ศธ. สั่งรวบรวมข้อมูลเด็กอัจฉริยะเพื่อทำเป็นข้อมูลและจัดระบบดูแลส่งเสริม ระบุหากพบเด็กขาดแคลนทุนทรัพย์ ก็พร้อมจัดสรรทุนการศึกษาช่วยเหลือ ระบุเป็นกำลังสำคัญพัฒนาประเทศในอนาคต ย้ำจะดูแลเด็กเก่งทั้งด้านวิชาการ ศิลปะ ดนตรี ยกเว้นกีฬา ที่มีกรมพลศึกษาดูแลอยู่
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้มอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพในการดูแลเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือ เด็กอัจฉริยะ ที่อยู่ในวัยเรียน เนื่องจากปัจจุบันไม่มีหน่วยงานหลักที่จะเป็นเจ้าภาพในการดูแลเด็กเหล่านี้ และเด็กกลุ่มนี้กระจัดกระจายอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงมูลนิธิต่างๆ อาทิ เด็กที่ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ก็อยู่ภายใต้การดูแลของ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ที่คอยให้การสนับสนุนทุนการศึกษา แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรม ที่ชัดเจน ดังนั้น จึงเห็นว่า ศธ. เองควรจะเป็นเจ้าภาพหลักดูแลเด็กเหล่านี้ รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพถึงที่สุด เพราะหากเด็กที่มีความสามารถพิเศษกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง เราเองก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพมาช่วยพัฒนาประเทศในอนาคตด้วย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ปัจจุบันไม่มีการรวบรวมข้อมูลเด็กกลุ่มนี้ไว้อย่างชัดเจน ว่า แต่ละคนอยู่ที่ไหนบ้าง ตนจึงมอบให้ สกศ. รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลเด็กอัจฉริยะกลุ่มนี้ที่อยู่ในทุกภาคส่วนเพื่อจะได้นำใช้เป็นข้อมูลสำหรับติดตามตัวเด็กและจัดระบบดูแลส่งเสริมให้เขาพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง มีศักยภาพยิ่งขึ้น และหากพบว่าเด็กรายใดมีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ เช่น ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อ ศธ. ก็จะเข้าไปช่วยในเรื่องนี้ โดยอาจใช้วิธีมอบทุนการศึกษา หรือเจรจากับสถานศึกษาที่เด็กเรียน เพื่อจัดหาทุนการศึกษาให้
“หลังจากสำรวจข้อมูลและจัดระบบในการดูแลเด็กที่มีความสามารถพิเศษแล้ว ศธ. จะเดินหน้าต่อด้วยการคิดรูปแบบกิจกรรม สำหรับค้นหาเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ยังซ่อนตัวอยู่ในภาคส่วนต่างๆ ด้วย อาทิ กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ เพื่อเฟ้นหาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ ศธ. จะเข้าไปดูแลนั้นไม่ใช่เพียงเด็กที่มีความสามารถทางวิชาการ เท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงเด็กที่มีความสามารถเฉพาะทางอื่นๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี ยกเว้นด้านกีฬา ซึ่งมีกรมพลศึกษาดูแลอยู่แล้ว”รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้มอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพในการดูแลเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือ เด็กอัจฉริยะ ที่อยู่ในวัยเรียน เนื่องจากปัจจุบันไม่มีหน่วยงานหลักที่จะเป็นเจ้าภาพในการดูแลเด็กเหล่านี้ และเด็กกลุ่มนี้กระจัดกระจายอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงมูลนิธิต่างๆ อาทิ เด็กที่ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ก็อยู่ภายใต้การดูแลของ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ที่คอยให้การสนับสนุนทุนการศึกษา แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรม ที่ชัดเจน ดังนั้น จึงเห็นว่า ศธ. เองควรจะเป็นเจ้าภาพหลักดูแลเด็กเหล่านี้ รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพถึงที่สุด เพราะหากเด็กที่มีความสามารถพิเศษกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง เราเองก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพมาช่วยพัฒนาประเทศในอนาคตด้วย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ปัจจุบันไม่มีการรวบรวมข้อมูลเด็กกลุ่มนี้ไว้อย่างชัดเจน ว่า แต่ละคนอยู่ที่ไหนบ้าง ตนจึงมอบให้ สกศ. รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลเด็กอัจฉริยะกลุ่มนี้ที่อยู่ในทุกภาคส่วนเพื่อจะได้นำใช้เป็นข้อมูลสำหรับติดตามตัวเด็กและจัดระบบดูแลส่งเสริมให้เขาพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง มีศักยภาพยิ่งขึ้น และหากพบว่าเด็กรายใดมีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ เช่น ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อ ศธ. ก็จะเข้าไปช่วยในเรื่องนี้ โดยอาจใช้วิธีมอบทุนการศึกษา หรือเจรจากับสถานศึกษาที่เด็กเรียน เพื่อจัดหาทุนการศึกษาให้
“หลังจากสำรวจข้อมูลและจัดระบบในการดูแลเด็กที่มีความสามารถพิเศษแล้ว ศธ. จะเดินหน้าต่อด้วยการคิดรูปแบบกิจกรรม สำหรับค้นหาเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ยังซ่อนตัวอยู่ในภาคส่วนต่างๆ ด้วย อาทิ กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ เพื่อเฟ้นหาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ ศธ. จะเข้าไปดูแลนั้นไม่ใช่เพียงเด็กที่มีความสามารถทางวิชาการ เท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงเด็กที่มีความสามารถเฉพาะทางอื่นๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี ยกเว้นด้านกีฬา ซึ่งมีกรมพลศึกษาดูแลอยู่แล้ว”รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่