สมเด็จพระเทพฯ ทรงแนะจัดการศึกษาให้คำนึงโลกาภิวัตน์ เน้นครูและนร.ต้องรู้และใช้ภาษาต่างประเทศได้ ทั้งต้องสอนให้เด็กไม่เกี่ยงงาน ฝากสอนให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใส่ใจในเศรษฐกิจพอเพียง และให้ศึกษาเรื่องประชากรศาสตร์เพื่อวางแผนจัดการศึกษาที่เหมาะสม
วันนี้ (3 พ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในงาน “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งที่ 26 และในวาระครบ 40 ปีบัณฑิตวิทยาลัย โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายเรื่อง “อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ” ใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า คนในอดีตที่จัดการศึกษาได้ดี ยกตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ที่ทรงปฏิรูปการศึกษาและการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ไม่ว่าใครจะเป็นลูกใคร หรือเป็นพระโอรสพระธิดาของพระองค์เอง หรือเป็นลูกของใครที่ไหนในประเทศไทยต้องจัดให้เขามีโอกาสทางการศึกษาได้เท่าเทียมเท่ากัน ซึ่งตามหลักการแล้วคนไทยต้องมีโอกาสทางการศึกษา ในการอ่านออกเขียนได้ เพื่อไม่ให้ถูกเขาหลอก ทำงานเพื่อประเทศชาติได้ เพื่อตัวเองได้ รู้หนังสือ รู้วิชาชีพ” ซึ่งคำพูดนี้ในอนาคตต้องขยายมากกว่านั้น ไม่ใช่เฉพาะคนไทยทุกคนแต่ต้องเป็นทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศ ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนทั้งรัฐบาลและเอกชนที่ต้องร่วมจัดการศึกษา
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีวิชาเรื่องอนาคตศึกษาซึ่งก็คือการใช้ค่าสถิตตัวเลขต่าง ๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น เพื่อดูว่าแนวโน้มหรือเทรนด์ต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไรและเรื่องที่ได้ยินมาตลอด 30 - 40 ปีของการทำงาน คือ ประชากรเด็กลดลงเพราะการคุมกำเนิดได้ผล ทำให้โรงเรียนที่เคยเปิดให้การศึกษาทุกชั้นปีกลายเป็นเปิดปีเว้นปี จนกระทั่งมีต้องปิดโรงเรียน นั่นเพราะเราเชื่อนักเศรษฐศาสตร์ว่าการมีเด็กน้อยจะไม่คุ้มกับการจัดการเรียนการสอน ผลของปรากฎการณ์นี้ทำให้เห็นได้ชัดเจน คือ เราใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าแต่สิ่งที่ตามมาคือมีเด็กจำนวนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษาเพราะไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน และพ่อแม่ก็ไม่อยากให้ลูกต้องเดินทางไกลและแม้จะมีรูปแบบการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย ทั้งใช้ระบบไอซีที การเรียนการสอนทางไกล ศูนย์การเรียนชุมชน ฯลฯ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผลมากน้อยเท่าไรเพราะเมื่อถามเด็กว่าทำไมถึงคะแนนไม่ดี เด็กก็ตอบว่าจะเอาอะไรกับหนู เพราะหนูเรียนกับทีวี ขณะที่โรงเรียนในเมืองกลับมีนักเรียนห้องละ 50 - 60 คน นั่งเบียดกัน เสียแปะเจี๊ยะเป็นแสน ๆ เพื่อให้ได้เรียนซึ่งไม่สมดุลกัน เพราะฉะนั้น ปัญหาเรื่องเด็กน้อยหรือมากเป็นเรื่องของประชากรศาสตร์ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องติดตามตัวเลข อัตราการเกิดเพื่อวางแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมต่อไป
