สบส. เผยโรงพยาบาลขนาดใหญ่พื้นที่ปริมณฑลลักลอบทำอุ้มบุญ “น้องแกรมมี่” ส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบผิดกฎหมายหรือไม่ คาดรู้ผลสัปดาห์หน้า ยันแม่รับจ้างตั้งท้องมีความผิด ส่วนเอเยนซียังเอาผิดไม่ได้ ระบุมีมากถึง 20 รายจากหลากหลายชาติ เหตุมองไทยเป็นแดนสวรรค์อุ้มบุญ มูลค่าปีละ 4 พันล้านบาท ด้านแพทยสภาเตรียมขอข้อมูลเสาะหาแพทย์ทำอุ้มบุญผิดกฎหมายเพิ่ม
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีหญิงรับจ้างตั้งท้องออกมาแฉธุรกิจอุ้มบุญ หลังรับจ้างตั้งท้องจนได้แฝดชายหญิง แต่สุดท้ายผู้ว่าจ้างนำเฉพาะทารกเพศหญิงไป โดยทิ้งทารกเพศชาย “น้องแกรมมี่” ไว้ให้ดูแลเนื่องจากมีอาการดาวน์ซินโดรม ว่า กรณีดังกล่าวเนื่องจากยังไม่มีผู้ใดร้องเรียนเข้ามา แพทยสภาจึงยังมิได้ลงไปตรวจสอบ จึงยังไม่ทราบว่าสถานพยาบาลใดเป็นผู้ให้บริการอุ้มบุญ อย่างไรก็ตาม การรับจ้างอุ้มบุญถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งนี้ แพทยสภากำลังดำเนินการสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และกรมการกงสุลกรณีที่เกี่ยวกับการอุ้มบุญเพิ่มเติม รวมถึงกรณีนี้ด้วยว่า มีแพทย์รายใดหรือสถานพยาบาลแห่งใดอีกบ้างที่ให้บริการอุ้มบุญ นอกเหนือจากแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีอยู่จำนวน 45 ราย
“วันที่ 14 ส.ค. จะมีการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งจะเสนอวาระนี้เข้าเพื่อหารือว่าจะทำอย่างไรในการควบคุมการใช้เทคโนโลยีการช่วยการเจริญพันธุ์ เบื้องต้นจะเสนอให้มีการเชิญสูตินรีแพทย์จำนวน 45 คน ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับราชวิทยาลัยสูติฯ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ เพื่อจะเชิญตัวมาหารือและสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้น โดยวัน เวลา ที่จะเชิญหารือนั้นคงต้องรอการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาก่อน หากพบกระทำผิดมีการดำเนินการไม่ถูกต้อง จะถูกลงโทษทางวินัย โดยมีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งต้องอยู่ที่การพิจารณา แต่อย่างไรก็ตามต้องมีบทลงโทษแน่นอน” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
ทพ.อาคม ประดิษฐ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามกรณีดังกล่าวแล้ว โดยทราบว่าเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในพื้นที่ปริมณฑล ซึ่งขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ต้องตรวจสอบก่อนว่าแพทย์ที่ดำเนินการให้เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีแพทย์หรือไม่ และได้ขึ้นทะเบียนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ กับราชวิทยาลัยสูติฯ หรือไม่ และคาดว่าจะได้ผลการตรวจสอบภายในสัปดาห์นี้ หากไม่ได้ขึ้นทะเบียนถือว่ามีความผิด ต้องถูกจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ในข้อหาให้บริการผิดประเภท รวมถึงจะส่งให้แพทยสภาพิจารณาโทษทางจริยธรรมด้วย โดยมีโทษหนักสุดคือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
“ส่วนที่มีเอเยนซีเป็นตัวกลางในการประสานผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง และหาสถานพยาบาลดำเนินการนั้น มีความผิดฐานค้ามนุษย์ แต่คงไม่สามารถเอาผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้ เนื่องจากไม่ครอบคลุม หากจะเอาผิดต้องอาศัยกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริอโภค (สคบ.) ในเรื่องการโฆษณา เพราะปัจจุบันมีการโฆษณาเรื่องการรับจ้างอุ้มบุญตามอินเทอร์เน็ตมาก เอเยนซีมีจำนวนมากมายหลายชาติ ทั้งออสเตรเลีย จีน อิสราเอล เป็นต้น เพราะต่างชาติถือว่าประเทศไทยเป็นแดนสวรรค์ของการทำอุ้มบุญ ซึ่งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลในส่วนของเอเยนซี โดยเชิญ สคบ. เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ซึ่งเท่าที่มีข้อมูลขณะนี้มีเอเยนซีหลักๆ ประมาณ 20 ราย มูลค่าการดำเนินการรับจ้างอุ้มบุญปีนึงประมาณ 4,000 ล้านบาท” ทพ.