ผอ.รพ.ราชวิถียอมรับแผนกยาสั่งเจ้าหน้าที่ห้ามท้องจริง ตามข่าวในโลกออนไลน์ เหตุมีคนท้องเยอะ จึงออกคำสั่งกันในแผนก ยัน รพ.ไม่มีนโยบายห้ามท้อง ระบุเรียกตักเตือนพร้อมยกเลิกคำสั่งแล้ว ด้าน ก.แรงงานชี้เลิกจ้างหญิงท้องไม่ได้ ผิดกฎหมาย คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสนบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "สาว ทึนทึก" โพสต์รูปภาพกระดาษเอ 4 ระบุข้อความ "ประกาศ ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. 57 - 31 ธ.ค.58 เจ้าหน้าที่ผู้หญิงทุกท่านให้กินยาคุมกำเนิด (ห้ามท้อง) ถ้าท้องให้ลาออกไปเลย" ซึ่งภายในกระดาษมีเจ้าหน้าที่เข้ามาเซ็นชื่อรับทราบ โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าวระบุคำบรรยายภาพไว้ว่า นี่คือคำสั่งจากหน่วยงานแผนกห้องยาของ รพ.รัฐแห่งหนึ่ง แถวๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ โรงพยาบาลโดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทั้ง รพ.ราชวิถี รพ.รามาธิบดี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ต่างออกมาปฏิเสธถึงกรณีดังกล่าว โดย นพ.อุดม เชาวรินทร์ ผอ.รพ.ราชวิถี ระบุว่า จะสอบถามไปยังหัวหน้าแผนกห้องยาเพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายด้วย
ล่าสุด วานนี้ (10 พ.ย.) นพ.อุดม กล่าวถึงความคืบหน้าว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริง แต่เป็นการตกลงกันภายในแผนก ไม่ใช่คำสั่งจากโรงพยาบาล เนื่องจากแผนกดังกล่าวมีคนท้องค่อนข้างเยอะ จึงมีการขอความร่วมมือกันว่าอยากให้คุมกำเนิด ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นความหวังดี แต่วิธีการที่ทำอาจดูว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ์ และคงเกิดการสื่อสารกันไม่เข้าใจ รวมถึงภายในหน่วยยังมีเรื่องระหองระแหงกัน อย่างไรก็ตาม ตนได้ตักเตือนหัวหน้าแผนกไปแล้วว่า โรงพยาบาลไม่มีนโยบายเช่นนี้ และชี้แจงด้วยว่าการทำแบบนี้ถือว่าผิดรัฐธรรมนูญ และยืนยันชัดเจนว่ามาตรการแบบนี้ใช้ไม่ได้ อย่าไปลิดรอนสิทธิ์และให้ยกเลิกไปแล้ว
“เรื่องนี้ถือว่าที่ไม่ได้กระทบกับคนไข้ หรือบุคคลภายนอก ส่วนการที่ภาพเช่นนี้เผยแพร่ออกไป คิดว่าคงมาจากความไม่พอใจในการออกคำสั่ง ซึ่งผมได้ให้ยกเลิกไปแล้ว ใครอยากท้องก็ท้องไป เพราะไม่สามารถห้ามคนมีครอบครัวหรือสามีภรรยาได้ และในนโยบายรัฐบาลเอง ยังสนับสนุนเรื่องการมีบุตรด้วยซ้ำ โดยให้ไปหาวิธีการบริหารจัดการและนำมาบอกฝ่ายบริหาร” ผอ.รพ.ราชวิถี กล่าว
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคมจิตวิทยา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ หากถูกห้ามจริงก็สามารถฟ้องร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ ขณะที่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมา สธ.ไม่มีนโยบายห้ามบุคลากรตั้งท้องแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "สาว ทึนทึก" ได้ทำการปิดเฟซบุ๊กดังกล่าวไปแล้ว
ด้าน นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จะส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะไม่สามารถเลิกจ้างงานผู้ที่ตั้งครรภ์ได้ อย่างโรงพยาบาลรัฐก็มีระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ ส่วนโรงพยาบาลเอกชน ก็มี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ที่ระบุห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งให้สิทธิลูกจ้างหญิงที่ลาคลอด 90 วันได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วันและได้รับเงินจากสำนักงานประกันสังคม(สปส.) 45 วัน หากลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ถูกบีบบังคับให้ลาออก นายจ้างถือว่ามีความผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกให้เลิกจ้าง หรือไม่ได้รับการต่อสัญญา ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นเพราะตั้งครรภ์ ก็สามารถมาร้องเรียนต่อ กสร.ได้ โดยนายจ้างจะต้องรับลูกจ้างหญิงดังกล่าวกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างด้วย
นายสุวิทย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ใน มาตรา 39 ยังห้ามมิให้นายให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงาน เช่น งานเกี่ยวกับเครื่องจักร งานยก แบกหาม งานที่ทำในเรือ งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับพาหนะ และมาตรา 42 กรณีลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดก็ได้และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้าง
