ชมรมแพทย์ชนบทย้ำชัด เมินเรื่องค่าตอบแทนแล้ว ไม่ว่าผลออกมาเป็นเช่นไรก็ไม่สนใจ ยันขอเพียงไล่ “ประดิษฐ-ณรงค์” ออกไป แม้แต่รักษาการหลัง “ปู” ยุบสภาก็ไม่เอา เสนอหาคนกลางมาปฏิรูป สธ.ด้าน ปลัด สธ.ระบุใช้ประกาศเยียวยาค่าตอบแทนไปก่อน ขณะที่ สพศท.รับไม่ได้หากรัฐบาลใหม่ให้ใช้ค่าตอบแทนแบบเดิม “ประดิษฐ” โยน กกต.ตอบ ครม.มีสิทธิไฟเขียวโครงการที่ต่อเนื่องผูกพันหรือไม่
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เรื่องประกาศหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั้งเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับ 8 และการพิจารณาตามผลปฏิบัติงานและคุณภาพงาน (Pay for Performance : P4P) ฉบับ 9 จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ชมรมแพทย์ชนบทได้หารือกับบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ มีมติไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อีก เพราะมองว่าปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล คือ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ที่ปฏิรูป สธ.แบบผิดทิศผิดทาง รวมไปถึงเข้าแทรกแซงองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ไม่หวังผลกำไรในเรื่องการเข้าถึงยา และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดังนั้น เรื่องค่าตอบแทนจะออกมาอย่างไรจึงไม่สนใจ ขอเพียง นพ.ประดิษฐ และ นพ.ณรงค์ ลาออกจากตำแหน่ง แสดงความรับผิดชอบเรื่องนี้ แม้นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภา ก็ยังคงรักษาการได้ แต่ชมรมฯมองว่า ไม่ต้องการให้ นพ.ประดิษฐ และ นพ.ณรงค์ รักษาการอีก
“ชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่า ควรมีคนกลางมาดำรงตำแหน่งรักษาการ ที่ไม่ใช่ นพ.ประดิษฐ หรือ นพ.ณรงค์ เพราะไม่มีความชอบธรรมเรื่องนโยบายสาธารณสุข เราต้องการคนกลางมาปฏิรูปครั้งใหม่ โดย 1.ต้องปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในการรับบริการ และปฏิรูปการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจทางการเมือง อย่าให้การเมืองผูกขาดการทำงานต่างๆ ยิ่งในส่วนของข้าราชการประจำ 3.ปฏิรูปองค์กรอิสระ อย่างรัฐวิสาหกิจต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยเป็นเจ้าของประมาณ 50% ไม่ใช่ดึงคนของตนเอง เช่น อภ.ต้องให้ความเป็นอิสระ ไม่ใช่ไปควบคุมหรือยึดโดยมีคนของตนเข้าไป 4.ต้องปฏิรูปกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ใช่แค่การกวดวิชา หรือการวัดด้วยการสอบ แต่ต้องวัดจากความคิดเห็น และ 5.ปฏิรูปกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องไม่รวมศูนย์ แต่ต้องไปอยู่กับท้องถิ่น เป็นต้น” อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เรื่องค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ได้ปรับปรุงและต้องเสนอ ครม.พิจารณา แต่เมื่อมีการยุบสภา จึงยังไม่ทราบว่าจะผ่านการพิจารณาจาก ครม.อย่างไร ระหว่างนี้จึงขอให้มีการใช้ประกาศเยียวยาในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขต่างๆ ไปก่อน กล่าวคือ จ่ายเงินค่าตอบแทนกรณียังไม่มีการใช้ประกาศในรูปแบบเยียวยาผลกระทบไปก่อนนั่นเอง
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า หากสุดท้ายรักษาการ หรือรัฐบาลใหม่ตั้งใจจะปรับเปลี่ยนประกาศค่าตอบแทน แต่ให้ใช้ในรูปแบบเดิมที่มีกลุ่มหมอเรียกร้องมาตลอด ทางตนจะออกมาคัดค้าน เพราะประกาศดังกล่าวไม่เป็นธรรม มีช่องว่างระหว่างวิชาชีพ สิ่งสำคัญต้องรอดูว่ารัฐบาลใหม่จะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างไร
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวต้องเข้า ครม.ซึ่งต้องถามคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ครม.มีสิทธิในการดำเนินการโครงการที่ต่อเนื่องผูกพันหรือไม่ ซึ่งตนก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่ขณะนี้ใช้เบี้ยเลี้ยงตามเดิมที่ได้อนุมัติมาก่อนหน้านี้ ทุกอย่างก็ยังเดินหน้าตามปกติ แต่หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องถามไปยัง กกต.ในเรื่องอำนาจต่อไป