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายต่อว่า จากการได้คุยกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่า ขณะนี้มีเด็กตั้งครรภ์ไม่พร้อมและอนาคตอาจมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ต้องมาคิดว่าจะจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้อย่างไร ไม่ใช่คำนึงถึงแต่เรื่องเงินอย่างเดียวแต่ต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจทั้งตัวเด็กและเด็กที่ถูกทิ้ง ดังนั้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลว่าจะประคับประคองว่าจะดูแลอย่างไร อีกเรื่องสำคัญที่จะต้องสอนในอนาคตคือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจสีเขียว เป็นหลักการที่จะต้องสอนให้คนรุ่นใหม่รู้จักรักสิ่งแวดล้อม รู้จักประหยัดพลังงานและรู้เรื่องพลังงานทางเลือก และต้องสอนให้เรียนรู้หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ จะต้องเน้นย้ำให้ประชาชนรู้จักเศรษฐกิจพอเพียงทั้งระดับบุคคล ระดับชุมชน และประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสื่อการเรียนการสอนที่มักจะคิดว่าต้องใช้สื่อแพงๆ ทั้งที่ความจริงแล้วสามารถนำสิ่งที่มีในท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ในหลายวิชา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้สูงอายุ ต้องเปิดโอกาสให้สามารถเรียนได้ในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัยเพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อ หรือเพื่อพัฒนาตนเองได้
“เป็นการยากที่จะรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างแต่อาจจะมีการคาดเดาได้ ดังนั้น ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาให้คำนึงถึงประเด็นโลกยุคใหม่ โลกโลกาภิวัตน์ เพราะเราพูดแต่กันเรื่องประชาคมอาเซียนแต่ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ไม่คำนึงถึงเรื่องนี้เพราะเขาก้าวไปถึงโลกาภิวัตน์ ดังนั้นทั้งครูและนักเรียนต้องรู้ภาษาต่างประเทศมากขึ้น เพื่อจะได้ใช้สื่อสารกับนานาชาติได้ ต้องให้เด็กเป็นสมาชิกชุมชนนานาชาติ เพราะต่อไปต้องทำมาหากินให้ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่รังเกียจงานและที่สำคัญทุกคนต้องเอื้อเฟื้อต่อกันไม่ใช่หวงวิชา หวงความรู้ ไม่สนใจคนอื่น ต้องสนใจซึ่งกันและกันสิ่งใดดีก็ไม่ควรเปลี่ยนแต่อาจเสริมสื่อการสอน ทำให้นักเรียนที่ได้รับการศึกษาเป็นหลักเพื่อการพัฒนาประเทศ ตรงนี้จะถือว่าเป็นอดีตเพี่ออนาคต”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยาย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 พ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในงาน “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งที่ 26 และในวาระครบ 40 ปีบัณฑิตวิทยาลัย โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายเรื่อง “อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ” ใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า คนในอดีตที่จัดการศึกษาได้ดี ยกตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ที่ทรงปฏิรูปการศึกษาและการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ไม่ว่าใครจะเป็นลูกใคร หรือเป็นพระโอรสพระธิดาของพระองค์เอง หรือเป็นลูกของใครที่ไหนในประเทศไทยต้องจัดให้เขามีโอกาสทางการศึกษาได้เท่าเทียมเท่ากัน ซึ่งตามหลักการแล้วคนไทยต้องมีโอกาสทางการศึกษา ในการอ่านออกเขียนได้ เพื่อไม่ให้ถูกเขาหลอก ทำงานเพื่อประเทศชาติได้ เพื่อตัวเองได้ รู้หนังสือ รู้วิชาชีพ” ซึ่งคำพูดนี้ในอนาคตต้องขยายมากกว่านั้น ไม่ใช่เฉพาะคนไทยทุกคนแต่ต้องเป็นทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศ ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนทั้งรัฐบาลและเอกชนที่ต้องร่วมจัดการศึกษา