อาคม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการดำเนินการกับแม่เด็กที่ออกมายอมรับว่ารับจ้างอุ้มบุญหรือไม่ เพราะเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย ทพ.อาคม กล่าวว่า กรณีที่แม่เด็กออกมายอมรับว่ารับจ้างอุ้มบุญก็ถือว่าทำผิดจริง แต่คงไม่สามารถเอาผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้ เนื่องจากกฎหมายดูแลเฉพาะส่วนสถานพยาบาลเท่านั้น อาจจะต้องอาศัยกฎหมายอื่นในการเอาผิด เช่น แพทยสภา กฎหมายค้ามนุษย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้ากรณีติดตามตรวจจับสถานพยาบาลเอกชน 12 แห่ง ที่มีการดำเนินการให้บริการอุ้มบุญผิดกฎหมาย ทพ.อาคม กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าสถานพยาบาลจำนวน 7 แห่งเปิดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่แพทย์ไม่ได้ขึ้นทะเบียนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์กับราชวิทยาลัยสูติฯ ส่วนอีก 5 แห่งเป็นคลินิกเถื่อนที่ไม่ได้มีการเปิดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้ได้ให้กองกฎหมายของ สบส. ดำเนินการเพื่อเอาผิดแล้ว
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สธ. เน้นให้การดูแลเรื่องของสุขภาพเด็กอุ้มบุญ เนื่องจากเด็กมีอาการดาวน์ซินโดรม บกพร่องทางสมอง และติดเชื้อทางลมหายใจ โดยให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ประสานดูแลในเรื่องการส่งต่อมาดูแลรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) หากเด็กมีอาการหนักขึ้นหรือแม่ต้องการ รวมถึงมอบให้ สบส. แพทยสภา ลงไปดูในรายละเอียดแล้วว่าการอุ้มบุญดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรมหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีหญิงรับจ้างตั้งท้องออกมาแฉธุรกิจอุ้มบุญ หลังรับจ้างตั้งท้องจนได้แฝดชายหญิง แต่สุดท้ายผู้ว่าจ้างนำเฉพาะทารกเพศหญิงไป โดยทิ้งทารกเพศชาย “น้องแกรมมี่” ไว้ให้ดูแลเนื่องจากมีอาการดาวน์ซินโดรม ว่า กรณีดังกล่าวเนื่องจากยังไม่มีผู้ใดร้องเรียนเข้ามา แพทยสภาจึงยังมิได้ลงไปตรวจสอบ จึงยังไม่ทราบว่าสถานพยาบาลใดเป็นผู้ให้บริการอุ้มบุญ อย่างไรก็ตาม การรับจ้างอุ้มบุญถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งนี้ แพทยสภากำลังดำเนินการสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และกรมการกงสุลกรณีที่เกี่ยวกับการอุ้มบุญเพิ่มเติม รวมถึงกรณีนี้ด้วยว่า มีแพทย์รายใดหรือสถานพยาบาลแห่งใดอีกบ้างที่ให้บริการอุ้มบุญ นอกเหนือจากแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีอยู่จำนวน 45 ราย
“วันที่ 14 ส.ค. จะมีการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งจะเสนอวาระนี้เข้าเพื่อหารือว่าจะทำอย่างไรในการควบคุมการใช้เทคโนโลยีการช่วยการเจริญพันธุ์ เบื้องต้นจะเสนอให้มีการเชิญสูตินรีแพทย์จำนวน 45 คน ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับราชวิทยาลัยสูติฯ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ เพื่อจะเชิญตัวมาหารือและสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้น โดยวัน เวลา ที่จะเชิญหารือนั้นคงต้องรอการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาก่อน หากพบกระทำผิดมีการดำเนินการไม่ถูกต้อง จะถูกลงโทษทางวินัย โดยมีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งต้องอยู่ที่การพิจารณา แต่อย่างไรก็ตามต้องมีบทลงโทษแน่นอน” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
