หึ่ง! ปลัด สธ. สั่งห้าม สสจ.ภาคใต้ประชุมร่วม สปสช. พบเวทีปฏิรูประบบหลักประกัน สสจ.-ผอ.รพศ. เข้าร่วมน้อย เว้น ผอ.รพช. ที่มาคึกคัก ภาคประชาชนเปิดข้อมูลคนใต้มีปัญหาเข้าถึงบริการหลายด้าน จี้แก้ไข เลขาธิการ สปสช. ระบุต้องอาศัยกลไก อปสข. เน้นกระจายอำนาจลงท้องถิ่น
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่โรงแรมลีการ์เดนท์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต (อปสข.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา ซึ่งก่อนการประชุมได้มีการยืนไว้อาลัยให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.นราธิวาส ที่ถูกยิงเสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบทางการเมืองด้วย
ทั้งนี้ นายชัยพร จันทร์หอม ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน โดยมีอัตราการเข้าถึงต่ำกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ แม้ว่าประชาชนไทยจะมีหลักประกันสุขภาพ คือ ไม่ต้องจ่ายเงินเมื่อไปรับการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิที่รัฐดูแลให้ แต่พื้นที่ภาคใต้ก็ยังพบปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิรูปเพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาได้รับการรักษาตามที่จำเป็นทันที ดังนี้ 1. ปัญหาการเข้าถึงบริการโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด 2. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 3. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนให้วัยรุ่นสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างเหมาะสม และป้องกันการทำแท้งเถื่อนที่พบว่ามีอัตราสูงเช่นกันตามมา
นายชัยพร กล่าวว่า 4. ปัญหาตาต้อกระจก เขต 12 สงขลา มีอัตราการเข้าถึงต่ำมากในอันดับท้ายๆ ของประเทศมาตลอด และ 5. สุขภาพช่องปาก เนื่องจากอัตราการมีฟันผุสูงกว่าเขตอื่นๆ ของประเทศ และพบการสูญเสียฟันสูงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่การได้รับการใส่ฟันปลอมในกลุ่มผู้สูงอายุนี้ยังค่อนข้างต่ำกว่าเป้าหมายมากพอสมควรในปีที่ผ่านมาเพียงร้อยละ 70 เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ให้บริการได้เพียงประมาณร้อยละ 55 ของเป้าหมายเท่านั้น
“จากปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขดังกล่าว และจากที่กระทรวงสาธารณสุขมีกลไกปฏิรูปแบบเขตสุขภาพ และ อปสข. ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เชื่อว่าน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น ผ่านกลไกด้านการเงินการคลังที่ สปสช. รับผิดชอบอยู่ ซึ่งอยากให้ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือเดินหน้าเพื่อให้ประชาชนในภาคใต้เข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น” นายชัยพร กล่าว
ด้าน นพ.วินัย กล่าวว่า ปัญหาสาธารณสุขในภาคใต้ สปสช. ตระหนักดีว่ายังมีการเข้าถึงในระดับที่ต่ำ กลไกที่ที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงได้คือ อปสข. แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อให้ อปสข. สามารถติดตามกำกับการเข้าถึงบริการของประชนในเขตรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น สปสช. จะมีการจัดเวทีการปฏิรูปโดยเน้นกลไก อปสข. โดยสัญจรไปยังภาคอื่นๆ เพื่อรวบรวมข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ ทำเป็นแผนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปคือ การทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น
“สปสช. ยึดหลักการแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขภายใต้เงื่อนไขที่เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยหลักการปฏิรูป คือ การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน และป้องกันการล้มละลายจากการเจ็บป่วยเป็นเป้าหมายหลัก โดยใช้ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจและความเข้มแข็ง อปสข. และเขตสุขภาพ การร่วมมือและบูรณาการกับทุกกองทุนสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การขยายและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ และเชื่อมประสานการทำงานกับ อปท. เพื่อการเข้าถึงบริการ และเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมดังกล่าวมีนายแพทย์ สสจ. ในพื้นที่ภาคใต้เข้าร่วมน้อยมาก ผอ.รพ.ชุมชนแห่งหนึ่งเปิดเผยว่า เป็นเพราะมีคำสั่งจากปลัด สธ. ไม่ให้เข้าร่วมเวทีการประชุมของ สปสช. ทั้งเวที อปสข. และเวทีรับฟังความคิดเห็น ทำให้การประชุมวันนี้ขาด นพ.สสจ. และ ผอ.รพ.ศูนย์หลายคน แต่ รพ.ชุมชน ยังคงยืนยันเข้าร่วม เพราะมีวาระสำคัญเกี่ยวกับ รพ. และผู้ป่วย และไม่เห็นด้วยที่มีคำสั่งห้ามไม่ให้เข้าร่วมประชุมจากผู้มีอำนาจ เพราะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ รพ. ขาดงบประมาณ
