เคาะข้อสรุปแนวทางจัดการศพต่างชาติดับปริศนา ตำรวจ - กู้ภัย หากพบศพคนแรกให้เช็กเชื้อชาติ การเดินทาง ย้ำมาจากที่ระบาด ห้ามทุกคนเข้าพื้นที่ทันที แจ้ง สสจ. ส่งทีมเข้าตรวจสอบป้องกันเชื้อแพร่กระจาย เตรียมปั้นทีมเชี่ยวชาญคุมสถานการณ์อีโบลา 1 เขต 1 ทีม เผยคืบหน้าแล็บชีวนิรภัยระดับ 4 จ่อชง คกก. ป้องกันเชื้ออุบัติใหม่ระดับชาติ
วันนี้ (7 พ.ย.) นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่ายระดับเขต และ กทม. รวม 14 แห่ง จากเขตสุขภาพทั้ง 12 แห่ง ผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อติดตามความพร้อมรับมือสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความพร้อมอยู่แล้วในการรับมืออีโบลา สำหรับประเด็นการจัดการกับศพปริศนา เพราะไม่แน่ใจว่ามีการติดเชื้อไวรัสอีโบลาหรือไม่นั้น ที่ประชุมได้ยกตัวอย่างกรณีชาวต่างชาติเสียชีวิตปริศนาที่ จ.ภูเก็ต มาหารือจนได้ข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ตรงกันทั่วประเทศ คือ หากชาวต่างชาติเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาด ห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยกู้ภัยเข้าไปในพื้นที่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด เพื่อจัดส่งทีมผู้เชี่ยวชาญพิเศษเข้าไปตรวจสอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้ออีโบลา และจัดระบบชันสูตรศพ และจัดการศพ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือที่สัมผัสกับความเสี่ยงให้ถูกต้อง และมีมาตรการติดตามสุขภาพผู้ที่สัมผัสศพ ซึ่งจะต้องหารือร่วมกับสถาบันนิติเวช สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้ปลอดภัย
“คนที่พบศพคนแรกส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่กู้ภัย ต้องดูว่าเป็นชาติไหน ถ้ามาจากพื้นที่เสี่ยงต้องห้ามทุกคนเข้าไปในพื้นที่ เราจะออกเป็นแนวปฏิบัติเลย อย่างกรณีศพชาวต่างชาติที่ภูเก็ต หลังได้รับแจ้งเหตุก็มีทีมผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางเข้าไปเก็บชิ้นเนื้อ เก็บตัวอย่างอวัยวะของร่างกายห่อหุ้มด้วยภาชนะพิเศษตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และส่งต่อมาที่ห้องปฏิบัติด้วยรถขนย้ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะเกรงเรื่องการแพร่ระบาด” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวว่า ขณะนี้ สธ. กำลังเร่งฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้รับมือกับการป้องกันควบคุมโรคอีโบลา พร้อมสนับสนุนให้มีทีมผู้เชี่ยวชาญพิเศษเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างน้อย 1 เขต 1 ทีม จากเดิมที่มีเฉพาะส่วนกลางเท่านั้น พร้อมทั้งออกมาตรฐานเรื่องการขนส่งเชื้อโรคอันตราย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ก่อนออกหลักเกณฑ์ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังได้เร่งพัฒนาห้องแยกสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐานให้ได้ 14 แห่งในโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ ใช้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท ขณะนี้แล้วเสร็จ 5 แห่ง คาดว่าอีก 9 แห่งจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้
“ห้องปฏิบัติการดังกล่าวไม่ใช่ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 แต่มีเพื่อตรวจวิเคราะห์เชื้อโรคอันตรายได้อย่างปลอดภัยได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวอยากให้มีการสร้างห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับ 4 เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีเชื้อไวรัสใหม่เกิดขึ้นมาก ตั้งแต่ซาร์ส โคโรนาไวรัส และ อีโบลา ซึ่งตอนนี้กรมวิทย์กำลังทำเรื่องและจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยเรื่องการป้องกันเชื้ออุบัติใหม่ ที่มีรองนายกเป็นประธาน ในสัปดาห์หน้า คาดว่าน่าจะทันของบประมาณกลางระยะที่ 2 นี้” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีข่าวน่ายินดีที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาชะลอตัวในพื้นที่ไลบีเรีย และจากรายงานขององค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ได้ปรับลดอัตราป่วยและเสียชีวิตหลังจากยืนยันแล้วว่าไม่ใช่โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยลดอัตราป่วยลง 500 คน เหลือ 13,042 คน ลดอัตราการเสียชีวิตลง 50 คน เหลือจำนวนผู้เสียชีวิต 4,818 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 พ.