ทพ.อาคม ประดิษฐ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามกรณีดังกล่าวแล้ว โดยทราบว่าเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในพื้นที่ปริมณฑล ซึ่งขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ต้องตรวจสอบก่อนว่าแพทย์ที่ดำเนินการให้เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีแพทย์หรือไม่ และได้ขึ้นทะเบียนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ กับราชวิทยาลัยสูติฯ หรือไม่ และคาดว่าจะได้ผลการตรวจสอบภายในสัปดาห์นี้ หากไม่ได้ขึ้นทะเบียนถือว่ามีความผิด ต้องถูกจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ในข้อหาให้บริการผิดประเภท รวมถึงจะส่งให้แพทยสภาพิจารณาโทษทางจริยธรรมด้วย โดยมีโทษหนักสุดคือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
“ส่วนที่มีเอเยนซีเป็นตัวกลางในการประสานผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง และหาสถานพยาบาลดำเนินการนั้น มีความผิดฐานค้ามนุษย์ แต่คงไม่สามารถเอาผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้ เนื่องจากไม่ครอบคลุม หากจะเอาผิดต้องอาศัยกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริอโภค (สคบ.) ในเรื่องการโฆษณา เพราะปัจจุบันมีการโฆษณาเรื่องการรับจ้างอุ้มบุญตามอินเทอร์เน็ตมาก เอเยนซีมีจำนวนมากมายหลายชาติ ทั้งออสเตรเลีย จีน อิสราเอล เป็นต้น เพราะต่างชาติถือว่าประเทศไทยเป็นแดนสวรรค์ของการทำอุ้มบุญ ซึ่งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลในส่วนของเอเยนซี โดยเชิญ สคบ. เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ซึ่งเท่าที่มีข้อมูลขณะนี้มีเอเยนซีหลักๆ ประมาณ 20 ราย มูลค่าการดำเนินการรับจ้างอุ้มบุญปีนึงประมาณ 4,000 ล้านบาท” ทพ.อาคม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการดำเนินการกับแม่เด็กที่ออกมายอมรับว่ารับจ้างอุ้มบุญหรือไม่ เพราะเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย ทพ.อาคม กล่าวว่า กรณีที่แม่เด็กออกมายอมรับว่ารับจ้างอุ้มบุญก็ถือว่าทำผิดจริง แต่คงไม่สามารถเอาผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้ เนื่องจากกฎหมายดูแลเฉพาะส่วนสถานพยาบาลเท่านั้น อาจจะต้องอาศัยกฎหมายอื่นในการเอาผิด เช่น แพทยสภา กฎหมายค้ามนุษย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้ากรณีติดตามตรวจจับสถานพยาบาลเอกชน 12 แห่ง ที่มีการดำเนินการให้บริการอุ้มบุญผิดกฎหมาย ทพ.อาคม กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าสถานพยาบาลจำนวน 7 แห่งเปิดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่แพทย์ไม่ได้ขึ้นทะเบียนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์กับราชวิทยาลัยสูติฯ ส่วนอีก 5 แห่งเป็นคลินิกเถื่อนที่ไม่ได้มีการเปิดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้ได้ให้กองกฎหมายของ สบส. ดำเนินการเพื่อเอาผิดแล้ว
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สธ. เน้นให้การดูแลเรื่องของสุขภาพเด็กอุ้มบุญ เนื่องจากเด็กมีอาการดาวน์ซินโดรม บกพร่องทางสมอง และติดเชื้อทางลมหายใจ โดยให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ประสานดูแลในเรื่องการส่งต่อมาดูแลรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) หากเด็กมีอาการหนักขึ้นหรือแม่ต้องการ รวมถึงมอบให้ สบส. แพทยสภา ลงไปดูในรายละเอียดแล้วว่าการอุ้มบุญดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรมหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่