แพทยสภาเตรียมฟันจริยธรรม “2 หมอ” ทำศัลยกรรมแหม่มชาวอังกฤษเสียชีวิต เหตุคนทำไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญปล่อยคนอื่นลงมือทำ นำเข้าที่ประชุม คกก. แพทยสภา 13 พ.ย. นี้ พร้อมเตรียมหารือข้อปฏิบัติการใช้ยานอนหลับ ด้าน สบส. ชี้คลินิกผิดชัด คนทำไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง เปิดเกินเวลาตามที่ขออนุญาตถือเป็นคลินิกเถื่อน
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การดำเนินการกับแพทย์เจ้าของคลินิกศัลยกรรมเอสพีคลินิก ซึ่งเป็นผู้ทำหัตถการให้สาวชาวอังกฤษวัย 24 ปี แต่เกิดการเสียชีวิตระหว่างให้ยานอนหลับนั้น และแพทย์ศัลยกรรมประจำคลินิก ซึ่งเป็นแพทย์ศัลยกรรมเฉพาะทาง แต่ปล่อยให้บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการแทนจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น แพทยสภาจะนำรายชื่อแพทย์ทั้งสองคนเข้าพิจารณาด้านจริยธรรม โดยจะเสนอเข้าสู่คณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 13 พ.ย. นี้ ส่วนมาตรการในการควบคุมแพทย์นั้น จริงๆ มีข้อบังคับในการดำเนินการอยู่แล้ว ในเรื่องการผ่าตัด การรักษาคนไข้ รวมทั้งเครื่องมือช่วยชีวิตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า เรื่องการใช้ยานอนหลับจะต้องมีเกณฑ์ หรือข้อปฏิบัติสำหรับแพทย์หรือไม่นั้น เรื่องนี้จะมีการพูดคุยกันในที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา และจะหารือความเป็นไปได้ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนเรื่องการผ่าตัดเสริมความงาม หากไม่ใช่ผ่าตัดยากๆ จริงๆ แพทย์ที่จบแพทยศาสตร์บัณฑิตก็สามารถทำได้ แต่หากเป็นการผ่าตัดยาก หรือผ่าตัดโรครุนแรงก็จะต้องมีการกำหนดแพทย์เฉพาะทาง
แหล่งข่าว สบส. กล่าวว่า มาตรการตรวจสอบเอาผิดคลินิกศัลยกรรมเสริมความงามต่างๆ โดยปกติจะตรวจสอบว่า ขึ้นทะเบียนถูกต้องหรือไม่ เป็นคลินิกเถื่อนหรือไม่ และมีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือไม่ ซึ่งหากโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง จะผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 มาตรา 38 ที่มีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง หรือ กระทำอันเป็นเท็จ จะมีโทษปรับ 2 หมื่นบาท ส่วนมาตรฐานของคลินิกนั้น หากมีการผ่าตัด จะต้องมีเครื่องมือช่วยชีวิต แต่หากไม่มีก็ถือว่าผิดเช่นกัน อย่างกรณีของหญิงชาวอังกฤษวัย 24 ปี เสียชีวิตระหว่างการให้ยาสลบในการทำศัลยกรรมถือว่าผิด 2 ประเด็น คือ 1. แพทย์ผู้ทำศัลยกรรม ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง ผิดตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล ม.34 (2) มีโทษทั้งจำทั้งปรับ และ 2. คลินิกแห่งนี้ขอเปิดเป็นคลินิกผู้ป่วยนอก ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน แต่กลับให้บริการ ตั้งแต่ 09.00 - 20.00 น. ซึ่งเกินเวลาที่กำหนด ถือเป็นคลินิกเถื่อนมีความผิดตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล 2541 มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
“นอกจากนี้ ยังพบว่าเป็นคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ จึงต้องสั่งปิดทันที 60 วันตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล มาตรา 60 ซึ่งโทษในการปิดคลินิกยอมรับว่ามีโทษน้อย ขณะนี้ใน สบส. ก็มีความพยายามในการเพิ่มโทษ แต่ปรากฏว่าเรื่องยังเงียบอยู่” แหล่งข่าวกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การดำเนินการกับแพทย์เจ้าของคลินิกศัลยกรรมเอสพีคลินิก ซึ่งเป็นผู้ทำหัตถการให้สาวชาวอังกฤษวัย 24 ปี แต่เกิดการเสียชีวิตระหว่างให้ยานอนหลับนั้น และแพทย์ศัลยกรรมประจำคลินิก ซึ่งเป็นแพทย์ศัลยกรรมเฉพาะทาง แต่ปล่อยให้บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการแทนจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น แพทยสภาจะนำรายชื่อแพทย์ทั้งสองคนเข้าพิจารณาด้านจริยธรรม โดยจะเสนอเข้าสู่คณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 13 พ.ย. นี้ ส่วนมาตรการในการควบคุมแพทย์นั้น จริงๆ มีข้อบังคับในการดำเนินการอยู่แล้ว ในเรื่องการผ่าตัด การรักษาคนไข้ รวมทั้งเครื่องมือช่วยชีวิตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า เรื่องการใช้ยานอนหลับจะต้องมีเกณฑ์ หรือข้อปฏิบัติสำหรับแพทย์หรือไม่นั้น เรื่องนี้จะมีการพูดคุยกันในที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา และจะหารือความเป็นไปได้ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนเรื่องการผ่าตัดเสริมความงาม หากไม่ใช่ผ่าตัดยากๆ จริงๆ แพทย์ที่จบแพทยศาสตร์บัณฑิตก็สามารถทำได้ แต่หากเป็นการผ่าตัดยาก หรือผ่าตัดโรครุนแรงก็จะต้องมีการกำหนดแพทย์เฉพาะทาง
แหล่งข่าว สบส. กล่าวว่า มาตรการตรวจสอบเอาผิดคลินิกศัลยกรรมเสริมความงามต่างๆ โดยปกติจะตรวจสอบว่า ขึ้นทะเบียนถูกต้องหรือไม่ เป็นคลินิกเถื่อนหรือไม่ และมีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือไม่ ซึ่งหากโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง จะผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 มาตรา 38 ที่มีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง หรือ กระทำอันเป็นเท็จ จะมีโทษปรับ 2 หมื่นบาท ส่วนมาตรฐานของคลินิกนั้น หากมีการผ่าตัด จะต้องมีเครื่องมือช่วยชีวิต แต่หากไม่มีก็ถือว่าผิดเช่นกัน อย่างกรณีของหญิงชาวอังกฤษวัย 24 ปี เสียชีวิตระหว่างการให้ยาสลบในการทำศัลยกรรมถือว่าผิด 2 ประเด็น คือ 1. แพทย์ผู้ทำศัลยกรรม ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง ผิดตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล ม.34 (2) มีโทษทั้งจำทั้งปรับ และ 2. คลินิกแห่งนี้ขอเปิดเป็นคลินิกผู้ป่วยนอก ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน แต่กลับให้บริการ ตั้งแต่ 09.00 - 20.00 น. ซึ่งเกินเวลาที่กำหนด ถือเป็นคลินิกเถื่อนมีความผิดตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล 2541 มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
“นอกจากนี้ ยังพบว่าเป็นคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ จึงต้องสั่งปิดทันที 60 วันตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล มาตรา 60 ซึ่งโทษในการปิดคลินิกยอมรับว่ามีโทษน้อย ขณะนี้ใน สบส. ก็มีความพยายามในการเพิ่มโทษ แต่ปรากฏว่าเรื่องยังเงียบอยู่” แหล่งข่าวกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่