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีวิชาเรื่องอนาคตศึกษาซึ่งก็คือการใช้ค่าสถิตตัวเลขต่าง ๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น เพื่อดูว่าแนวโน้มหรือเทรนด์ต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไรและเรื่องที่ได้ยินมาตลอด 30 - 40 ปีของการทำงาน คือ ประชากรเด็กลดลงเพราะการคุมกำเนิดได้ผล ทำให้โรงเรียนที่เคยเปิดให้การศึกษาทุกชั้นปีกลายเป็นเปิดปีเว้นปี จนกระทั่งมีต้องปิดโรงเรียน นั่นเพราะเราเชื่อนักเศรษฐศาสตร์ว่าการมีเด็กน้อยจะไม่คุ้มกับการจัดการเรียนการสอน ผลของปรากฎการณ์นี้ทำให้เห็นได้ชัดเจน คือ เราใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าแต่สิ่งที่ตามมาคือมีเด็กจำนวนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษาเพราะไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน และพ่อแม่ก็ไม่อยากให้ลูกต้องเดินทางไกลและแม้จะมีรูปแบบการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย ทั้งใช้ระบบไอซีที การเรียนการสอนทางไกล ศูนย์การเรียนชุมชน ฯลฯ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผลมากน้อยเท่าไรเพราะเมื่อถามเด็กว่าทำไมถึงคะแนนไม่ดี เด็กก็ตอบว่าจะเอาอะไรกับหนู เพราะหนูเรียนกับทีวี ขณะที่โรงเรียนในเมืองกลับมีนักเรียนห้องละ 50 - 60 คน นั่งเบียดกัน เสียแปะเจี๊ยะเป็นแสน ๆ เพื่อให้ได้เรียนซึ่งไม่สมดุลกัน เพราะฉะนั้น ปัญหาเรื่องเด็กน้อยหรือมากเป็นเรื่องของประชากรศาสตร์ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องติดตามตัวเลข อัตราการเกิดเพื่อวางแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมต่อไป
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายต่อว่า จากการได้คุยกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่า ขณะนี้มีเด็กตั้งครรภ์ไม่พร้อมและอนาคตอาจมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ต้องมาคิดว่าจะจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้อย่างไร ไม่ใช่คำนึงถึงแต่เรื่องเงินอย่างเดียวแต่ต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจทั้งตัวเด็กและเด็กที่ถูกทิ้ง ดังนั้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลว่าจะประคับประคองว่าจะดูแลอย่างไร อีกเรื่องสำคัญที่จะต้องสอนในอนาคตคือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจสีเขียว เป็นหลักการที่จะต้องสอนให้คนรุ่นใหม่รู้จักรักสิ่งแวดล้อม รู้จักประหยัดพลังงานและรู้เรื่องพลังงานทางเลือก และต้องสอนให้เรียนรู้หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ จะต้องเน้นย้ำให้ประชาชนรู้จักเศรษฐกิจพอเพียงทั้งระดับบุคคล ระดับชุมชน และประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสื่อการเรียนการสอนที่มักจะคิดว่าต้องใช้สื่อแพงๆ ทั้งที่ความจริงแล้วสามารถนำสิ่งที่มีในท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ในหลายวิชา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้สูงอายุ ต้องเปิดโอกาสให้สามารถเรียนได้ในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัยเพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อ หรือเพื่อพัฒนาตนเองได้
“เป็นการยากที่จะรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างแต่อาจจะมีการคาดเดาได้ ดังนั้น ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาให้คำนึงถึงประเด็นโลกยุคใหม่ โลกโลกาภิวัตน์ เพราะเราพูดแต่กันเรื่องประชาคมอาเซียนแต่ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ไม่คำนึงถึงเรื่องนี้เพราะเขาก้าวไปถึงโลกาภิวัตน์ ดังนั้นทั้งครูและนักเรียนต้องรู้ภาษาต่างประเทศมากขึ้น เพื่อจะได้ใช้สื่อสารกับนานาชาติได้ ต้องให้เด็กเป็นสมาชิกชุมชนนานาชาติ เพราะต่อไปต้องทำมาหากินให้ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่รังเกียจงานและที่สำคัญทุกคนต้องเอื้อเฟื้อต่อกันไม่ใช่หวงวิชา หวงความรู้ ไม่สนใจคนอื่น ต้องสนใจซึ่งกันและกันสิ่งใดดีก็ไม่ควรเปลี่ยนแต่อาจเสริมสื่อการสอน ทำให้นักเรียนที่ได้รับการศึกษาเป็นหลักเพื่อการพัฒนาประเทศ ตรงนี้จะถือว่าเป็นอดีตเพี่ออนาคต”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยาย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น