จับตาปรับสูตรยาพาราฯ เหลือ 325 มิลลิกรัม เหตุคนไทยใช้แต่ขนาด 500 มิลลิกรัม จนกลายเป็นกินยาเกินขนาดที่กำหนด ส่งผลต่อตับ อย. ระบุการขายยังต้องมีหลายขนาดเช่นเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาผู้ป่วย แต่เภสัชกรควรแนะนำก่อนใช้ ชี้ส่งหนังสือเวียนผู้ประกอบการรับฟังความเห็น
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีข้อเสนอในการปรับลดสูตรยาพาราเซตามอล เนื่องจากเกรงการรับประทานมากจะเป็นพิษต่อตับ ว่า ที่น่าเป็นห่วงคือคนไทยส่วนใหญ่ชินกับการใช้ยาพาราฯ ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ซึ่งมีการสั่งให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับยามากสุดถึง 12 เม็ด ทำให้เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดคือ ห้ามกินเกินวันละ 4,000 มิลลิกรัม หรือวันละ 8 เม็ด ซึ่งเรื่องนี้คณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์จะดำเนินการการทบทวนตำรับยาพาราฯ ที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ทั้งสูตรเดี่ยวและสูตรผสม ให้มีปริมาณยาพาราฯ ต่อเม็ดสอดคล้องกับเกณฑ์ ซึ่งอาจมีการทบทวนว่าจะอนุญาตให้ใช้ขนาด 500 มิลลิกรัมหรือไม่ หรือควรลดเหลือเพียง 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าควรหันมาคำนวณสูตรยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวมากกว่า
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ส่วนการทบทวนลดสูตรยาที่วางจำหน่ายในประเทศไทยคงแล้วแต่คณะอนุกรรมการฯจะพิจารณา แต่มองว่าการจำหน่ายยังต้องมีหลายขนาดเช่นเดิม เช่น 325 500 และ 650 มิลลิกรัมต่อเม็ด เพราะหากกำหนดให้เหลือเพียง 325 มิลลิกรัมต่อเม็ดเพียงอย่างเดียว อาจกระทบกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาพาราฯที่มากกว่า 325 มิลลิกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา เช่น หากจำเป็นต้องได้รับ 500 มิลลิกรัม ก็ต้องแบ่งเม็ดยาพาราฯ อีก เรื่องนี้จึงอยู่ที่เภสัชกรผู้จำหน่ายยาจะต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วยด้วย ว่าควรใช้ยาพาราฯ ขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสม สำหรับการจะทบทวนยกเลิกตำรับยาพาราฯ ชนิดหยดสำหรับทารกหรือไม่นั้นก็อยู่ที่อนุกรรมการฯ จะเป็นผู้พิจารณาเช่นกัน
“ขณะนี้คณะอนุกรรมการได้ทำหนังสือเวียนถึงผู้ประกอบการผลิตยาพาราเซตามอลในประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความเห็นต่อเรื่องฉลาก เอกสารกำกับ และคำเตือนของยาพาราเซตามอลยา โดยให้ส่งความเห็นกลับมายังสำนักยา อย. ภายในวันที่ 7 พ.ย. เพื่อพัฒนาปรับปรุงก่อนออกเป็นประกาศควบคุมต่อไป เนื่องจากเราต้องให้ผู้ประกอบการทราบว่า อย. เตรียมทบทวนเรื่องพวกนี้อยู่ ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมแล้ว ไม่อย่างนั้นจะเหมือนกับกรณียกระดับยาซูโดอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 แล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่พร้อมทำให้ยาค้างอยู่ในท้องตลาดค่อนข้างเยอะ จึงต้องให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าลดลงมาเหลือ 325 มิลลิกรัมแล้ว สูตร 500 มิลลิกรัมต้องไม่ค้างอยู่ในตลาดเยอะ” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีข้อเสนอในการปรับลดสูตรยาพาราเซตามอล เนื่องจากเกรงการรับประทานมากจะเป็นพิษต่อตับ ว่า ที่น่าเป็นห่วงคือคนไทยส่วนใหญ่ชินกับการใช้ยาพาราฯ ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ซึ่งมีการสั่งให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับยามากสุดถึง 12 เม็ด ทำให้เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดคือ ห้ามกินเกินวันละ 4,000 มิลลิกรัม หรือวันละ 8 เม็ด ซึ่งเรื่องนี้คณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์จะดำเนินการการทบทวนตำรับยาพาราฯ ที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ทั้งสูตรเดี่ยวและสูตรผสม ให้มีปริมาณยาพาราฯ ต่อเม็ดสอดคล้องกับเกณฑ์ ซึ่งอาจมีการทบทวนว่าจะอนุญาตให้ใช้ขนาด 500 มิลลิกรัมหรือไม่ หรือควรลดเหลือเพียง 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าควรหันมาคำนวณสูตรยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวมากกว่า
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ส่วนการทบทวนลดสูตรยาที่วางจำหน่ายในประเทศไทยคงแล้วแต่คณะอนุกรรมการฯจะพิจารณา แต่มองว่าการจำหน่ายยังต้องมีหลายขนาดเช่นเดิม เช่น 325 500 และ 650 มิลลิกรัมต่อเม็ด เพราะหากกำหนดให้เหลือเพียง 325 มิลลิกรัมต่อเม็ดเพียงอย่างเดียว อาจกระทบกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาพาราฯที่มากกว่า 325 มิลลิกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา เช่น หากจำเป็นต้องได้รับ 500 มิลลิกรัม ก็ต้องแบ่งเม็ดยาพาราฯ อีก เรื่องนี้จึงอยู่ที่เภสัชกรผู้จำหน่ายยาจะต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วยด้วย ว่าควรใช้ยาพาราฯ ขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสม สำหรับการจะทบทวนยกเลิกตำรับยาพาราฯ ชนิดหยดสำหรับทารกหรือไม่นั้นก็อยู่ที่อนุกรรมการฯ จะเป็นผู้พิจารณาเช่นกัน
“ขณะนี้คณะอนุกรรมการได้ทำหนังสือเวียนถึงผู้ประกอบการผลิตยาพาราเซตามอลในประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความเห็นต่อเรื่องฉลาก เอกสารกำกับ และคำเตือนของยาพาราเซตามอลยา โดยให้ส่งความเห็นกลับมายังสำนักยา อย. ภายในวันที่ 7 พ.ย. เพื่อพัฒนาปรับปรุงก่อนออกเป็นประกาศควบคุมต่อไป เนื่องจากเราต้องให้ผู้ประกอบการทราบว่า อย. เตรียมทบทวนเรื่องพวกนี้อยู่ ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมแล้ว ไม่อย่างนั้นจะเหมือนกับกรณียกระดับยาซูโดอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 แล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่พร้อมทำให้ยาค้างอยู่ในท้องตลาดค่อนข้างเยอะ จึงต้องให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าลดลงมาเหลือ 325 มิลลิกรัมแล้ว สูตร 500 มิลลิกรัมต้องไม่ค้างอยู่ในตลาดเยอะ” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่