หมอฟันเตือนคนจัดฟันอย่าถอดเครื่องมือคงสภาพฟัน หรือรีเทนเนอร์ก่อนกำหนด เสี่ยงฟันเคลื่อน ห่าง และ ล้ม ต้องจัดฟันใหม่ ย้ำมีวินัยในการดูแล ระบุหากต้องจัดฟันหลายรอบทำเหงือกอักเสบ ฟันมีปัญหา
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายหลังการจัดฟันจนเข้าที่เรียงตัวตามปกติเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะถอดอุปกรณ์การจัดฟันออกและใส่เครื่องมือตัวใหม่ คือ เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือ รีเทนเนอร์ เนื่องจากกระดูกและเหงือกหุ้มฟันต้องใช้เวลาในการปรับสภาพเข้ากับตำแหน่งใหม่ ซึ่งการใส่รีเทนเนอร์จะต้องใส่ตลอดเวลา ยกเว้นขณะรับประทานอาหารและแปรงฟัน ซึ่งระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์ของแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ แต่ปัญหาที่พบมากคือ ผู้จัดฟันมักไม่ใส่รีเทนเนอร์อย่างต่อเนื่อง บางรายถอดรีเทนเนอร์เองเพราะคิดว่าฟันเข้าที่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่อีก ทำให้เกิดปัญหาฟันเคลื้อนตัวกลับตำแหน่งเดิม คือ ฟันห่าง หรืออาจเกิดปัญหาฟันล้มได้ ซึ่งปัจจุบันพบปัญหานี้มากขึ้น และต้องกลับมาจัดฟันใหม่
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า หลักการในการจัดฟันนั้น จะอาศัยแรงดึงจากยางดึงฟันในการเคลื่อนฟันแต่ละซี่ โดยเนื้อเยื่อที่ยึดรากฟันกับกระดูกเบ้าฟันจะเกิดการละลายและสร้างตัวใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป ระหว่างที่ฟันเคลื่อนที่ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการจัดฟันจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ซึ่งการไม่ใส่รีเทนเนอร์อย่างต่อเนื่อง หรือถอดรีเทนเนอร์ก่อนทันตแพทย์กำหนดจนต้องกลับมาจัดฟันใหม่นั้น ก็จะต้องดึงฟันเพื่อจัดฟันให้เข้าที่ใหม่ และเกิดกระบวนการละลายและสร้างใหม่ของเนื้อเยื่ออีกครั้ง ซึ่งการจัดฟันใหม่ครั้งที่ 2 อาจไม่เกิดผลกระทบต่อฟันมากนัก แต่หากผู้จัดฟันยังไม่มีวินัย ไม่ให้ความร่วมมือในการใส่รีเทนเนอร์จนเกดปัญหาต้องจัดฟันใหม่รอบ 3 - 4 ฟัน ก็จะเกิดปัญหาได้ ทั้งเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์ ฯลฯ ตามมาได้
“ปัจจุบันคนนิยมจัดฟันมากขึ้น อาจเนื่องด้วยอยากจัดฟันเพราะความสวย หรือบางคนมีปัญหาการเรียงตัวของฟันจริงๆ ก่อนการจัดฟันจึงควรปรึกษากับทันตแพทย์อย่างละเอียดถึงความจำเป็นในการจัดฟัน เพราะปัญหาฟันบางเรื่องไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาด้วยการจัดฟันเสมอไป ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยดูแลรักษาได้อีก ที่สำคัญอยากให้ทันตแพทย์แนะนำวิธีการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาฟันของผู้รับบริการแต่ละรายให้มากที่สุดด้วย” ทพ.อรรถพร กล่าว
