หมอชนบทเตรียมร่อนใบสั่งเลือกนายถึง คสช. ล็อกสเปกชัดคนมาเป็นผู้นำ สธ. ปฏิรูประบบสุขภาพ ต้องไม่มีพฤติกรรมต้องห้าม 10 ข้อ หวั่นสร้างความแตกแยกวงการสาธารณสุข ตั้งข้อสังเกตเป็นพฤติกรรมเคยใช้โจมตีปลัดณรงค์
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ ผอ.รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ อ.นาทวี จ.สงขลา อดีตแพทย์ชนบทดีเด่นศิริราชพยาบาล และผู้นำแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขณะนี้การแก้ไขปัญหาเพื่อปฏิรูปประเทศไทยนั้น เห็นว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่ได้พูดถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยตรง ชมรมแพทย์ชนบทจะร่วมกับภาคีต่างๆ จัดทำข้อเสนอให้กับ คสช. เพื่อให้ระบบสาธารณสุขมีการกระจายอำนาจให้หน่วยบริการต่างๆ ได้ใช้ศักยภาพและยึดโยงกับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งจะขอให้ คสช. คำนึงถึงผู้ที่จะเป็นผู้นำในการปฏิรูประบบสาธารณสุข ว่า จะต้องไม่เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมต้องห้าม 10 ทุรลักษณ์ เพราะจะทำให้เกิดความแตกแยก ระบบสุขภาพถอยหลังเข้าคลอง ประชาชนเดือดร้อนหนัก
นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผอ.รพ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า 10 ประการของผู้นำที่คนสาธารณสุขไม่ยอมรับ คือ 1. เคยเป็นเด็กสร้างของนักการเมืองที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการวิ่งเต้นเข้าหา เจ๊ ด หรือมีข่าวไปรายงานตัวที่ดูไบ 2. ขณะที่มีอำนาจได้กอดคอเป็นคู่หูดูโอ้กับนักการเมืองที่เป็นใหญ่ในรัฐบาลเดิม ผลักดันนโยบายทำลาย รพ.ชุมชน เพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจ รพ.เอกชนในเมืองใหญ่ สั่งเกณฑ์ม็อบวิชาชีพจาก รพ.ใหญ่ ทิ้งงานบริการประชาชนมาสนับสนุน เพิ่มความแตกแยกในระบบบริการสาธารณสุข 3. รับนโยบายทางการเมืองมุ่งทำลายระบบหลักประกันสุขภาพและหน่วยงานตระกูล ส. สร้างความปั่นป่วนในระบบสาธารณสุขของชาติ หยุดกระแสปฏิรูป หยุดทำซีแอลยา เอื้อประโยชน์กับบริษัทยาข้ามชาติ
4. ออกนโยบาย P4P สั่งให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกระดับเก็บแต้มผลงานประจำวัน แลกค่าตอบแทนน้อยนิด ทำลายระบบค่าตอบแทนเหมาจ่ายที่จูงใจให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ทำงานในชนบท จนถูกขึ้นป้ายคัดค้าน 5. ขัดขวางรถกู้ชีพของ รพ.ต่างๆ จากทุกภาค เพื่อช่วยดูแลการต่อสู้ของมวลมหาประชาชนที่ต้องเผชิญกับแก๊สน้ำตาและระเบิดเอ็ม 79 สั่งให้รถทุกคันจอดรอไว้ที่ สธ. หรือ รพ.สงฆ์ ที่ไม่ใช่จุดเกิดเหตุ 6. ร่วมกับผู้มีอำนาจทางการเมืองใน สธ. ทำลายภาพลักษณ์และงานขององค์การเภสัชกรรม ทำลายโรงงานผลิตวัคซีนของไทยที่ใกล้สร้างเสร็จ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทยาข้ามชาติ แต่งตั้งตัวเองและพวกพ้องเข้าเป็นบอร์ดและผู้บริหาร อภ. ทำให้ธุรกิจถูกกระทบอย่างหนัก ยอดจำหน่ายยาลดลง
