แรงงานจับมือคนรักหลักประกันฯ ท้วงประกันสังคมสิทธิรักษาพยาบาลห่วย ไม่เท่าเทียมสิทธิอื่น ร้องปลดล็อกสิทธิการรักษาต้องได้รับทันที ไม่ต้องรอจ่ายสมทบครบ 3 เดือน พร้อมจ่อยื่น 5 ประเด็นใหญ่ยกเลิกเพดานทำฟัน จำนวนการคลอดบุตร ไม่รักษาคนฆ่าตัวตายทำร้ายตัวเอง การบำบัดสารเสพติด และฮีโมฟีเลีย
วันนี้ (19 พ.ค.) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน และกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก แถลงข่าว “ร่วมสร้างระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว” เพื่อเดินหน้าปฏิรูประบบสุขภาพให้ผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดย นายสมพร ขวัญเนตร ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าวว่า ที่ผ่านมาสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนไม่มีความเท่าเทียมกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งที่เป็นคนกลุ่มเดียวกัน และยังต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลรายเดือนเข้ากองทุนประกันสังคมอยู่ จากการลงพื้นที่คุยกับพี่น้องในสหภาพมาตลอด 2 ปี พบว่า นอกจากเรื่องสิทธิประโยชน์ไม่เท่าเทียมแล้ว ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อคนและสิทธิต่างกันด้วย ทั้งนี้ ที่ยังเป็นปัญหาและพี่น้องแรงงานเสนอด่วนว่าควรต้องแก้ไขคือ เรื่องของการเข้าถึงสิทธิ เพราะติดล็อกที่ว่าต้องสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะได้รับสิทธิการรักษา และกรณีคลอดบุตรต้องสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน จึงจะได้รับสิทธิค่าคลอดเหมาจ่าย ทำให้คนที่ยังจ่ายสมทบไม่ครบไม่สามารถใช้สิทธิใดได้เลย สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ใช้ไม่ได้ สิทธิประกันสังคมก็ยังไม่ได้สิทธิ จึงอยากเรียกร้องให้สิทธิการรักษาพยาบาลเกิดขึ้นทันทีที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
นายสมพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ทางกลุ่มจะมีการยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการแพทย์ ในคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งมีอำนาจในการพิจารณาชุดสิทธิประโยชน์ ในอีก 5 ประเด็นใหญ่ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่คือ 1. ให้การคลอดเป็นการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องสำรองจ่าย และเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรเดิมให้คงไว้เป็นสิทธิที่ร่วมสมทบ ยกเลิกการจำกัดการคลอดได้ 2 ครั้ง 2. ยกเลิกการจำกัดสิทธิไม่รักษากรณีการทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย ไม่ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ ต้องรักษาทุกกรณี และต้องได้รับการชดเชยตามสิทธิกรณีตายที่ระบุไว้ในประกันสังคม 3. ต้องไม่กำหนดเพดานวงเงินและเงื่อนไขจำนวนครั้งต่อปีในการรักษาเกี่ยวกับฟัน ต้องเป็นไปตามความจำเป็น 4. ให้สิทธิการรักษากรณีการบำบัดสารเสพติดต่างๆ และ 5. พัฒนาสิทธิประโยชน์การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ให้ได้รับการบำบัดทดแทนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดอย่างโปรตีนแฟคเตอร์ที่เท่าเทียมเช่นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ที่ต้องเรียกร้องเพิ่มอีกคือผู้ประกันตนไม่ได้รับสิทธิการคุ้มครองเมื่อได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์เหมือนสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ ที่มีมาตรา 41 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 คุ้มครองอยู่ ผู้ประกันตนต้องไปฟ้องศาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งใช้เวลานานไม่ทันต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงต้องเรียกร้องให้มีการคุ้มครองสิทธิด้านนี้ให้ผู้ประกันตนด้วย ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นชุดสิทธิประโยชน์ได้ โดยอาจใช้รูปแบบเดียวกับหลักประกันสุขภาพฯที่ดึงจากเงินเหมาจ่ายรายหัวมาตั้งกองทุน โดยค่าชดเชยต่างๆ ควรจะต้องเท่ากับสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ อย่างไรก็ตาม ตรงนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ในระยะยาวควรมีการทำกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา โดยดึงเงินจากทุกสิทธิมาตั้งเป็นกองทุน และจะต้องได้รับเงินชดเชยที่มากกว่าเดิม เช่น กรณีตายจะต้องได้มากกว่า 4 แสนบาท เป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มการเข้าถึงบริการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพและวัยที่เหมาะสมด้วย