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ส่วนกระแสความนิยมในการจัดฟันด้านใน พบว่า ไม่เป็นที่นิยมมากเท่าเมื่อก่อน ซึ่งการจัดฟันด้านในมีข้อดีคือไม่เห็นเครื่องมือจัดฟัน แต่มีราคาแพงกว่า และยังอาจใช้เวลาในการจัดฟันนานกว่าด้วย โดยเฉพาะการจัดให้ฟันที่ยื่นหุบลงนั้น ถ้าจัดฟันด้านนอกจะอาศัยแรงดันของการคลายลวดให้ฟันหุบเข้าไปด้านใน แต่การจัดฟันด้านในจะกลายเป็นอาศัยแรงดึง ซึ่งการดันจากด้านนอกจะช่วยให้ฟันเข้าเร็วกว่า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายหลังการจัดฟันจนเข้าที่เรียงตัวตามปกติเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะถอดอุปกรณ์การจัดฟันออกและใส่เครื่องมือตัวใหม่ คือ เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือ รีเทนเนอร์ เนื่องจากกระดูกและเหงือกหุ้มฟันต้องใช้เวลาในการปรับสภาพเข้ากับตำแหน่งใหม่ ซึ่งการใส่รีเทนเนอร์จะต้องใส่ตลอดเวลา ยกเว้นขณะรับประทานอาหารและแปรงฟัน ซึ่งระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์ของแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ แต่ปัญหาที่พบมากคือ ผู้จัดฟันมักไม่ใส่รีเทนเนอร์อย่างต่อเนื่อง บางรายถอดรีเทนเนอร์เองเพราะคิดว่าฟันเข้าที่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่อีก ทำให้เกิดปัญหาฟันเคลื้อนตัวกลับตำแหน่งเดิม คือ ฟันห่าง หรืออาจเกิดปัญหาฟันล้มได้ ซึ่งปัจจุบันพบปัญหานี้มากขึ้น และต้องกลับมาจัดฟันใหม่
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า หลักการในการจัดฟันนั้น จะอาศัยแรงดึงจากยางดึงฟันในการเคลื่อนฟันแต่ละซี่ โดยเนื้อเยื่อที่ยึดรากฟันกับกระดูกเบ้าฟันจะเกิดการละลายและสร้างตัวใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป ระหว่างที่ฟันเคลื่อนที่ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการจัดฟันจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ซึ่งการไม่ใส่รีเทนเนอร์อย่างต่อเนื่อง หรือถอดรีเทนเนอร์ก่อนทันตแพทย์กำหนดจนต้องกลับมาจัดฟันใหม่นั้น ก็จะต้องดึงฟันเพื่อจัดฟันให้เข้าที่ใหม่ และเกิดกระบวนการละลายและสร้างใหม่ของเนื้อเยื่ออีกครั้ง ซึ่งการจัดฟันใหม่ครั้งที่ 2 อาจไม่เกิดผลกระทบต่อฟันมากนัก แต่หากผู้จัดฟันยังไม่มีวินัย ไม่ให้ความร่วมมือในการใส่รีเทนเนอร์จนเกดปัญหาต้องจัดฟันใหม่รอบ 3 - 4 ฟัน ก็จะเกิดปัญหาได้ ทั้งเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์ ฯลฯ ตามมาได้
“ปัจจุบันคนนิยมจัดฟันมากขึ้น อาจเนื่องด้วยอยากจัดฟันเพราะความสวย หรือบางคนมีปัญหาการเรียงตัวของฟันจริงๆ ก่อนการจัดฟันจึงควรปรึกษากับทันตแพทย์อย่างละเอียดถึงความจำเป็นในการจัดฟัน เพราะปัญหาฟันบางเรื่องไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาด้วยการจัดฟันเสมอไป ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยดูแลรักษาได้อีก ที่สำคัญอยากให้ทันตแพทย์แนะนำวิธีการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาฟันของผู้รับบริการแต่ละรายให้มากที่สุดด้วย” ทพ.อรรถพร กล่าว
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ส่วนกระแสความนิยมในการจัดฟันด้านใน พบว่า ไม่เป็นที่นิยมมากเท่าเมื่อก่อน ซึ่งการจัดฟันด้านในมีข้อดีคือไม่เห็นเครื่องมือจัดฟัน แต่มีราคาแพงกว่า และยังอาจใช้เวลาในการจัดฟันนานกว่าด้วย โดยเฉพาะการจัดให้ฟันที่ยื่นหุบลงนั้น ถ้าจัดฟันด้านนอกจะอาศัยแรงดันของการคลายลวดให้ฟันหุบเข้าไปด้านใน แต่การจัดฟันด้านในจะกลายเป็นอาศัยแรงดึง ซึ่งการดันจากด้านนอกจะช่วยให้ฟันเข้าเร็วกว่า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่