สบส. สรุปผลตรวจคลินิกอุ้มบุญ กทม. 12 แห่ง พบมีความผิด 7 แห่ง ถูกกฎหมาย 2 แห่ง เป็นเอเยนซี 3 แห่ง ส่งรายชื่อแพทย์ทำผิด 6 ราย ให้แพทยสภาพิจารณา มั่นใจหลักฐานชัดเอาผิดได้ใน 3 เดือน เล็งทยอยตรวจคลินิกเฉพาะทางสูติฯ ทั่วประเทศ เริ่ม กทม. จากที่เหลืออีก 9 แห่ง
วันนี้ (26 ส.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงผลการตรวจสถานพยาบาลอุ้มบุญ ว่า จากการตรวจสอบสถานพยาบาลใน กทม. จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีความผิด 7 แห่ง แบ่งเป็น มาตรา 34 (2) พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 จำนวน 5 แห่ง คือ ไม่ปฏิบัติตามประกาศของแพทยสภา โดยให้หญิงที่ไม่ใช่ญาติตั้งครรภ์แทน และมาตรา 16 อีก 2 แห่ง คือ ไม่ขออนุญาตตั้งสถานพยาบาลถือเป็นคลินิกเถื่อน ขณะที่ 2 แห่งดำเนินการถูกกฎหมาย และอีก 3 แห่งที่เหลือ เป็นเอเยนซีจัดหาการอุ้มบุญ เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สามารถเอาผิดกรณีหลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อ สำหรับแพทย์มีความผิด 6 ราย ได้ส่งชื่อให้แพทยสภาพิจารณาจริยธรรมแล้ว ซึ่งเมื่อมีหลักฐานพร้อม ชัดเจน คาดว่าจะสามารถพิจารณาได้เสร็จภายใน 3 เดือน
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า จากนี้ สบส. จะทยอยตรวจสอบสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านสูตินรีเวชทั้งหมดต่อไป เนื่องจากการทำอุ้มบุญต้องทำในคลินิกเฉพาะทางสูตินรีเวชแน่นอน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกแห่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้ทั้งหมด โดยมีแพทย์ขึ้นทะเบียนสามารถทำได้เพียง 240 คนเท่านั้น ส่วนคลินิกเฉพาะทางสูตินรีเวชทั่วประเทศมีขึ้นทะเบียนทั้งหมด 173 แห่ง แบ่งเป็น กทม. 18 แห่ง และต่างจังหวัด 155 แห่ง โดยในส่วนของ กทม. ยังเหลืออีก 9 แห่ง คาดว่าจะตรวจสอบเสร็จใน ก.ย. ส่วนภูมิภาคจะประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เพื่อตรวจสอบต่อไป
“ที่ผ่านมา สบส. มีการตรวจสอบมาโดยตลอด ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือเพิ่งเคยตรวจสอบ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยพบการกระทำผิด ส่วน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... สบส. ได้ร่วมกับแพทยสภา และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พิจารณาและมีความเห็นเสนอขอปรับปรุงเพิ่มเติม ในส่วนของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ให้ยึดตามหลักเกณฑ์เดิมของแพทยสภา คือ ต้องเป็นเครือญาติเพื่อขจัดเงื่อนไขการตั้งครรภ์แทนเชิงพาณิชย์ ส่วนจะมีข้อยกเว้นเป็นรายๆ ไปนั้น ให้เป็นการพิจารณาของแพทยสภา และราชวิทยาลัยฯ” อธิบดี สบส. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการนำเด็กออกนอกประเทศโดยใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการขอเป็นผู้ปกครองเด็ก โดยให้หญิงรับตั้งครรภ์รับว่าเป็นชู้ นั้น น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า กรณีนี้พิสูจน์ยากเพราะไม่มีการพิสูจน์ว่าเด็กเกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรือไม่ ถือเป็นช่องว่างทางกฎหมายและเป็นเรื่องใหม่ จะต้องมีการช่วยกันเสนอความเห็นและหาทางป้องกันต่อไป ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมาย คสช. ได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา และเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกฝ่ายเสนอความเห็นในการปรับปรุง และสบส.จะนำความเห็นนี้เสนอด้วยเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คลินิกที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 แบ่งเป็นผิดมาตรา 34 (2) ไม่ดำเนินการตามประกาศของแพทยสภา 5 แห่ง คือ 1. ออล ไอ.วี.เอฟ.คลินิกแห่งนี้ทำผิดหลายครั้ง ซึ่งเดิมทีตอนไปตรวจจะมีการปิดสถานพยาบาลอยู่แล้ว แต่เจ้าของคลินิกได้ปิดหนีไปก่อน จึงถือว่าปิดถาวร 2. เอส.เอ.อาร์.ที 3. นิวไลฟ์ ไอ.วี.เอฟ 4. บางกอก ไอ.วี.เอฟ. และ 5. เซฟเฟอทิลิตี และมีความผิดเป็นคลินิกเถื่อน 2 แห่ง คือ คลินิกเถื่อนไม่มีชื่อ แต่เป็นส่วนหนึ่งของ ออล ไอ.วี.เอฟ. ตั้งอยู่บริเวณชั้นที่ 15 และนิวไลฟ์
