ประธานชมรมแพทย์ชนบท เสนอ “หมอรัชตะ” ล้มนโยบายเขตสุขภาพ เหตุสวนทางนโยบายกระจายอำนาจ แนะใช้ระบบจีไอเอส เน้น เพิ่มศักยภาพ รพ.ชุมชน ให้มีแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคยากระดับต้น ลดการส่งต่อ รพ.จังหวัด
วันนี้ (27 ก.ย.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น และประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่า หนึ่งในข้อเรียกร้องของชมรมแพทย์ชนบทต่อนพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข (สธ.) คือ ขอให้มีการยกเลิกนโยบายเขตสุขภาพของ สธ. มาเป็นระบบจีไอเอส ซึ่งตนเป็นคนคิดขึ้นมาเองตั้งแต่ปี 2546 เนื่องจากเขตสุขภาพลักษณะที่ดำเนินการอยู่นี้แอบแฝงด้วยการรวบอำนาจ และแย่งชิงทรัพยากรไปอยู่ในส่วนกลางมากกว่า ไม่ใช่การจัดระบบบริการที่แท้จริง สวนทางกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระจายอำนาจและสร้างความเจริญไปสู่ชนบท
ทั้งนี้ ระบบจีไอเอสที่ตนวางไว้นั้น จะแบ่งการทำงานของสถานพยาบาลออกเป็น 3 ชั้น คือ 1. ชั้นต้นระบบสถานีอนามัยให้การดูแลสุขภาพเบื้องต้นไม่จำเป็นต้องมีแพทย์ไปประจำ มีเพียงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอัตราที่คิดตามรายหัวประชากร 2. ชั้นทุตยภูมิ ซึ่งคือ รพ.ชุมชน (รพช.) ควรจัดให้มีแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก เช่น กุมารแพทย์ อายุรแพทย์ 3. การรักษาโรคเฉพาะทาง ให้เป็นแพทย์ศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทย์ศัลยศาสตร์กระดูก สูตินรีแพทย์ เป็นต้น รวมถึงแพทย์สาขารองซึ่งมีอัตราการเจ็บป่วยไม่มาก เช่น แพทย์โสต ศอ นาสิก (ตา หู คอ จมูก) รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไปประจำจังหวัด คอยรับส่งต่อผู้ป่วยโรคยากๆ ที่ รพช. ไม่สามารถรักษาได้ เป็นต้น ตรงนี้จะช่วยลดความแออัดใน รพ.ใหญ่ๆ ได้มาก อย่างไรก็ตาม ในสภาพความเป็นจริงไม่ใช่ว่า รพช. ทุกแห่งจะสามารถดำเนินการได้ในแบบเดียวกัน จุดนี้ต้องพิจารณาถึงความพร้อมของพื้นที่ด้วย
“เมื่อแบ่งระบบแล้วก็ต้องไปพัฒนาที่ รพช. ให้มีแพทย์เฉพาะทาง มีเครื่องมือรองรับพอ เป็นการเติมสิ่งที่ขาดใน รพช. ให้สามารถบริการรักษาคนไข้ได้ เพื่อลดการหลั่งไหลเข้าไปที่ รพ.จังหวัด จนผู้ป่วยแออัด และถูกเอามาเป็นข้ออ้างให้ใช้มีการขยาย รพ. ให้ยิ่งไปกว่าเดิม ในขณะที่ รพช. ก็ยังขาดแคลนเหมือนเดิมยิ่งไปผูกโยงกับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายด้วย ยิ่งทำให้แพทย์ไม่อยากไปอยู่ในชนบท เพราะอยู่ในเมืองได้มากกว่าทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวและว่า ก่อนหน้าที่เข้าไปพบ นพ.รัชตะ ก็เห็นปัญหาควรได้รับการแก้ไข แต่เนื่องจากไม่มีเวลาจึงไม่ได้คุยในรายละเอียด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (27 ก.ย.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น และประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่า หนึ่งในข้อเรียกร้องของชมรมแพทย์ชนบทต่อนพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข (สธ.) คือ ขอให้มีการยกเลิกนโยบายเขตสุขภาพของ สธ. มาเป็นระบบจีไอเอส ซึ่งตนเป็นคนคิดขึ้นมาเองตั้งแต่ปี 2546 เนื่องจากเขตสุขภาพลักษณะที่ดำเนินการอยู่นี้แอบแฝงด้วยการรวบอำนาจ และแย่งชิงทรัพยากรไปอยู่ในส่วนกลางมากกว่า ไม่ใช่การจัดระบบบริการที่แท้จริง สวนทางกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระจายอำนาจและสร้างความเจริญไปสู่ชนบท
ทั้งนี้ ระบบจีไอเอสที่ตนวางไว้นั้น จะแบ่งการทำงานของสถานพยาบาลออกเป็น 3 ชั้น คือ 1. ชั้นต้นระบบสถานีอนามัยให้การดูแลสุขภาพเบื้องต้นไม่จำเป็นต้องมีแพทย์ไปประจำ มีเพียงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอัตราที่คิดตามรายหัวประชากร 2. ชั้นทุตยภูมิ ซึ่งคือ รพ.ชุมชน (รพช.) ควรจัดให้มีแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก เช่น กุมารแพทย์ อายุรแพทย์ 3. การรักษาโรคเฉพาะทาง ให้เป็นแพทย์ศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทย์ศัลยศาสตร์กระดูก สูตินรีแพทย์ เป็นต้น รวมถึงแพทย์สาขารองซึ่งมีอัตราการเจ็บป่วยไม่มาก เช่น แพทย์โสต ศอ นาสิก (ตา หู คอ จมูก) รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไปประจำจังหวัด คอยรับส่งต่อผู้ป่วยโรคยากๆ ที่ รพช. ไม่สามารถรักษาได้ เป็นต้น ตรงนี้จะช่วยลดความแออัดใน รพ.ใหญ่ๆ ได้มาก อย่างไรก็ตาม ในสภาพความเป็นจริงไม่ใช่ว่า รพช. ทุกแห่งจะสามารถดำเนินการได้ในแบบเดียวกัน จุดนี้ต้องพิจารณาถึงความพร้อมของพื้นที่ด้วย
“เมื่อแบ่งระบบแล้วก็ต้องไปพัฒนาที่ รพช. ให้มีแพทย์เฉพาะทาง มีเครื่องมือรองรับพอ เป็นการเติมสิ่งที่ขาดใน รพช. ให้สามารถบริการรักษาคนไข้ได้ เพื่อลดการหลั่งไหลเข้าไปที่ รพ.จังหวัด จนผู้ป่วยแออัด และถูกเอามาเป็นข้ออ้างให้ใช้มีการขยาย รพ. ให้ยิ่งไปกว่าเดิม ในขณะที่ รพช. ก็ยังขาดแคลนเหมือนเดิมยิ่งไปผูกโยงกับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายด้วย ยิ่งทำให้แพทย์ไม่อยากไปอยู่ในชนบท เพราะอยู่ในเมืองได้มากกว่าทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวและว่า ก่อนหน้าที่เข้าไปพบ นพ.รัชตะ ก็เห็นปัญหาควรได้รับการแก้ไข แต่เนื่องจากไม่มีเวลาจึงไม่ได้คุยในรายละเอียด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่