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เรื่องประกาศหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั้งเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับ 8 และการพิจารณาตามผลปฏิบัติงานและคุณภาพงาน (Pay for Performance : P4P) ฉบับ 9 จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ชมรมแพทย์ชนบทได้หารือกับบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ มีมติไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อีก เพราะมองว่าปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล คือ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ที่ปฏิรูป สธ.แบบผิดทิศผิดทาง รวมไปถึงเข้าแทรกแซงองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ไม่หวังผลกำไรในเรื่องการเข้าถึงยา และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดังนั้น เรื่องค่าตอบแทนจะออกมาอย่างไรจึงไม่สนใจ ขอเพียง นพ.ประดิษฐ และ นพ.ณรงค์ ลาออกจากตำแหน่ง แสดงความรับผิดชอบเรื่องนี้ แม้นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภา ก็ยังคงรักษาการได้ แต่ชมรมฯมองว่า ไม่ต้องการให้ นพ.ประดิษฐ และ นพ.ณรงค์ รักษาการอีก
“ชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่า ควรมีคนกลางมาดำรงตำแหน่งรักษาการ ที่ไม่ใช่ นพ.ประดิษฐ หรือ นพ.ณรงค์ เพราะไม่มีความชอบธรรมเรื่องนโยบายสาธารณสุข เราต้องการคนกลางมาปฏิรูปครั้งใหม่ โดย 1.ต้องปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในการรับบริการ และปฏิรูปการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจทางการเมือง อย่าให้การเมืองผูกขาดการทำงานต่างๆ ยิ่งในส่วนของข้าราชการประจำ 3.ปฏิรูปองค์กรอิสระ อย่างรัฐวิสาหกิจต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยเป็นเจ้าของประมาณ 50% ไม่ใช่ดึงคนของตนเอง เช่น อภ.ต้องให้ความเป็นอิสระ ไม่ใช่ไปควบคุมหรือยึดโดยมีคนของตนเข้าไป 4.ต้องปฏิรูปกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ใช่แค่การกวดวิชา หรือการวัดด้วยการสอบ แต่ต้องวัดจากความคิดเห็น และ 5.ปฏิรูปกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องไม่รวมศูนย์ แต่ต้องไปอยู่กับท้องถิ่น เป็นต้น” อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เรื่องค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ได้ปรับปรุงและต้องเสนอ ครม.พิจารณา แต่เมื่อมีการยุบสภา จึงยังไม่ทราบว่าจะผ่านการพิจารณาจาก ครม.อย่างไร ระหว่างนี้จึงขอให้มีการใช้ประกาศเยียวยาในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขต่างๆ ไปก่อน กล่าวคือ จ่ายเงินค่าตอบแทนกรณียังไม่มีการใช้ประกาศในรูปแบบเยียวยาผลกระทบไปก่อนนั่นเอง
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า หากสุดท้ายรักษาการ หรือรัฐบาลใหม่ตั้งใจจะปรับเปลี่ยนประกาศค่าตอบแทน แต่ให้ใช้ในรูปแบบเดิมที่มีกลุ่มหมอเรียกร้องมาตลอด ทางตนจะออกมาคัดค้าน เพราะประกาศดังกล่าวไม่เป็นธรรม มีช่องว่างระหว่างวิชาชีพ สิ่งสำคัญต้องรอดูว่ารัฐบาลใหม่จะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างไร
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวต้องเข้า ครม.ซึ่งต้องถามคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ครม.มีสิทธิในการดำเนินการโครงการที่ต่อเนื่องผูกพันหรือไม่ ซึ่งตนก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่ขณะนี้ใช้เบี้ยเลี้ยงตามเดิมที่ได้อนุมัติมาก่อนหน้านี้ ทุกอย่างก็ยังเดินหน้าตามปกติ แต่หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องถามไปยัง กกต.ในเรื่องอำนาจต่อไป