กรรมการ สปสช. จี้ปลัด สธ. แสดงความรับผิดชอบ ฐานปล่อยมีการสรุปประชุมให้มีการร่วมจ่าย จวกคิดยกเลิกกองทุนย่อย จี้เรียกประชุมบอร์ด สปสช. อนุมัติสิทธิประโยชน์ ด้านกลุ่มคนรักหลักประกัน พร้อมหยุดโจมตี ขอดูเอกสารจริงหากพบไม่มีการเสนอร่วมจ่าย เสนอระบุรัฐธรรมนูญมีกองทุนเดียว ลดเหลื่อมล้ำ ด้านแพทย์ชนบทบอก สธ. หยุดวางยา คสช.
นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปฏิเสธไม่ได้มีการเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการบังคับให้ประชาชนร่วมจ่ายในการรักษาพยาบาลสิทธิกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่า ปลัด สธ. ต้องรับผิดชอบกับรายงานการประชุมที่ออกมา เพราะปลัด สธ. เป็นหนึ่งในบอร์ด สปสช. และเป็นประธานโดยตำแหน่ง ซึ่งทราบมติชัดเจนว่า ระบบฯจะไม่บังคับประชาชนร่วมจ่ายในการรักษาพยาบาล (co-pay) ปลัด สธ.มีหน้าที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ประชาชน เหตุใดจึงปล่อยให้มีการสรุปการประชุมเช่นนี้ นอกจากนี้ ขอให้ปลัด สธ.หยุดแสดงความเห็นตื้นๆ โดยไม่มีหลักการดังเช่นที่เสนอให้ยุบกองทุนย่อย
“ถ้าไม่มีกองทุนย่อยต่างๆ สถานบริการจะรับภาระไหวหรือไม่ ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,500 คน อาทิ รพ.นพรัตน์ราชธานี รพ.เลิดสิน รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ หรือโรงพยาบาลชุมชนที่ดูแลผู้ติดเชื้อเกือบพันราย ค่ารักษาพยาบาลส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าเหมาจ่ายรายหัวที่โรงพยาบาลได้รับ หากไม่มีกองทุนเอดส์ส่งเงินตรงเข้าไปที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลก็จะรับภาระไม่ไหว กองทุนย่อยต่างๆ ในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีที่มาที่ไปจากความพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตคือ โรงพยาบาลจะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย จึงพยายามปฏิเสธการรักษา หรือส่งต่อคนไข้ไปรักษาที่อื่น กองทุนย่อยจึงเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงและแบ่งเบาภาระของระบบบริการ ทำไมปลัด สธ. จึงมีความคิดตื้นๆปราศจากวิสัยทัศน์ที่จะยุบกองทุนเหล่านี้” นายนิมิตร์ กล่าว
นายนิมิตร์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ ปลัด สธ. ควรทำคือเรียกประชุมบอร์ด สปสช. หลังจากที่ไม่ยอมเรียกประชุมมา 2 เดือน เพราะทำให้ไม่สามารถอนุมัติสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ได้ ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาส ทั้งนี้ รายการบัญชียา จ.2 ที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาได้อนุมัติแล้ว แต่ผู้ป่วยยังเบิกจ่ายไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างรอบอร์ด สปสช. พิจารณาเข้าระบบ ประกอบไปด้วย ยารักษามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก Tastuzumab, ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี Peginterferon, ยารักษามะเร็งเม็ดเลือด Nilotinib, ยารักษามะเร็งเม็ดเลือด Dasatinib และยากำพร้า Dacarbazine ที่ใช้รักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin’s disease)
ด้าน น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ปลัด สธ. ต้องสั่งให้มีการตรวจสอบ ไม่ใช่แค่ปัดความรับผิดชอบ และเสนอให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ฝ่ายสังคมจิตวิทยา นำเอาเอกสารตัวจริงมาเผยแพร่ หากไม่เป็นความจริง ทางกลุ่มคนรักหลักประกันจะยอมหยุดวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นนี้ ทั้งนี้ กลุ่มคนรักหลักประกันขอเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญให้มีกองทุนเดียว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ไม่ต้องร่วมจ่าย เพราะประชาชนจ่ายผ่านภาษีแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สรุปผลการประชุมดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้จัดส่งออกไปยังหัวหน้าหน่วยงานที่ได้มาเข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา เอกสารสรุปการประชุมมีทั้งสิ้น 9 หน้า ประเด็นการร่วมจ่าย (co-pay) ปรากฏอยู่ในหน้าที่ 9 ของรายงาน
ขณะที่เฟซบุ๊กแฟนเพจชมรมแพทย์ชนบท ได้โพสต์จุดยืนคัดค้านการบังคับร่วมจ่าย (co-pay) ดังนี้
