สมัชชาสุขภาพชงปฏิรูประบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งปฏิรูปประเทศ ขอรัฐบาลใหม่นำดำเนินการทันที เหตุผ่านความเห็นทุกภาคส่วนประชาชนแล้ว เสนอถ่ายโอนสถานีอนามัยของ สธ. ให้กับ อปท. ส่วนเขตบริการสุขภาพให้มีคณะกรรมการที่มาจากการมีส่วนร่วมในพื้นที่ ไม่ใช่หัวหน้าเขตเป็นผู้สั่งการเท่านั้น
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่อาคารอิมแพ็คฟอรัม เมืองทองธานี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แถลงข่าวการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอจากเครือข่ายสุขภาพทั่วประเทศ 10 ประเด็นเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้ประเด็นปฏิรูปประเทศไทยได้รับความสนใจมาก จึงได้มีการหารือถึงเรื่องนี้ โดยได้จัดทำเป็นข้อเสนอต่างๆ ที่มาจากมติที่ประชุมฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คน โดยมติดังกล่าวจะเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมพิจารณาในวันที่ 25 ก.ค. 2557 เพื่อนำข้อเสนอดังกล่าวไปใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรม
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการการดำเนินการประชุมวาระ “การปฏิรูประบบสุขภาพภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย” กล่าวว่า จากความต้องการการปฏิรูปประเทศในปัจจุบัน ที่ประชุมฯ จึงมีข้อเสนอให้ปฏิรูประบบสุขภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศด้วย โดยผลการพิจารณาคือ ขอให้รัฐบาลใหม่ นำกลไก และกระบวนการจากสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นจากเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศเข้าดำเนินการปฏิรูปประเทศ และขอให้นำมติจากการประชุมสมัชชาสุขภาพเข้าร่วมในการปฏิรูปประเทศด้วย เนื่องจากจะได้ดำเนินการได้ทันที เพราะผ่านมติจากเครือข่ายภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง
นพ.สุวิทย์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ประชุมมีมติ คือ ให้มีการปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพ โดยกระจายอำนาจและทรัพยากรให้ชุมชนจัดการตนเองในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและจัดการภัยคุกคามสุขภาพ ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ระบบสวัสดิการชุมชน รวมทั้งให้กำหนดแผนและขั้นตอนการถ่ายโอนสถานพยาบาลของรัฐให้ อปท. อาทิ สถานีอนามัย หรือปรับสถานบริการของรัฐให้ระบบการบริหารจัดการมีความคล่องตัวขึ้น
นพ.สุวิทย์ กล่าวด้วยว่า ส่วนที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัด 12 เขตบริการสุขภาพ ที่ประชุมมีข้อเสนอคือ แต่ละเขตบริการจะต้องมีคณะกรรมการที่มาจากการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ ระดับภาคประชาชนจริงๆ เป็นการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่ให้มีคนสั่งการเป็นหัวหน้าเขตบริการสุขภาพเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมปฏิรูปสุขภาพ มีการนำเสนอในเอกสารถึงการขอให้ทบทวนนโยบายความเป็นเลิศด้านบริการสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สุขภาพในภูมิภาคเอเชีย หรือ เมดิคัล ฮับ โดยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อคนไทย และให้มีมาตรการป้องกันผลกระทบจากบริการสุขภาพเชิงธุรกิจ เช่น มาตรการทางภาษีเพื่อนำมาจัดการผลกระทบ เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่อาคารอิมแพ็คฟอรัม เมืองทองธานี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แถลงข่าวการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอจากเครือข่ายสุขภาพทั่วประเทศ 10 ประเด็นเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้ประเด็นปฏิรูปประเทศไทยได้รับความสนใจมาก จึงได้มีการหารือถึงเรื่องนี้ โดยได้จัดทำเป็นข้อเสนอต่างๆ ที่มาจากมติที่ประชุมฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คน โดยมติดังกล่าวจะเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมพิจารณาในวันที่ 25 ก.ค. 2557 เพื่อนำข้อเสนอดังกล่าวไปใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรม
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการการดำเนินการประชุมวาระ “การปฏิรูประบบสุขภาพภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย” กล่าวว่า จากความต้องการการปฏิรูปประเทศในปัจจุบัน ที่ประชุมฯ จึงมีข้อเสนอให้ปฏิรูประบบสุขภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศด้วย โดยผลการพิจารณาคือ ขอให้รัฐบาลใหม่ นำกลไก และกระบวนการจากสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นจากเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศเข้าดำเนินการปฏิรูปประเทศ และขอให้นำมติจากการประชุมสมัชชาสุขภาพเข้าร่วมในการปฏิรูปประเทศด้วย เนื่องจากจะได้ดำเนินการได้ทันที เพราะผ่านมติจากเครือข่ายภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง
นพ.สุวิทย์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ประชุมมีมติ คือ ให้มีการปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพ โดยกระจายอำนาจและทรัพยากรให้ชุมชนจัดการตนเองในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและจัดการภัยคุกคามสุขภาพ ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ระบบสวัสดิการชุมชน รวมทั้งให้กำหนดแผนและขั้นตอนการถ่ายโอนสถานพยาบาลของรัฐให้ อปท. อาทิ สถานีอนามัย หรือปรับสถานบริการของรัฐให้ระบบการบริหารจัดการมีความคล่องตัวขึ้น
นพ.สุวิทย์ กล่าวด้วยว่า ส่วนที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัด 12 เขตบริการสุขภาพ ที่ประชุมมีข้อเสนอคือ แต่ละเขตบริการจะต้องมีคณะกรรมการที่มาจากการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ ระดับภาคประชาชนจริงๆ เป็นการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่ให้มีคนสั่งการเป็นหัวหน้าเขตบริการสุขภาพเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมปฏิรูปสุขภาพ มีการนำเสนอในเอกสารถึงการขอให้ทบทวนนโยบายความเป็นเลิศด้านบริการสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สุขภาพในภูมิภาคเอเชีย หรือ เมดิคัล ฮับ โดยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อคนไทย และให้มีมาตรการป้องกันผลกระทบจากบริการสุขภาพเชิงธุรกิจ เช่น มาตรการทางภาษีเพื่อนำมาจัดการผลกระทบ เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่