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว สมาชิกชมรมพิทักษ์สิทธิประกันตน กล่าวว่า การขับเคลื่อนการทำงานนั้นหลังจากที่ไปยื่นข้อเสนอตอคณะกรรมการการแพทย์ จะมีการติดตามเกาะติดเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดจนกว่าจะได้สิทธิ
วันนี้ (19 พ.ค.) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน และกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก แถลงข่าว “ร่วมสร้างระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว” เพื่อเดินหน้าปฏิรูประบบสุขภาพให้ผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดย นายสมพร ขวัญเนตร ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าวว่า ที่ผ่านมาสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนไม่มีความเท่าเทียมกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งที่เป็นคนกลุ่มเดียวกัน และยังต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลรายเดือนเข้ากองทุนประกันสังคมอยู่ จากการลงพื้นที่คุยกับพี่น้องในสหภาพมาตลอด 2 ปี พบว่า นอกจากเรื่องสิทธิประโยชน์ไม่เท่าเทียมแล้ว ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อคนและสิทธิต่างกันด้วย ทั้งนี้ ที่ยังเป็นปัญหาและพี่น้องแรงงานเสนอด่วนว่าควรต้องแก้ไขคือ เรื่องของการเข้าถึงสิทธิ เพราะติดล็อกที่ว่าต้องสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะได้รับสิทธิการรักษา และกรณีคลอดบุตรต้องสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน จึงจะได้รับสิทธิค่าคลอดเหมาจ่าย ทำให้คนที่ยังจ่ายสมทบไม่ครบไม่สามารถใช้สิทธิใดได้เลย สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ใช้ไม่ได้ สิทธิประกันสังคมก็ยังไม่ได้สิทธิ จึงอยากเรียกร้องให้สิทธิการรักษาพยาบาลเกิดขึ้นทันทีที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
นายสมพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ทางกลุ่มจะมีการยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการแพทย์ ในคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งมีอำนาจในการพิจารณาชุดสิทธิประโยชน์ ในอีก 5 ประเด็นใหญ่ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่คือ 1. ให้การคลอดเป็นการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องสำรองจ่าย และเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรเดิมให้คงไว้เป็นสิทธิที่ร่วมสมทบ ยกเลิกการจำกัดการคลอดได้ 2 ครั้ง 2. ยกเลิกการจำกัดสิทธิไม่รักษากรณีการทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย ไม่ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ ต้องรักษาทุกกรณี และต้องได้รับการชดเชยตามสิทธิกรณีตายที่ระบุไว้ในประกันสังคม 3. ต้องไม่กำหนดเพดานวงเงินและเงื่อนไขจำนวนครั้งต่อปีในการรักษาเกี่ยวกับฟัน ต้องเป็นไปตามความจำเป็น 4. ให้สิทธิการรักษากรณีการบำบัดสารเสพติดต่างๆ และ 5. พัฒนาสิทธิประโยชน์การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ให้ได้รับการบำบัดทดแทนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดอย่างโปรตีนแฟคเตอร์ที่เท่าเทียมเช่นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ที่ต้องเรียกร้องเพิ่มอีกคือผู้ประกันตนไม่ได้รับสิทธิการคุ้มครองเมื่อได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์เหมือนสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ ที่มีมาตรา 41 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 คุ้มครองอยู่ ผู้ประกันตนต้องไปฟ้องศาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งใช้เวลานานไม่ทันต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงต้องเรียกร้องให้มีการคุ้มครองสิทธิด้านนี้ให้ผู้ประกันตนด้วย ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นชุดสิทธิประโยชน์ได้ โดยอาจใช้รูปแบบเดียวกับหลักประกันสุขภาพฯที่ดึงจากเงินเหมาจ่ายรายหัวมาตั้งกองทุน โดยค่าชดเชยต่างๆ ควรจะต้องเท่ากับสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ อย่างไรก็ตาม ตรงนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ในระยะยาวควรมีการทำกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา โดยดึงเงินจากทุกสิทธิมาตั้งเป็นกองทุน และจะต้องได้รับเงินชดเชยที่มากกว่าเดิม เช่น กรณีตายจะต้องได้มากกว่า 4 แสนบาท เป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มการเข้าถึงบริการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพและวัยที่เหมาะสมด้วย
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว สมาชิกชมรมพิทักษ์สิทธิประกันตน กล่าวว่า การขับเคลื่อนการทำงานนั้นหลังจากที่ไปยื่นข้อเสนอตอคณะกรรมการการแพทย์ จะมีการติดตามเกาะติดเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดจนกว่าจะได้สิทธิ