“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือรัฐสวัสดิการอย่างหนึ่ง เหมือนรถเมล์ คนรวยมีสิทธิ์ขึ้นไหมครับ ก่อนขึ้นต้องดูบัตรประชาชนไหมว่าสิทธิ์อะไร ข้าราชการ คนในระบบประกันสังคมขึ้นไหมครับ แล้วมีใครต้องร่วมจ่ายไหมครับ และการใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ คนรวยคนจนเสียอัตราเดียวกันไหมครับ คนจนก็เสียภาษีเท่าที่ระบบกำหนดนะครับ ภาษีทั่วไป ข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยดก็มี vat (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) นะครับ ใครใช้มากจ่ายมาก คนจนก็จ่าย คนชั้นกลางก็จ่าย คนรวยก็จ่าย สิทธิขั้นพื้นฐานจึงควรได้รับ และเป็นหน้าที่รัฐที่จะกำหนดนโยบายว่า ภาษีของประเทศควรใช้ด้านใดสัดส่วนเท่าไร และจะบริหารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด
วันนี้พิสูจน์แล้ว หากให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของเงินภาษี มาร่วมกำหนดทิศทางต่อรองกับผู้ให้บริการ เงินเท่ากันบริการได้แยะเลยนะครับ เทียบไม่ติดกับตอนที่กระทรวงสาธารณสุขรับเงินเองบริการเอง กำหนดสิทธิประโยชน์เองแล้วก็ท่องคาถาเงินไม่พออย่างเดียว
10 ปีนี้ ต้อกระจกถูกผ่าให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตในการมองเห็นหายตาบอดเกือบล้านคน สมัยก่อนตอน สธ. ถือเงินเอง อ้างเงินไม่พอไม่คุ้มครองสิทธิ์ ผ่าแล้วคนไข้ไม่มีจ่ายในรพ.รัฐ ผ่าควักออกมาใหม่อ้างว่าเลนส์นั้นเป็นเลนส์ส่วนตัวของหมอครับ เงินเท่าเดิมประชาชนเห็นคุณค่าไปต่อรองราคายาเอดส์จากรักษาได้ร้อยคนเป็นแสนคน เดิมขายวัวควายที่นามาล้างไต รักษามะเร็งล้มละลายหมด กว่าหลายหมื่นครอบครัว ตอนนี้ รพ.ชุมชนล้างไตได้มากมาย คนจนไม่ต้องเสียค่าเดินทาง
สธ. หยุดวางยา คสช. ได้แล้ว หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ใช่ผลไม้พิษของทักษิณ แต่เป็นรัฐสวัสดิการที่ประชาชนคนไทยเรียกร้องขอกันมา แต่ทักษิณซื้อนโยบายนี้เท่านั้น ที่สำคัญ co-pay, p4p, moc, fte, ก็คือผลไม้พิษที่หมอประดิษฐ (สินธวณรงค์) เสนอ และ สธ.เอามาเสนอต่อ แต่ไปไม่สำเร็จเพราะ รพช. (โรงพยาบาลชุมชน) และประชาชนต่อต้าน หาก คสช. ทำตามก็ตกหลุมพรางทำสิ่งที่รัฐบาลที่แล้วอยากทำแต่ไม่สำเร็จ
ระวังเขาจะบอกทักษิณคิด คสช. ทำร้ายประชาชนครับ”
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปฏิเสธไม่ได้มีการเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการบังคับให้ประชาชนร่วมจ่ายในการรักษาพยาบาลสิทธิกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่า ปลัด สธ. ต้องรับผิดชอบกับรายงานการประชุมที่ออกมา เพราะปลัด สธ. เป็นหนึ่งในบอร์ด สปสช. และเป็นประธานโดยตำแหน่ง ซึ่งทราบมติชัดเจนว่า ระบบฯจะไม่บังคับประชาชนร่วมจ่ายในการรักษาพยาบาล (co-pay) ปลัด สธ.มีหน้าที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ประชาชน เหตุใดจึงปล่อยให้มีการสรุปการประชุมเช่นนี้ นอกจากนี้ ขอให้ปลัด สธ.หยุดแสดงความเห็นตื้นๆ โดยไม่มีหลักการดังเช่นที่เสนอให้ยุบกองทุนย่อย
“ถ้าไม่มีกองทุนย่อยต่างๆ สถานบริการจะรับภาระไหวหรือไม่ ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,500 คน อาทิ รพ.นพรัตน์ราชธานี รพ.เลิดสิน รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ หรือโรงพยาบาลชุมชนที่ดูแลผู้ติดเชื้อเกือบพันราย ค่ารักษาพยาบาลส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าเหมาจ่ายรายหัวที่โรงพยาบาลได้รับ หากไม่มีกองทุนเอดส์ส่งเงินตรงเข้าไปที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลก็จะรับภาระไม่ไหว กองทุนย่อยต่างๆ ในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีที่มาที่ไปจากความพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตคือ โรงพยาบาลจะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย จึงพยายามปฏิเสธการรักษา หรือส่งต่อคนไข้ไปรักษาที่อื่น กองทุนย่อยจึงเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงและแบ่งเบาภาระของระบบบริการ ทำไมปลัด สธ. จึงมีความคิดตื้นๆปราศจากวิสัยทัศน์ที่จะยุบกองทุนเหล่านี้” นายนิมิตร์ กล่าว
