รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
ไม่ว่าจะเข้าฤดูไหน อาการหนึ่งที่เรามักเจอกับตัวเองและคนรอบข้าง คือ ไอ จะทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการ
อาการไอ เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติบริเวณทางเดินหายใจและยังเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไอเฉียบพลัน จะมีระยะเวลาการไอน้อยกว่า 8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฯลฯ
อีกชนิดคือ ไอเรื้อรัง จะมีระยะเวลาการไอมากกว่า หรือเท่ากับ 8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงชนิดหนึ่งเป็นเวลานาน โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น บางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม
ซึ่งแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง และอาจส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ถ่ายภาพรังสีของโพรงไซนัสและปอด ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจ ตรวจเสมหะ และตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด
การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ หาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ ถ้าผู้ป่วยไอจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือล่าง เช่น หวัด หรือหลอดลมอักเสบ และมีอาการไอไม่มากนัก อาจให้การรักษาเบื้องต้น เช่น ยาบรรเทาอาการไอ ถ้าไอและมีเสมหะเหนียวข้นมาก ขับออกจากหลอดลมได้ยาก ก็อาจให้ยาละลายเสมหะช่วย แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว แพทย์อาจให้ยาต้านจุลชีพร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
เพื่อหลีกเลี่ยงอาการไอ ควรถอยห่างจากสารเคมี ควันบุหรี่ ฝุ่น มลพิษทางอากาศ สารก่ออาการระคายเคือง หลีกเลี่ยงอากาศเย็นๆ โดยเฉพาะแอร์ ถ้าต้องการเปิด ให้ตั้งอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส พัดลมไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด ให้ส่ายไปมาและไม่ควรจ่อเข้ากับตัวโดยตรง เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้หดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้น และไม่ควรดื่มหรืออาบน้ำเย็น กินไอศกรีม หรืออาหารที่ระคายคอ เช่น ทอดด้วยน้ำมัน นอกจากนี้ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายขณะหลับ และปิดปากจมูกเวลาไอด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชู เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ยิ่งถ้าใช้มือป้องปากเวลาไอ ควรล้างมือทุกครั้ง ดื่มน้ำอุ่นมากๆ งดการสูบบุหรี่ กินอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งผักและผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน หรือเล่นกีฬาเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามอยู่ห่างจากผู้ป่วย เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้
ถ้ารักสุขภาพต้องดูแลแต่เนิ่นๆ ครับ
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
17 - 21 พ.ย. ชวนร่วมสัปดาห์เภสัชกรรมศิริราช ฝ่ายเภสัชกรรม รพ.ศิริราช ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์เภสัชกรรม แบ่งเป็น 1. การประชุมวิชาการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ วันที่ 17 พ.ย. 57 เวลา 08.30 - 16.30 น.ที่ห้องตรีเพ็ชร อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 2. กิจกรรมภาคประชาชน วันที่ 18 - 21 พ.ย. 57 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถาม โทร. 0 2419 8345
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
ไม่ว่าจะเข้าฤดูไหน อาการหนึ่งที่เรามักเจอกับตัวเองและคนรอบข้าง คือ ไอ จะทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการ
อาการไอ เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติบริเวณทางเดินหายใจและยังเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไอเฉียบพลัน จะมีระยะเวลาการไอน้อยกว่า 8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฯลฯ
อีกชนิดคือ ไอเรื้อรัง จะมีระยะเวลาการไอมากกว่า หรือเท่ากับ 8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงชนิดหนึ่งเป็นเวลานาน โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น บางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม
ซึ่งแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง และอาจส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ถ่ายภาพรังสีของโพรงไซนัสและปอด ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจ ตรวจเสมหะ และตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด
การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ หาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ ถ้าผู้ป่วยไอจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือล่าง เช่น หวัด หรือหลอดลมอักเสบ และมีอาการไอไม่มากนัก อาจให้การรักษาเบื้องต้น เช่น ยาบรรเทาอาการไอ ถ้าไอและมีเสมหะเหนียวข้นมาก ขับออกจากหลอดลมได้ยาก ก็อาจให้ยาละลายเสมหะช่วย แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว แพทย์อาจให้ยาต้านจุลชีพร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
เพื่อหลีกเลี่ยงอาการไอ ควรถอยห่างจากสารเคมี ควันบุหรี่ ฝุ่น มลพิษทางอากาศ สารก่ออาการระคายเคือง หลีกเลี่ยงอากาศเย็นๆ โดยเฉพาะแอร์ ถ้าต้องการเปิด ให้ตั้งอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส พัดลมไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด ให้ส่ายไปมาและไม่ควรจ่อเข้ากับตัวโดยตรง เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้หดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้น และไม่ควรดื่มหรืออาบน้ำเย็น กินไอศกรีม หรืออาหารที่ระคายคอ เช่น ทอดด้วยน้ำมัน นอกจากนี้ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายขณะหลับ และปิดปากจมูกเวลาไอด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชู เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ยิ่งถ้าใช้มือป้องปากเวลาไอ ควรล้างมือทุกครั้ง ดื่มน้ำอุ่นมากๆ งดการสูบบุหรี่ กินอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งผักและผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน หรือเล่นกีฬาเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามอยู่ห่างจากผู้ป่วย เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้
ถ้ารักสุขภาพต้องดูแลแต่เนิ่นๆ ครับ
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
17 - 21 พ.ย. ชวนร่วมสัปดาห์เภสัชกรรมศิริราช ฝ่ายเภสัชกรรม รพ.ศิริราช ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์เภสัชกรรม แบ่งเป็น 1. การประชุมวิชาการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ วันที่ 17 พ.ย. 57 เวลา 08.30 - 16.30 น.ที่ห้องตรีเพ็ชร อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 2. กิจกรรมภาคประชาชน วันที่ 18 - 21 พ.ย. 57 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถาม โทร. 0 2419 8345
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น