“เรื่องนี้เป็นเรื่องจรรยาบรรณทางธุรกิจ ถ้าสถานประกอบการใดปฏิบัติต่อลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์โดยเลิกจ้างจะได้รับการต่อต้านจากสังคม ที่ผ่านมากรณีเลิกจ้างลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีน้อยมาก” นายสุวิทย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "สาว ทึนทึก" โพสต์รูปภาพกระดาษเอ 4 ระบุข้อความ "ประกาศ ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. 57 - 31 ธ.ค.58 เจ้าหน้าที่ผู้หญิงทุกท่านให้กินยาคุมกำเนิด (ห้ามท้อง) ถ้าท้องให้ลาออกไปเลย" ซึ่งภายในกระดาษมีเจ้าหน้าที่เข้ามาเซ็นชื่อรับทราบ โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าวระบุคำบรรยายภาพไว้ว่า นี่คือคำสั่งจากหน่วยงานแผนกห้องยาของ รพ.รัฐแห่งหนึ่ง แถวๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ โรงพยาบาลโดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทั้ง รพ.ราชวิถี รพ.รามาธิบดี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ต่างออกมาปฏิเสธถึงกรณีดังกล่าว โดย นพ.อุดม เชาวรินทร์ ผอ.รพ.ราชวิถี ระบุว่า จะสอบถามไปยังหัวหน้าแผนกห้องยาเพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายด้วย
ล่าสุด วานนี้ (10 พ.ย.) นพ.อุดม กล่าวถึงความคืบหน้าว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริง แต่เป็นการตกลงกันภายในแผนก ไม่ใช่คำสั่งจากโรงพยาบาล เนื่องจากแผนกดังกล่าวมีคนท้องค่อนข้างเยอะ จึงมีการขอความร่วมมือกันว่าอยากให้คุมกำเนิด ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นความหวังดี แต่วิธีการที่ทำอาจดูว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ์ และคงเกิดการสื่อสารกันไม่เข้าใจ รวมถึงภายในหน่วยยังมีเรื่องระหองระแหงกัน อย่างไรก็ตาม ตนได้ตักเตือนหัวหน้าแผนกไปแล้วว่า โรงพยาบาลไม่มีนโยบายเช่นนี้ และชี้แจงด้วยว่าการทำแบบนี้ถือว่าผิดรัฐธรรมนูญ และยืนยันชัดเจนว่ามาตรการแบบนี้ใช้ไม่ได้ อย่าไปลิดรอนสิทธิ์และให้ยกเลิกไปแล้ว
“เรื่องนี้ถือว่าที่ไม่ได้กระทบกับคนไข้ หรือบุคคลภายนอก ส่วนการที่ภาพเช่นนี้เผยแพร่ออกไป คิดว่าคงมาจากความไม่พอใจในการออกคำสั่ง ซึ่งผมได้ให้ยกเลิกไปแล้ว ใครอยากท้องก็ท้องไป เพราะไม่สามารถห้ามคนมีครอบครัวหรือสามีภรรยาได้ และในนโยบายรัฐบาลเอง ยังสนับสนุนเรื่องการมีบุตรด้วยซ้ำ โดยให้ไปหาวิธีการบริหารจัดการและนำมาบอกฝ่ายบริหาร” ผอ.รพ.ราชวิถี กล่าว
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคมจิตวิทยา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ หากถูกห้ามจริงก็สามารถฟ้องร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ ขณะที่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมา สธ.ไม่มีนโยบายห้ามบุคลากรตั้งท้องแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "สาว ทึนทึก" ได้ทำการปิดเฟซบุ๊กดังกล่าวไปแล้ว
ด้าน นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จะส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะไม่สามารถเลิกจ้างงานผู้ที่ตั้งครรภ์ได้ อย่างโรงพยาบาลรัฐก็มีระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ ส่วนโรงพยาบาลเอกชน ก็มี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ที่ระบุห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งให้สิทธิลูกจ้างหญิงที่ลาคลอด 90 วันได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วันและได้รับเงินจากสำนักงานประกันสังคม(สปส.) 45 วัน หากลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ถูกบีบบังคับให้ลาออก นายจ้างถือว่ามีความผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกให้เลิกจ้าง หรือไม่ได้รับการต่อสัญญา ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นเพราะตั้งครรภ์ ก็สามารถมาร้องเรียนต่อ กสร.ได้ โดยนายจ้างจะต้องรับลูกจ้างหญิงดังกล่าวกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างด้วย
นายสุวิทย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ใน มาตรา 39 ยังห้ามมิให้นายให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงาน เช่น งานเกี่ยวกับเครื่องจักร งานยก แบกหาม งานที่ทำในเรือ งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับพาหนะ และมาตรา 42 กรณีลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดก็ได้และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้าง
“เรื่องนี้เป็นเรื่องจรรยาบรรณทางธุรกิจ ถ้าสถานประกอบการใดปฏิบัติต่อลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์โดยเลิกจ้างจะได้รับการต่อต้านจากสังคม ที่ผ่านมากรณีเลิกจ้างลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์มีน้อยมาก” นายสุวิทย์ กล่าว