เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ยังเผชิญปัญหาฟันผุ โรคปริทันต์ ห่วงคนแก่สูญเสียฟันหมดปาก เตรียมจัดกิจกรรมและบริการวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ 21 ต.ค. นี้
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่ ร.ร.สายปัญญารังสิต จ.ปทุมธานี นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์ “คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า” ว่า วันที่ 21 ต.ค. ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมา สธ. ได้จัดบริการทันตกรรมที่หน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาโดยไม่คิดมูลค่า ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย เพื่อให้ประชาชนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี เนื่องจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพช่องปากและฟันของคนไทย พบว่า กลุ่มเด็กปฐมวัยเริ่มมีฟันน้ำนมผุร้อยละ 3 ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และเพิ่มเป็นร้อยละ 51.7 เมื่ออายุ 3 ปี และจะเพิ่มสูงมากถึง ร้อยละ 97.5 เมื่ออายุ 5 ปี เด็กวัยเรียนที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นในปาก ช่วงอายุ 12 ปี ร้อยละ 52.2 เป็นโรคฟันผุ และร้อยละ 50 พบเหงือกอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคอาหาร เช่น เบเกอรี่ ขนม ลูกอม และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง และเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดเพียงพอ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน พบปัญหาฟันผุบริเวณซอกฟัน และเริ่มเป็นโรคปริทันต์ โดยผู้ที่ฟันผุยังไม่ไปรับการรักษา ร้อยละ 35.2 และพบโรคปริทันต์รุนแรงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน ร้อยละ 15.6 ซึ่งส่วนหนึ่งจะพบภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นพ.อำนวย กล่าวว่า สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาหลักคือไม่มีฟันธรรมชาติเหลือพอในการบดเคี้ยวอาหาร มีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ร้อยละ 83 สูญเสียฟัน ทั้งปาก ร้อยละ 7.2 แต่ด้วยการดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทาน จึงทำให้ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใส่ฟันทั้งปากลดลงเหลือร้อยละ 2.5 แต่หากคิดเป็นจำนวนยังคงสูงถึง 250,000 คน และยังพบปัญหา ฟันผุ รากฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปาก ภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และสภาวะในช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน ทุกกลุ่มวัยอย่างต่อเนื่อง
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมฯได้กำหนดมาตรการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากร่วมกับหน่วยบริการของ สธ. แม้สถานการณ์จะดีขึ้นตามลำดับ แต่โรคที่พบบ่อยในช่องปาก ที่นำมาสู่การสูญเสียฟันที่สำคัญ ได้แก่ โรคฟันผุ และโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ก็ยังมีความชุกสูงอยู่ โดยปัจจัยเสี่ยงโรคฟันผุเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ คราบจุลินทรีย์ และอาหารหวาน ส่วนโรคปริทันต์ มีสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ และ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ยังมีโรคที่พบในผู้สูงอายุ เช่น รากฟันผุ มะเร็งช่องปาก ฟันสึก เป็นต้น ดังนั้น ประชาชนทุกกลุ่มวัยควรดูแลอนามัยช่องปากเพื่อกำจัดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ คราบจุลินทรีย์ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และบุหรี่ ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อรับบริการส่งเสริมป้องกัน เช่น รับคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อดูแลอนามัยช่องปากตามจำเป็น เช่น ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน การทาฟลูออไรด์กรณี ที่เสี่ยงฟันผุ รากฟันผุ การขูดหินปูนทำความสะอาดฟันป้องกันโรคปริทันต์ และรับบริการรักษาตามความจำเป็น เพื่อควบคุมแหล่งสะสมเชื้อโรคในช่องปาก และลดการสูญเสียฟัน
“สำหรับกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันทันตสาธารณสุข 21 ต.ค. กรมฯและภาคีเครือข่ายทุกกระทรวง ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ อาทิ การประกวด 10 ยอดฟันดี วัย 80 และ 90 ปี จัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า การให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนทุกกลุ่มวัย แปรงสีฟันเก่าแลกแปรงสีฟันใหม่ รวมทั้งประสานการจัดบริการทันตกรรมทั่วประเทศในวันที่ 21 ต.ค.ถวายเป็น พระราชกุศล เพื่อดูแลและแก้ปัญหาโรคในช่องปาก ให้คนไทยมีสุขภาพช่องปากที่ดี นอกจากนี้ ยังร่วมกับมูลนิธิทันตสาธารณสุข จัดกิจกรรม เดิน-วิ่ง ฟันดี สุขภาพดี มินิมาราธอน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 19 ต.ค. ณ กระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่ ร.ร.สายปัญญารังสิต จ.ปทุมธานี นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์ “คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า” ว่า วันที่ 21 ต.ค. ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมา สธ. ได้จัดบริการทันตกรรมที่หน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาโดยไม่คิดมูลค่า ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย เพื่อให้ประชาชนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี เนื่องจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพช่องปากและฟันของคนไทย พบว่า กลุ่มเด็กปฐมวัยเริ่มมีฟันน้ำนมผุร้อยละ 3 ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และเพิ่มเป็นร้อยละ 51.7 เมื่ออายุ 3 ปี และจะเพิ่มสูงมากถึง ร้อยละ 97.5 เมื่ออายุ 5 ปี เด็กวัยเรียนที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นในปาก ช่วงอายุ 12 ปี ร้อยละ 52.2 เป็นโรคฟันผุ และร้อยละ 50 พบเหงือกอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคอาหาร เช่น เบเกอรี่ ขนม ลูกอม และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง และเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดเพียงพอ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน พบปัญหาฟันผุบริเวณซอกฟัน และเริ่มเป็นโรคปริทันต์ โดยผู้ที่ฟันผุยังไม่ไปรับการรักษา ร้อยละ 35.2 และพบโรคปริทันต์รุนแรงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน ร้อยละ 15.6 ซึ่งส่วนหนึ่งจะพบภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นพ.อำนวย กล่าวว่า สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาหลักคือไม่มีฟันธรรมชาติเหลือพอในการบดเคี้ยวอาหาร มีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ร้อยละ 83 สูญเสียฟัน ทั้งปาก ร้อยละ 7.2 แต่ด้วยการดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทาน จึงทำให้ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใส่ฟันทั้งปากลดลงเหลือร้อยละ 2.5 แต่หากคิดเป็นจำนวนยังคงสูงถึง 250,000 คน และยังพบปัญหา ฟันผุ รากฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปาก ภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และสภาวะในช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน ทุกกลุ่มวัยอย่างต่อเนื่อง
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมฯได้กำหนดมาตรการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากร่วมกับหน่วยบริการของ สธ. แม้สถานการณ์จะดีขึ้นตามลำดับ แต่โรคที่พบบ่อยในช่องปาก ที่นำมาสู่การสูญเสียฟันที่สำคัญ ได้แก่ โรคฟันผุ และโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ก็ยังมีความชุกสูงอยู่ โดยปัจจัยเสี่ยงโรคฟันผุเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ คราบจุลินทรีย์ และอาหารหวาน ส่วนโรคปริทันต์ มีสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ และ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ยังมีโรคที่พบในผู้สูงอายุ เช่น รากฟันผุ มะเร็งช่องปาก ฟันสึก เป็นต้น ดังนั้น ประชาชนทุกกลุ่มวัยควรดูแลอนามัยช่องปากเพื่อกำจัดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ คราบจุลินทรีย์ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และบุหรี่ ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อรับบริการส่งเสริมป้องกัน เช่น รับคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อดูแลอนามัยช่องปากตามจำเป็น เช่น ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน การทาฟลูออไรด์กรณี ที่เสี่ยงฟันผุ รากฟันผุ การขูดหินปูนทำความสะอาดฟันป้องกันโรคปริทันต์ และรับบริการรักษาตามความจำเป็น เพื่อควบคุมแหล่งสะสมเชื้อโรคในช่องปาก และลดการสูญเสียฟัน
“สำหรับกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันทันตสาธารณสุข 21 ต.ค. กรมฯและภาคีเครือข่ายทุกกระทรวง ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ อาทิ การประกวด 10 ยอดฟันดี วัย 80 และ 90 ปี จัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า การให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนทุกกลุ่มวัย แปรงสีฟันเก่าแลกแปรงสีฟันใหม่ รวมทั้งประสานการจัดบริการทันตกรรมทั่วประเทศในวันที่ 21 ต.ค.ถวายเป็น พระราชกุศล เพื่อดูแลและแก้ปัญหาโรคในช่องปาก ให้คนไทยมีสุขภาพช่องปากที่ดี นอกจากนี้ ยังร่วมกับมูลนิธิทันตสาธารณสุข จัดกิจกรรม เดิน-วิ่ง ฟันดี สุขภาพดี มินิมาราธอน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 19 ต.ค. ณ กระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น