ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ เบรกจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อ้างม็อบรอบทำเนียบ หวั่นไม่ปลอดภัย สช.พ้อไม่เป็นธรรม กระทบต่อการจัดงานเสียหายกว่า 10 ล้านบาท เผยเชิญวิทยากรต่างประเทศมาแล้ว ยันต้องจัดต่อ จ่อทำหนังสือร้องเลขาธิการยูเอ็น
ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) เปิดเผยว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 26-28 มี.ค.ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพฯ มีความจำเป็นต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากทาง UNCC อย่างกะทันหันในวันที่ 24 มี.ค.โดย UNCC อ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในส่วนที่อยู่ภายนอกศูนย์ประชุมฯ ทั้งที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คจ.สช.ได้จัดเตรียมความพร้อมทุกด้านไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว รวมทั้งมาตรการการรักษาความปลอดภัย และมีการเชิญภาคีเครือข่ายจากทั่วประเทศเข้าร่วมงาน 2,00 คน มีวิทยากรจากต่างประเทศที่ได้รับเชิญ เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วจำนวนหนึ่ง
ดร.ศิรินา กล่าวว่า การตัดสินใจของ UNCC กระทบต่อการทำงานของ คจ.สช.และภาคีเครือข่ายอย่างมาก เพราะเป็นการตัดสินอย่างกะทันหัน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับฝ่ายผู้จัดประชุม แม้ที่ผ่านมาทาง คจ.สช.และ สช.ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ในการเจรจาปรึกษาหารือ กับ UNCC เพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ และยกระดับการรักษาความปลอดภัย ในส่วนที่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถทำได้ ซึ่งการตัดสินใจของ UNCC ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
“หลังจากนี้ คจ.สช.จะได้มีการกำหนดวันเวลาและสถานที่ในการจัดงานให้ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบอีกครั้งโดยเร็วที่สุด โดยยืนยันว่าจะเดินหน้าจัดการประชุมฯ อย่างดีที่สุด พร้อมขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นด้วย” ดร.ศิรินา กล่าว
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.กล่าวว่า การไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่อย่างกะทันหัน ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อฝ่ายผู้จัดงาน ทั้งในรูปของงบประมาณเตรียมการในทุกด้าน รวมแล้วกว่า 10 ล้านบาท โดย สช.จะทำหนังสือไปถึงเลขาธิการสหประชาติ เพื่อให้รับทราบเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อให้มีการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานย่อยของสหประชาชาติที่อยู่ในไทย ทั้งที่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นกระบวนการสร้าง “สุขภาวะ” ของประชาชนทุกภาคส่วน ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน จัดประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง ขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายได้ทั้งหมด 51 เรื่อง
“เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับท่าทีของไทยต่อสหประชาชาติแต่อย่างใด องค์การสหประชาชาติยังคงเป็นองค์กรที่มีเกียรติ มีเครดิต ต่อการสร้างสันติภาพของโลกที่เราให้ความเชื่อมั่น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการบริหารของผู้รับผิดชอบที่ UNCC ประเทศไทย กับ สช.ซึ่งได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และเกิดความเสียหายอย่างมาก เราจึงต้องทำเรื่องร้องเรียนให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบเพื่อตรวจสอบและให้ความเป็นธรรม เพื่อรักษาชื่อเสียงขององค์การสหประชาชาติไว้ต่อไป” นพ.อำพล กล่าว
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษา คจ.สช.กล่าวว่า เป็นผู้ชวน คจ.สช.มาใช้ UNCC จัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2551 เรื่องที่เกิดขึ้น ตนได้มีส่วนร่วมในการเจรจาปรึกษาหารือ เรื่องการจัดระบบรักษาความปลอดภัยร่วมกัน ซึ่งน่าจะเป็นไปด้วยความราบรื่นไม่น่าจะเกิดปัญหาจากการตัดสินใจฝ่ายเดียวของผู้รับผิดชอบศูนย์การประชุมฯในเวลาฉุกละหุกเช่นนี้ ซึ่งเกิดผลกระทบอย่างมาก
ทั้งนี้ การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 มีหัวข้อการประชุมที่น่าสนใจรวมทั้งสิ้น 10 ระเบียบวาระ อาทิ ยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน, ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน, นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน เป็นต้น โดยล่าสุดได้มีการเพิ่มระเบียบวาระการประชุมเรื่อง การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนภายใต้สถานการณ์การปฏิรูปที่เกิดขึ้น
ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) เปิดเผยว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 26-28 มี.ค.ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพฯ มีความจำเป็นต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากทาง UNCC อย่างกะทันหันในวันที่ 24 มี.ค.โดย UNCC อ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในส่วนที่อยู่ภายนอกศูนย์ประชุมฯ ทั้งที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คจ.สช.ได้จัดเตรียมความพร้อมทุกด้านไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว รวมทั้งมาตรการการรักษาความปลอดภัย และมีการเชิญภาคีเครือข่ายจากทั่วประเทศเข้าร่วมงาน 2,00 คน มีวิทยากรจากต่างประเทศที่ได้รับเชิญ เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วจำนวนหนึ่ง
ดร.ศิรินา กล่าวว่า การตัดสินใจของ UNCC กระทบต่อการทำงานของ คจ.สช.และภาคีเครือข่ายอย่างมาก เพราะเป็นการตัดสินอย่างกะทันหัน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับฝ่ายผู้จัดประชุม แม้ที่ผ่านมาทาง คจ.สช.และ สช.ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ในการเจรจาปรึกษาหารือ กับ UNCC เพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ และยกระดับการรักษาความปลอดภัย ในส่วนที่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถทำได้ ซึ่งการตัดสินใจของ UNCC ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
“หลังจากนี้ คจ.สช.จะได้มีการกำหนดวันเวลาและสถานที่ในการจัดงานให้ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบอีกครั้งโดยเร็วที่สุด โดยยืนยันว่าจะเดินหน้าจัดการประชุมฯ อย่างดีที่สุด พร้อมขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นด้วย” ดร.ศิรินา กล่าว
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.กล่าวว่า การไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่อย่างกะทันหัน ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อฝ่ายผู้จัดงาน ทั้งในรูปของงบประมาณเตรียมการในทุกด้าน รวมแล้วกว่า 10 ล้านบาท โดย สช.จะทำหนังสือไปถึงเลขาธิการสหประชาติ เพื่อให้รับทราบเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อให้มีการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานย่อยของสหประชาชาติที่อยู่ในไทย ทั้งที่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นกระบวนการสร้าง “สุขภาวะ” ของประชาชนทุกภาคส่วน ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน จัดประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง ขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายได้ทั้งหมด 51 เรื่อง
“เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับท่าทีของไทยต่อสหประชาชาติแต่อย่างใด องค์การสหประชาชาติยังคงเป็นองค์กรที่มีเกียรติ มีเครดิต ต่อการสร้างสันติภาพของโลกที่เราให้ความเชื่อมั่น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการบริหารของผู้รับผิดชอบที่ UNCC ประเทศไทย กับ สช.ซึ่งได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และเกิดความเสียหายอย่างมาก เราจึงต้องทำเรื่องร้องเรียนให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบเพื่อตรวจสอบและให้ความเป็นธรรม เพื่อรักษาชื่อเสียงขององค์การสหประชาชาติไว้ต่อไป” นพ.อำพล กล่าว
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษา คจ.สช.กล่าวว่า เป็นผู้ชวน คจ.สช.มาใช้ UNCC จัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2551 เรื่องที่เกิดขึ้น ตนได้มีส่วนร่วมในการเจรจาปรึกษาหารือ เรื่องการจัดระบบรักษาความปลอดภัยร่วมกัน ซึ่งน่าจะเป็นไปด้วยความราบรื่นไม่น่าจะเกิดปัญหาจากการตัดสินใจฝ่ายเดียวของผู้รับผิดชอบศูนย์การประชุมฯในเวลาฉุกละหุกเช่นนี้ ซึ่งเกิดผลกระทบอย่างมาก
ทั้งนี้ การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 มีหัวข้อการประชุมที่น่าสนใจรวมทั้งสิ้น 10 ระเบียบวาระ อาทิ ยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน, ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน, นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน เป็นต้น โดยล่าสุดได้มีการเพิ่มระเบียบวาระการประชุมเรื่อง การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนภายใต้สถานการณ์การปฏิรูปที่เกิดขึ้น