7. เป็นนักฉวยโอกาสเปลี่ยนขั้วทางการเมือง เมื่อเห็นนักการเมืองที่ยึดเกาะกำลังจะหมดอำนาจลง ได้ประกาศตัวเป็นฮีโร่นำการปฏิรูป สธ. เอาผลงานที่เคยคัดค้าน เช่น การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การมีส่วนร่วมของประชาชน มาโฆษณาเป็นผลงานปฏิรูปของตัวเอง 8. เสนอแผนปฏิรูปสร้างเขตบริหารสุขภาพ ยึดอำนาจที่อดีตยาวนานเคยกระจายให้ นพ.สสจ. 76 จังหวัด ผอ.รพ. กว่า 1,000 แห่ง มารวมศูนย์ที่ผู้ตรวจราชการ 12 เขต เพื่อง่ายกับการสั่งการ และเปิดช่องให้เกิดการแสวงหาประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างได้ง่ายขึ้น 9. สั่งให้หน่วยบริการและเจ้าหน้าที่ไม่ให้ส่งข้อมูลการบริการ ไม่ให้เข้าร่วมงานและร่วมประชุมพัฒนางานกับ สปสช. โดยเอาผู้ป่วยเป็นตัวประกันเพื่อเป็นเกมต่อรองอำนาจของตน และ 10.ประกาศยุบบทบาทและดึงหน่วยงานตระกูล ส. อาทิ เช่น สปสช. สสส. สช. สพฉ. ให้กลับไปอยู่ภายใต้อำนาจ สธ. ยุติยุคการปฏิรูประบบสุขภาพที่ทำต่อเนื่องนับสิบๆ ปี แต่จะเปิดยุคความขัดแย้งครั้งใหญ่ในระบบสาธารณสุข
“เรื่องการปฏิรูปเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลต่อประชาชนทั้งประเทศ จึงต้องมีผู้นำที่ดีจึงจะสำเร็จและประชาชนได้ประโยชน์ ตรงกันข้ามถ้าได้คนที่บ้าอำนาจ อ่อนบริหาร ขาดวิชาการ ขาดความละอาย เปลี่ยนสีตามผู้มีอำนาจทางการเมือง กล้าใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง ไม่เอาน้อง หักหลังเพื่อน ทรยศนาย ถ้าคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ถูกเลือกใช้ ก็เป็นเวรเป็นกรรมของประชาชนและประเทศชาติ และจะมีการคัดค้าน เกิดความแตกแยกในระบบสาธารณสุขครั้งใหญ่อย่างแน่นอน" นพ.วชิระ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 10 พฤติกรรมที่ชมรมแพทย์ชนบทประกาศว่าไม่ต้องการให้มาเป็นผู้นำ สธ. และปฏิรูประบบสาธารณสุขนั้น ล้วนแต่เป็นประเด็นที่เคยใช้กล่าวหาและโจมตี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. มาก่อน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ ผอ.รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ อ.นาทวี จ.สงขลา อดีตแพทย์ชนบทดีเด่นศิริราชพยาบาล และผู้นำแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขณะนี้การแก้ไขปัญหาเพื่อปฏิรูปประเทศไทยนั้น เห็นว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่ได้พูดถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยตรง ชมรมแพทย์ชนบทจะร่วมกับภาคีต่างๆ จัดทำข้อเสนอให้กับ คสช. เพื่อให้ระบบสาธารณสุขมีการกระจายอำนาจให้หน่วยบริการต่างๆ ได้ใช้ศักยภาพและยึดโยงกับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งจะขอให้ คสช. คำนึงถึงผู้ที่จะเป็นผู้นำในการปฏิรูประบบสาธารณสุข ว่า จะต้องไม่เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมต้องห้าม 10 ทุรลักษณ์ เพราะจะทำให้เกิดความแตกแยก ระบบสุขภาพถอยหลังเข้าคลอง ประชาชนเดือดร้อนหนัก
นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผอ.รพ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า 10 ประการของผู้นำที่คนสาธารณสุขไม่ยอมรับ คือ 1. เคยเป็นเด็กสร้างของนักการเมืองที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการวิ่งเต้นเข้าหา เจ๊ ด หรือมีข่าวไปรายงานตัวที่ดูไบ 2. ขณะที่มีอำนาจได้กอดคอเป็นคู่หูดูโอ้กับนักการเมืองที่เป็นใหญ่ในรัฐบาลเดิม ผลักดันนโยบายทำลาย รพ.ชุมชน เพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจ รพ.เอกชนในเมืองใหญ่ สั่งเกณฑ์ม็อบวิชาชีพจาก รพ.ใหญ่ ทิ้งงานบริการประชาชนมาสนับสนุน เพิ่มความแตกแยกในระบบบริการสาธารณสุข 3. รับนโยบายทางการเมืองมุ่งทำลายระบบหลักประกันสุขภาพและหน่วยงานตระกูล ส. สร้างความปั่นป่วนในระบบสาธารณสุขของชาติ หยุดกระแสปฏิรูป หยุดทำซีแอลยา เอื้อประโยชน์กับบริษัทยาข้ามชาติ
