xs
xsm
sm
md
lg

ผู้เชี่ยวชาญไวรัสแนะเฝ้าระวัง “โรคมาร์บวร์ก” ชี้อันตรายกว่าอีโบลา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้เชี่ยวชาญไวรัสห่วง หน้าหนาวส่งผลต่อการระบาด “อีโบลา” ยันมาตรการเฝ้าระวังป้องกันไทยทำดีแล้ว แต่ประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ดีนัก แนะเฝ้าระวัง “โรคมาร์บวร์ก” ชี้อันตรายรุนแรงกว่าอีโบลา

วันนี้ (16 ต.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษาสมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ร่วมกันแถลงข่าว เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านไวรัสวิทยา (International Congress on Medical Virology 2014 : ICMV 2014) ระหว่างวันที่ 5 - 7 พ.ย. 2557 ที่โรงแรมพูลแมน กทม. ซึ่งปีนี้จะเน้นประเด็น ไวรัสไร้พรมแดน ด้วยความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สธ. คณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) และสมาคมชีวนิรภัย (ประเทศไทย)

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้เชิญแพทย์เชี่ยวชาญ และนักวิชาการด้านไวรัสจากทั่วโลกประมาณ 400 - 500 คน มาเพื่อหารือสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัส อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โคโรนาไวรัส และเอดส์ ที่มีการพัฒนาตนเองและแพร่ระบาดอย่างไร้พรมแดนอย่างรวดเร็ว รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาด้วย นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.ฮารัลด์ ซัวร์ เฮาเซน ผู้ได้พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2548 และรางวัลโนเบล ปี 2551 จากการค้นพบเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกมาบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการประชุมดังกล่าวด้วย

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ขณะนี้ยังคงระบาดหนักใน 3 ประเทศของแอฟริกาตะวันตก คือ ไลบีเรีย กินี และเซียร์ราลีโอน และเริ่มระบาดออกนอกพื้นที่ เช่น ไนจีเรีย เซเนกัล สหรัฐอเมริกา และสเปน โดยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา ว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อ 8,914 คน เสียชีวิต 4,447 คน ที่สำคัญคือประเทศที่กำลังมีการระบาดกำลังเข้าสู่หน้าหนาว คาดว่า จะมีผลต่อการระบาด แต่ยังไม่ทราบว่าจะมีผลมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสภาพอากาศคล้ายกับสภาพอากาศในประเทศไทยขณะนี้
 
ส่วนที่ WHO เตือนการระบาดในแถบเอเชีย เพราะมีชาวเอเชียเดินทางไปทำงานในประเทศที่มีการระบาด ส่วนใหญ่เป็นการใช้แรงงานในชนบทที่มีการคลุกคลีกับคนจำนวนมาก จึงค่อนข้างเป็นห่วง เพราะมีการเดินไปกลับเป็นกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ในมาตรการควบคุมป้องกันโรคของไทยถือว่าเข้มแข็งดีแล้ว แต่หากไม่เข้มงวดเมื่อไรก็มีโอกาสที่จะพบโรคได้ ขณะเดียวกัน ก็ยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคยังไม่พร้อมมากนัก

“นอกจากอีโบลาแล้ว โรคที่ต้องเฝ้าระวังคือโรคมาร์บวร์กที่กำลังระบาดในแถบอูกันดา ด้วย โดยโรคดังกล่าวถือเป็นโรคไข้เลือดออกที่มีต้นเชื้อมาจากลิง และค้างคาว มีระยะฟักตัว การติดต่อ กลุ่มอาการคล้ายกับอีโบลา แต่รุนแรงกว่า โดยมีอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตอยู่ที่ 40 - 90% ถือว่าเป็นพี่ใหญ่ของโรคติดเชื้ออีโบลา เพราะพบการระบาดตั้งแต่ปี 2518 ก่อนจะพบการระบาดของอีโบลา 1 ปี” ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

กำลังโหลด

เครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น

ดูบน Instagram





กำลังโหลดความคิดเห็น