รมว.แรงงาน มอบนโยบาย กสร. เร่งผลักดันภารกิจสำคัญ ย้ำ ปัญหาของกระทรวงเป็นปัญหาของชาติ เดินหน้ากฎกระทรวงฉบับ 10 คุ้มครองแรงงานประมงทะเล เกษตรกรรม วางระบบจัดการแรงงานไทยเปรียบเทียบนำเข้าต่างด้าว ไร้ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นที่ยอมรับต่อประชาชน
วันนี้ (3 ต.ค.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในการประชุมตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติราชการแก่ผู้บริหารและข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ว่า การมองประเด็นปัญหาต้องไม่มองเฉพาะมิติของกระทรวงหรือกรมเท่านั้น ต้องมองในมิติประเทศด้วย ซึ่งต้องมีความรอบคอบ รักษาภาพลักษณ์ขององค์กร ขณะเดียวกัน ต้องพิจารณาในเงื่อนไขต่างๆ ต้องไม่กระทบกับความเป็นมาตรฐานสากล
รมว.แรงงาน กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเรามีแรงงานต่างด้าวที่ดูแลอยู่ทั้งในระบบและนอกระบบ ทั้งที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมาย ดังนั้น ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จัดวางระบบฐานข้อมูลและสำรวจข้อมูลให้ชัดเจน ซึ่งรู้ว่ามีคนไทยทำงานอยู่เท่าไหร่ หากคนไทยไม่ทำ ต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาเท่าไหร่ ส่วนการทำงานของระบบแรงงานสัมพันธ์ ต้องเป็นไตรภาคี ต้องอยู่ตรงกลาง ขณะที่การปรับปรุงกฎหมายทั้ง ร่าง พ.ร.บ. และร่างกฎกระทรวงนั้น ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและเสนอนายกรัฐมนตรีทราบเพื่อขอความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา อย่างไรก็ตาม ประเด็นการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นองค์การมหาชนนั้นต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียในการจัดตั้งว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
“การโยกย้ายมีความสำคัญต่อข้าราชการเพราะคืออนาคต ผู้บริหารที่เข้าสู่ตำแหน่งแล้วต้องใช้อำนาจตรงนี้ให้เป็นธรรม เหมาะสม การที่จะให้สังคมเราดีหรือให้คนยอมรับกระทรวงแรงงาน ปัจจัยสำคัญมี 2 ประการ คือ ปัจจัยภายในองค์กร ทุกคนเชื่อมั่นในองค์กรของเราว่าเป็นองค์กรที่ดี ทุกคนอยู่มีความสุข ได้รับความเป็นธรรม มีความเอื้ออาทรต่อกัน และปัจจัยภายนอกเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือคน ซึ่งเนื้องานที่ทำอยู่ก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชน” รมว.แรงงาน กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ต.ค.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในการประชุมตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติราชการแก่ผู้บริหารและข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ว่า การมองประเด็นปัญหาต้องไม่มองเฉพาะมิติของกระทรวงหรือกรมเท่านั้น ต้องมองในมิติประเทศด้วย ซึ่งต้องมีความรอบคอบ รักษาภาพลักษณ์ขององค์กร ขณะเดียวกัน ต้องพิจารณาในเงื่อนไขต่างๆ ต้องไม่กระทบกับความเป็นมาตรฐานสากล
รมว.แรงงาน กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเรามีแรงงานต่างด้าวที่ดูแลอยู่ทั้งในระบบและนอกระบบ ทั้งที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมาย ดังนั้น ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จัดวางระบบฐานข้อมูลและสำรวจข้อมูลให้ชัดเจน ซึ่งรู้ว่ามีคนไทยทำงานอยู่เท่าไหร่ หากคนไทยไม่ทำ ต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาเท่าไหร่ ส่วนการทำงานของระบบแรงงานสัมพันธ์ ต้องเป็นไตรภาคี ต้องอยู่ตรงกลาง ขณะที่การปรับปรุงกฎหมายทั้ง ร่าง พ.ร.บ. และร่างกฎกระทรวงนั้น ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและเสนอนายกรัฐมนตรีทราบเพื่อขอความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา อย่างไรก็ตาม ประเด็นการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นองค์การมหาชนนั้นต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียในการจัดตั้งว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
“การโยกย้ายมีความสำคัญต่อข้าราชการเพราะคืออนาคต ผู้บริหารที่เข้าสู่ตำแหน่งแล้วต้องใช้อำนาจตรงนี้ให้เป็นธรรม เหมาะสม การที่จะให้สังคมเราดีหรือให้คนยอมรับกระทรวงแรงงาน ปัจจัยสำคัญมี 2 ประการ คือ ปัจจัยภายในองค์กร ทุกคนเชื่อมั่นในองค์กรของเราว่าเป็นองค์กรที่ดี ทุกคนอยู่มีความสุข ได้รับความเป็นธรรม มีความเอื้ออาทรต่อกัน และปัจจัยภายนอกเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือคน ซึ่งเนื้องานที่ทำอยู่ก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชน” รมว.แรงงาน กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่