4. ออกนโยบาย P4P สั่งให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกระดับเก็บแต้มผลงานประจำวัน แลกค่าตอบแทนน้อยนิด ทำลายระบบค่าตอบแทนเหมาจ่ายที่จูงใจให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ทำงานในชนบท จนถูกขึ้นป้ายคัดค้าน 5. ขัดขวางรถกู้ชีพของ รพ.ต่างๆ จากทุกภาค เพื่อช่วยดูแลการต่อสู้ของมวลมหาประชาชนที่ต้องเผชิญกับแก๊สน้ำตาและระเบิดเอ็ม 79 สั่งให้รถทุกคันจอดรอไว้ที่ สธ. หรือ รพ.สงฆ์ ที่ไม่ใช่จุดเกิดเหตุ 6. ร่วมกับผู้มีอำนาจทางการเมืองใน สธ. ทำลายภาพลักษณ์และงานขององค์การเภสัชกรรม ทำลายโรงงานผลิตวัคซีนของไทยที่ใกล้สร้างเสร็จ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทยาข้ามชาติ แต่งตั้งตัวเองและพวกพ้องเข้าเป็นบอร์ดและผู้บริหาร อภ. ทำให้ธุรกิจถูกกระทบอย่างหนัก ยอดจำหน่ายยาลดลง
7. เป็นนักฉวยโอกาสเปลี่ยนขั้วทางการเมือง เมื่อเห็นนักการเมืองที่ยึดเกาะกำลังจะหมดอำนาจลง ได้ประกาศตัวเป็นฮีโร่นำการปฏิรูป สธ. เอาผลงานที่เคยคัดค้าน เช่น การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การมีส่วนร่วมของประชาชน มาโฆษณาเป็นผลงานปฏิรูปของตัวเอง 8. เสนอแผนปฏิรูปสร้างเขตบริหารสุขภาพ ยึดอำนาจที่อดีตยาวนานเคยกระจายให้ นพ.สสจ. 76 จังหวัด ผอ.รพ. กว่า 1,000 แห่ง มารวมศูนย์ที่ผู้ตรวจราชการ 12 เขต เพื่อง่ายกับการสั่งการ และเปิดช่องให้เกิดการแสวงหาประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างได้ง่ายขึ้น 9. สั่งให้หน่วยบริการและเจ้าหน้าที่ไม่ให้ส่งข้อมูลการบริการ ไม่ให้เข้าร่วมงานและร่วมประชุมพัฒนางานกับ สปสช. โดยเอาผู้ป่วยเป็นตัวประกันเพื่อเป็นเกมต่อรองอำนาจของตน และ 10.ประกาศยุบบทบาทและดึงหน่วยงานตระกูล ส. อาทิ เช่น สปสช. สสส. สช. สพฉ. ให้กลับไปอยู่ภายใต้อำนาจ สธ. ยุติยุคการปฏิรูประบบสุขภาพที่ทำต่อเนื่องนับสิบๆ ปี แต่จะเปิดยุคความขัดแย้งครั้งใหญ่ในระบบสาธารณสุข
“เรื่องการปฏิรูปเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลต่อประชาชนทั้งประเทศ จึงต้องมีผู้นำที่ดีจึงจะสำเร็จและประชาชนได้ประโยชน์ ตรงกันข้ามถ้าได้คนที่บ้าอำนาจ อ่อนบริหาร ขาดวิชาการ ขาดความละอาย เปลี่ยนสีตามผู้มีอำนาจทางการเมือง กล้าใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง ไม่เอาน้อง หักหลังเพื่อน ทรยศนาย ถ้าคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ถูกเลือกใช้ ก็เป็นเวรเป็นกรรมของประชาชนและประเทศชาติ และจะมีการคัดค้าน เกิดความแตกแยกในระบบสาธารณสุขครั้งใหญ่อย่างแน่นอน" นพ.วชิระ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 10 พฤติกรรมที่ชมรมแพทย์ชนบทประกาศว่าไม่ต้องการให้มาเป็นผู้นำ สธ. และปฏิรูประบบสาธารณสุขนั้น ล้วนแต่เป็นประเด็นที่เคยใช้กล่าวหาและโจมตี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. มาก่อน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่