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่โรงแรมลีการ์เดนท์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต (อปสข.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา ซึ่งก่อนการประชุมได้มีการยืนไว้อาลัยให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.นราธิวาส ที่ถูกยิงเสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบทางการเมืองด้วย
ทั้งนี้ นายชัยพร จันทร์หอม ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน โดยมีอัตราการเข้าถึงต่ำกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ แม้ว่าประชาชนไทยจะมีหลักประกันสุขภาพ คือ ไม่ต้องจ่ายเงินเมื่อไปรับการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิที่รัฐดูแลให้ แต่พื้นที่ภาคใต้ก็ยังพบปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิรูปเพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาได้รับการรักษาตามที่จำเป็นทันที ดังนี้ 1. ปัญหาการเข้าถึงบริการโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด 2. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 3. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนให้วัยรุ่นสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างเหมาะสม และป้องกันการทำแท้งเถื่อนที่พบว่ามีอัตราสูงเช่นกันตามมา
นายชัยพร กล่าวว่า 4. ปัญหาตาต้อกระจก เขต 12 สงขลา มีอัตราการเข้าถึงต่ำมากในอันดับท้ายๆ ของประเทศมาตลอด และ 5. สุขภาพช่องปาก เนื่องจากอัตราการมีฟันผุสูงกว่าเขตอื่นๆ ของประเทศ และพบการสูญเสียฟันสูงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่การได้รับการใส่ฟันปลอมในกลุ่มผู้สูงอายุนี้ยังค่อนข้างต่ำกว่าเป้าหมายมากพอสมควรในปีที่ผ่านมาเพียงร้อยละ 70 เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ให้บริการได้เพียงประมาณร้อยละ 55 ของเป้าหมายเท่านั้น
“จากปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขดังกล่าว และจากที่กระทรวงสาธารณสุขมีกลไกปฏิรูปแบบเขตสุขภาพ และ อปสข. ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เชื่อว่าน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น ผ่านกลไกด้านการเงินการคลังที่ สปสช. รับผิดชอบอยู่ ซึ่งอยากให้ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือเดินหน้าเพื่อให้ประชาชนในภาคใต้เข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น” นายชัยพร กล่าว
ด้าน นพ.วินัย กล่าวว่า ปัญหาสาธารณสุขในภาคใต้ สปสช. ตระหนักดีว่ายังมีการเข้าถึงในระดับที่ต่ำ กลไกที่ที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงได้คือ อปสข. แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อให้ อปสข. สามารถติดตามกำกับการเข้าถึงบริการของประชนในเขตรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น สปสช. จะมีการจัดเวทีการปฏิรูปโดยเน้นกลไก อปสข. โดยสัญจรไปยังภาคอื่นๆ เพื่อรวบรวมข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ ทำเป็นแผนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปคือ การทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น
“สปสช. ยึดหลักการแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขภายใต้เงื่อนไขที่เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยหลักการปฏิรูป คือ การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน และป้องกันการล้มละลายจากการเจ็บป่วยเป็นเป้าหมายหลัก โดยใช้ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจและความเข้มแข็ง อปสข. และเขตสุขภาพ การร่วมมือและบูรณาการกับทุกกองทุนสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การขยายและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ และเชื่อมประสานการทำงานกับ อปท. เพื่อการเข้าถึงบริการ และเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมดังกล่าวมีนายแพทย์ สสจ. ในพื้นที่ภาคใต้เข้าร่วมน้อยมาก ผอ.รพ.ชุมชนแห่งหนึ่งเปิดเผยว่า เป็นเพราะมีคำสั่งจากปลัด สธ. ไม่ให้เข้าร่วมเวทีการประชุมของ สปสช. ทั้งเวที อปสข. และเวทีรับฟังความคิดเห็น ทำให้การประชุมวันนี้ขาด นพ.สสจ. และ ผอ.รพ.ศูนย์หลายคน แต่ รพ.ชุมชน ยังคงยืนยันเข้าร่วม เพราะมีวาระสำคัญเกี่ยวกับ รพ. และผู้ป่วย และไม่เห็นด้วยที่มีคำสั่งห้ามไม่ให้เข้าร่วมประชุมจากผู้มีอำนาจ เพราะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ รพ. ขาดงบประมาณ