ย.) นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่ายระดับเขต และ กทม. รวม 14 แห่ง จากเขตสุขภาพทั้ง 12 แห่ง ผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อติดตามความพร้อมรับมือสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความพร้อมอยู่แล้วในการรับมืออีโบลา สำหรับประเด็นการจัดการกับศพปริศนา เพราะไม่แน่ใจว่ามีการติดเชื้อไวรัสอีโบลาหรือไม่นั้น ที่ประชุมได้ยกตัวอย่างกรณีชาวต่างชาติเสียชีวิตปริศนาที่ จ.ภูเก็ต มาหารือจนได้ข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ตรงกันทั่วประเทศ คือ หากชาวต่างชาติเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาด ห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยกู้ภัยเข้าไปในพื้นที่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด เพื่อจัดส่งทีมผู้เชี่ยวชาญพิเศษเข้าไปตรวจสอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้ออีโบลา และจัดระบบชันสูตรศพ และจัดการศพ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือที่สัมผัสกับความเสี่ยงให้ถูกต้อง และมีมาตรการติดตามสุขภาพผู้ที่สัมผัสศพ ซึ่งจะต้องหารือร่วมกับสถาบันนิติเวช สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้ปลอดภัย
“คนที่พบศพคนแรกส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่กู้ภัย ต้องดูว่าเป็นชาติไหน ถ้ามาจากพื้นที่เสี่ยงต้องห้ามทุกคนเข้าไปในพื้นที่ เราจะออกเป็นแนวปฏิบัติเลย อย่างกรณีศพชาวต่างชาติที่ภูเก็ต หลังได้รับแจ้งเหตุก็มีทีมผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางเข้าไปเก็บชิ้นเนื้อ เก็บตัวอย่างอวัยวะของร่างกายห่อหุ้มด้วยภาชนะพิเศษตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และส่งต่อมาที่ห้องปฏิบัติด้วยรถขนย้ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะเกรงเรื่องการแพร่ระบาด” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวว่า ขณะนี้ สธ. กำลังเร่งฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้รับมือกับการป้องกันควบคุมโรคอีโบลา พร้อมสนับสนุนให้มีทีมผู้เชี่ยวชาญพิเศษเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างน้อย 1 เขต 1 ทีม จากเดิมที่มีเฉพาะส่วนกลางเท่านั้น พร้อมทั้งออกมาตรฐานเรื่องการขนส่งเชื้อโรคอันตราย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ก่อนออกหลักเกณฑ์ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังได้เร่งพัฒนาห้องแยกสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐานให้ได้ 14 แห่งในโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ ใช้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท ขณะนี้แล้วเสร็จ 5 แห่ง คาดว่าอีก 9 แห่งจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้
“ห้องปฏิบัติการดังกล่าวไม่ใช่ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 แต่มีเพื่อตรวจวิเคราะห์เชื้อโรคอันตรายได้อย่างปลอดภัยได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวอยากให้มีการสร้างห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับ 4 เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีเชื้อไวรัสใหม่เกิดขึ้นมาก ตั้งแต่ซาร์ส โคโรนาไวรัส และ อีโบลา ซึ่งตอนนี้กรมวิทย์กำลังทำเรื่องและจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยเรื่องการป้องกันเชื้ออุบัติใหม่ ที่มีรองนายกเป็นประธาน ในสัปดาห์หน้า คาดว่าน่าจะทันของบประมาณกลางระยะที่ 2 นี้” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีข่าวน่ายินดีที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาชะลอตัวในพื้นที่ไลบีเรีย และจากรายงานขององค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ได้ปรับลดอัตราป่วยและเสียชีวิตหลังจากยืนยันแล้วว่าไม่ใช่โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยลดอัตราป่วยลง 500 คน เหลือ 13,042 คน ลดอัตราการเสียชีวิตลง 50 คน เหลือจำนวนผู้เสียชีวิต 4,818 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่