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ด้านจริยธรรมและสอบสวนกรณีอุ้มบุญ ได้เรียกแพทย์ทั้ง 2 รายกรณีทำอุ้มบุญน้องแกรมมี่ เข้ามาสัมภาษณ์และชี้แจงข้อกล่าวหาแล้ว ซึ่งแพทย์ทั้ง 2 รายต่างก็รับทราบ แต่ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ ส่วนแพทย์ที่ทำการอุ้มบุญเคสชาวญี่ปุ่นมีการเขียนคำชี้แจงเข้ามาแล้ว ทั้งนี้ การพิจารณาความผิด คาดว่าจะรู้ผลเร็วๆ นี้ เนื่องจากทางแพทยสภามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาโดยเฉพาะ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (26 ส.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงผลการตรวจสถานพยาบาลอุ้มบุญ ว่า จากการตรวจสอบสถานพยาบาลใน กทม. จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีความผิด 7 แห่ง แบ่งเป็น มาตรา 34 (2) พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 จำนวน 5 แห่ง คือ ไม่ปฏิบัติตามประกาศของแพทยสภา โดยให้หญิงที่ไม่ใช่ญาติตั้งครรภ์แทน และมาตรา 16 อีก 2 แห่ง คือ ไม่ขออนุญาตตั้งสถานพยาบาลถือเป็นคลินิกเถื่อน ขณะที่ 2 แห่งดำเนินการถูกกฎหมาย และอีก 3 แห่งที่เหลือ เป็นเอเยนซีจัดหาการอุ้มบุญ เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สามารถเอาผิดกรณีหลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อ สำหรับแพทย์มีความผิด 6 ราย ได้ส่งชื่อให้แพทยสภาพิจารณาจริยธรรมแล้ว ซึ่งเมื่อมีหลักฐานพร้อม ชัดเจน คาดว่าจะสามารถพิจารณาได้เสร็จภายใน 3 เดือน
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า จากนี้ สบส. จะทยอยตรวจสอบสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านสูตินรีเวชทั้งหมดต่อไป เนื่องจากการทำอุ้มบุญต้องทำในคลินิกเฉพาะทางสูตินรีเวชแน่นอน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกแห่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้ทั้งหมด โดยมีแพทย์ขึ้นทะเบียนสามารถทำได้เพียง 240 คนเท่านั้น ส่วนคลินิกเฉพาะทางสูตินรีเวชทั่วประเทศมีขึ้นทะเบียนทั้งหมด 173 แห่ง แบ่งเป็น กทม. 18 แห่ง และต่างจังหวัด 155 แห่ง โดยในส่วนของ กทม. ยังเหลืออีก 9 แห่ง คาดว่าจะตรวจสอบเสร็จใน ก.ย. ส่วนภูมิภาคจะประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เพื่อตรวจสอบต่อไป
“ที่ผ่านมา สบส. มีการตรวจสอบมาโดยตลอด ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือเพิ่งเคยตรวจสอบ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยพบการกระทำผิด ส่วน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... สบส. ได้ร่วมกับแพทยสภา และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พิจารณาและมีความเห็นเสนอขอปรับปรุงเพิ่มเติม ในส่วนของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ให้ยึดตามหลักเกณฑ์เดิมของแพทยสภา คือ ต้องเป็นเครือญาติเพื่อขจัดเงื่อนไขการตั้งครรภ์แทนเชิงพาณิชย์ ส่วนจะมีข้อยกเว้นเป็นรายๆ ไปนั้น ให้เป็นการพิจารณาของแพทยสภา และราชวิทยาลัยฯ” อธิบดี สบส. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการนำเด็กออกนอกประเทศโดยใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการขอเป็นผู้ปกครองเด็ก โดยให้หญิงรับตั้งครรภ์รับว่าเป็นชู้ นั้น น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า กรณีนี้พิสูจน์ยากเพราะไม่มีการพิสูจน์ว่าเด็กเกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรือไม่ ถือเป็นช่องว่างทางกฎหมายและเป็นเรื่องใหม่ จะต้องมีการช่วยกันเสนอความเห็นและหาทางป้องกันต่อไป ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมาย คสช. ได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา และเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกฝ่ายเสนอความเห็นในการปรับปรุง และสบส.จะนำความเห็นนี้เสนอด้วยเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คลินิกที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 แบ่งเป็นผิดมาตรา 34 (2) ไม่ดำเนินการตามประกาศของแพทยสภา 5 แห่ง คือ 1. ออล ไอ.วี.เอฟ.คลินิกแห่งนี้ทำผิดหลายครั้ง ซึ่งเดิมทีตอนไปตรวจจะมีการปิดสถานพยาบาลอยู่แล้ว แต่เจ้าของคลินิกได้ปิดหนีไปก่อน จึงถือว่าปิดถาวร 2. เอส.เอ.อาร์.ที 3. นิวไลฟ์ ไอ.วี.เอฟ 4. บางกอก ไอ.วี.เอฟ. และ 5. เซฟเฟอทิลิตี และมีความผิดเป็นคลินิกเถื่อน 2 แห่ง คือ คลินิกเถื่อนไม่มีชื่อ แต่เป็นส่วนหนึ่งของ ออล ไอ.วี.เอฟ. ตั้งอยู่บริเวณชั้นที่ 15 และนิวไลฟ์
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ด้านจริยธรรมและสอบสวนกรณีอุ้มบุญ ได้เรียกแพทย์ทั้ง 2 รายกรณีทำอุ้มบุญน้องแกรมมี่ เข้ามาสัมภาษณ์และชี้แจงข้อกล่าวหาแล้ว ซึ่งแพทย์ทั้ง 2 รายต่างก็รับทราบ แต่ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ ส่วนแพทย์ที่ทำการอุ้มบุญเคสชาวญี่ปุ่นมีการเขียนคำชี้แจงเข้ามาแล้ว ทั้งนี้ การพิจารณาความผิด คาดว่าจะรู้ผลเร็วๆ นี้ เนื่องจากทางแพทยสภามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาโดยเฉพาะ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่