นายนิมิตร์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ ปลัด สธ. ควรทำคือเรียกประชุมบอร์ด สปสช. หลังจากที่ไม่ยอมเรียกประชุมมา 2 เดือน เพราะทำให้ไม่สามารถอนุมัติสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ได้ ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาส ทั้งนี้ รายการบัญชียา จ.2 ที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาได้อนุมัติแล้ว แต่ผู้ป่วยยังเบิกจ่ายไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างรอบอร์ด สปสช. พิจารณาเข้าระบบ ประกอบไปด้วย ยารักษามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก Tastuzumab, ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี Peginterferon, ยารักษามะเร็งเม็ดเลือด Nilotinib, ยารักษามะเร็งเม็ดเลือด Dasatinib และยากำพร้า Dacarbazine ที่ใช้รักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin’s disease)
ด้าน น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ปลัด สธ. ต้องสั่งให้มีการตรวจสอบ ไม่ใช่แค่ปัดความรับผิดชอบ และเสนอให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ฝ่ายสังคมจิตวิทยา นำเอาเอกสารตัวจริงมาเผยแพร่ หากไม่เป็นความจริง ทางกลุ่มคนรักหลักประกันจะยอมหยุดวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นนี้ ทั้งนี้ กลุ่มคนรักหลักประกันขอเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญให้มีกองทุนเดียว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ไม่ต้องร่วมจ่าย เพราะประชาชนจ่ายผ่านภาษีแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สรุปผลการประชุมดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้จัดส่งออกไปยังหัวหน้าหน่วยงานที่ได้มาเข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา เอกสารสรุปการประชุมมีทั้งสิ้น 9 หน้า ประเด็นการร่วมจ่าย (co-pay) ปรากฏอยู่ในหน้าที่ 9 ของรายงาน
ขณะที่เฟซบุ๊กแฟนเพจชมรมแพทย์ชนบท ได้โพสต์จุดยืนคัดค้านการบังคับร่วมจ่าย (co-pay) ดังนี้
“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือรัฐสวัสดิการอย่างหนึ่ง เหมือนรถเมล์ คนรวยมีสิทธิ์ขึ้นไหมครับ ก่อนขึ้นต้องดูบัตรประชาชนไหมว่าสิทธิ์อะไร ข้าราชการ คนในระบบประกันสังคมขึ้นไหมครับ แล้วมีใครต้องร่วมจ่ายไหมครับ และการใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ คนรวยคนจนเสียอัตราเดียวกันไหมครับ คนจนก็เสียภาษีเท่าที่ระบบกำหนดนะครับ ภาษีทั่วไป ข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยดก็มี vat (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) นะครับ ใครใช้มากจ่ายมาก คนจนก็จ่าย คนชั้นกลางก็จ่าย คนรวยก็จ่าย สิทธิขั้นพื้นฐานจึงควรได้รับ และเป็นหน้าที่รัฐที่จะกำหนดนโยบายว่า ภาษีของประเทศควรใช้ด้านใดสัดส่วนเท่าไร และจะบริหารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด
วันนี้พิสูจน์แล้ว หากให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของเงินภาษี มาร่วมกำหนดทิศทางต่อรองกับผู้ให้บริการ เงินเท่ากันบริการได้แยะเลยนะครับ เทียบไม่ติดกับตอนที่กระทรวงสาธารณสุขรับเงินเองบริการเอง กำหนดสิทธิประโยชน์เองแล้วก็ท่องคาถาเงินไม่พออย่างเดียว
10 ปีนี้ ต้อกระจกถูกผ่าให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตในการมองเห็นหายตาบอดเกือบล้านคน สมัยก่อนตอน สธ. ถือเงินเอง อ้างเงินไม่พอไม่คุ้มครองสิทธิ์ ผ่าแล้วคนไข้ไม่มีจ่ายในรพ.รัฐ ผ่าควักออกมาใหม่อ้างว่าเลนส์นั้นเป็นเลนส์ส่วนตัวของหมอครับ เงินเท่าเดิมประชาชนเห็นคุณค่าไปต่อรองราคายาเอดส์จากรักษาได้ร้อยคนเป็นแสนคน เดิมขายวัวควายที่นามาล้างไต รักษามะเร็งล้มละลายหมด กว่าหลายหมื่นครอบครัว ตอนนี้ รพ.ชุมชนล้างไตได้มากมาย คนจนไม่ต้องเสียค่าเดินทาง
สธ. หยุดวางยา คสช. ได้แล้ว หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ใช่ผลไม้พิษของทักษิณ แต่เป็นรัฐสวัสดิการที่ประชาชนคนไทยเรียกร้องขอกันมา แต่ทักษิณซื้อนโยบายนี้เท่านั้น ที่สำคัญ co-pay, p4p, moc, fte, ก็คือผลไม้พิษที่หมอประดิษฐ (สินธวณรงค์) เสนอ และ สธ.เอามาเสนอต่อ แต่ไปไม่สำเร็จเพราะ รพช. (โรงพยาบาลชุมชน) และประชาชนต่อต้าน หาก คสช. ทำตามก็ตกหลุมพรางทำสิ่งที่รัฐบาลที่แล้วอยากทำแต่ไม่สำเร็จ
ระวังเขาจะบอกทักษิณคิด คสช. ทำร้ายประชาชนครับ”
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่