือไอโอดีนขนาดกลาง และขนาดเล็ก และมีเครื่องตรวจคุณภาพเกลือที่ทันสมัย เครื่องมือนี้สามารถ บอกปริมาณของไอโอดีนที่ผสมอยู่ในเกลือออกมาเป็นตัวเลขได้ทันที ทำให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมการผลิตเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้เร่งควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เน้นหนัก 5 มาตรการ คือ 1. การเฝ้าระวังภาวะขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ โดยให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนแก่หญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดคือช่วงให้นมบุตร 6 เดือน และติดตามการกินยาของหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง 2. กลุ่มเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 5 ปีที่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศกว่า 20,000 แห่ง ให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวัน 3. การเฝ้าระวังการใช้เกลือไอโอดีนระดับครัวเรือน 4. การรณรงค์หมู่บ้านไอโอดีน เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนใช้เกลือที่มีไอโอดีนปรุงอาหาร และ 5. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีนอย่างสม่ำเสมอ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) กล่าวภายหลังให้การต้อนรับ ศ.นพ.ไมเคิล บรูซ ซิมเมอร์แมนน์ (Prof Dr. Michael Bruce Zimmermann) ผู้อำนวยการสภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน (International Council for the Control of Iodine Deficiency Disorders-ICCIDD) จากสมาพันธรัฐสวิส และหารือแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศ ว่า ผู้อำนวยการนานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนได้ชื่นชมนโยบายโครงการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนของประเทศไทยว่า มีความก้าวหน้าไปมาก และดำเนินการได้ดีในระดับชุมชนหมู่บ้านหลังจากที่ได้ลงไปเยี่ยมชมการดำเนินงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดมหาสารคาม และร้อยเอ็ด ในช่วงวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยได้เสนอให้ไทยประชุมประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
รมว.สธ. กล่าวอีกว่า ภาวะขาดไอโอดีน เป็นปัญหาทั่วโลก ผลงานที่ประเทศไทยดำเนินการได้ดี และได้รับการยอมรับจากนานาชาติ คือ การป้องกันที่กลุ่มเสี่ยงขาดสารไอโอดีน ที่สำคัญคือหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของชีวิตในครรภ์ โดยมีการตรวจหาไอโอดีนในปัสสาวะ และให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ขณะที่ประเทศอื่นๆดำเนินการในเด็กวัยเรียน นอกจากนี้ยังได้ควบคุมมาตรฐานการผลิตเกลือเสริมไอโอดีน โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้เกลือบริโภค ต้องมีปริมาณไอโอดีน 20-40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักเกลือ 1 กิโลกรัม ตั้งแต่พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้สนับสนุนเครื่องผสมเกลือเสริมไอโอดีนจำนวน 100 เครื่อง ให้แก่โรงงานผลิตเกลือไอโอดีนขนาดกลาง และขนาดเล็ก และมีเครื่องตรวจคุณภาพเกลือที่ทันสมัย เครื่องมือนี้สามารถ บอกปริมาณของไอโอดีนที่ผสมอยู่ในเกลือออกมาเป็นตัวเลขได้ทันที ทำให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมการผลิตเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้เร่งควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เน้นหนัก 5 มาตรการ คือ 1. การเฝ้าระวังภาวะขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ โดยให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนแก่หญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดคือช่วงให้นมบุตร 6 เดือน และติดตามการกินยาของหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง 2. กลุ่มเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 5 ปีที่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศกว่า 20,000 แห่ง ให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวัน 3. การเฝ้าระวังการใช้เกลือไอโอดีนระดับครัวเรือน 4. การรณรงค์หมู่บ้านไอโอดีน เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนใช้เกลือที่มีไอโอดีนปรุงอาหาร และ 5. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีนอย่างสม่ำเสมอ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่