เผยรอบ 10 ปี “มะเร็งท่อน้ำดี” ปลิดชีพคนไทยวันละ 70 ราย พบมากในภาคอีสาน ชี้รักษาหายขาดได้ แนะพบแพทย์ก่อนลุกลาม สช. เตรียมบรรจุเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งเป้าเพิ่มผู้รอดชีวิตจาก 200 เป็น 3,000 รายต่อปี
รศ.ดร.บรรจบ ศรีภา หัวหน้าศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านการวิจัยและการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ข้อมูลของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อปี 2552 พบอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งตับท่อน้ำดี สูงที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็งต่างๆ ไม่ต่ำกว่าปีละ 25,000 ราย หรือประมาณ 60-70 รายต่อวัน นอกจากนี้ ยังพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในตับถึง 6 ล้านคน เฉพาะในภาคอีสานเกือบเต็มพื้นที่ แต่ในภาคอื่นๆ ก็พบเช่นเดียวกัน จึงอยากให้เข้าใจว่า พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่ของภาคใดภาคหนึ่ง ซึ่งมะเร็งตับมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งตับ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ของตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ที่เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุทางเดินน้ำดี โดยพบว่า 70% ของผู้ป่วยมะเร็งตับเป็นประเภทมะเร็งท่อน้ำดี
“ หากวิเคราะห์แล้วจะพบว่าปัญหาที่ยังไม่คลี่คลาย เนื่องจาก 1. ภาครัฐขาดความ ต่อเนื่องของนโยบาย 2. วัฒนธรรมของการรับประทานอาหารของคนภาคอีสาน ที่นิยมกินปลาสุกๆ ดิบๆ ยังมีอยู่มาก 3. พยาธิใบไม้ตับสามารถเพิ่มจำนวนได้ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม 4. ความตระหนักรู้ของคนในชุมชนยังมีน้อย” รศ.ดร.บรรจบ กล่าว
รศ.ดร.พวงรัตน์ ยงวณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปลาร้าถือเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคอีสาน จึงไม่อยากให้บอกเลิกหรือรณรงค์ว่าอย่ากินหรือห้ามกิน แต่ควรให้ความรู้ที่ถูกต้อง คือ สามารถทานได้แต่ต้องทำให้สุก และควรอธิบายว่าเมื่อหมักปลาร้าแล้ว จะเกิดเกลือขึ้น ถ้าหมักเกิน 6 เดือน พยาธิใบไม้ตับจะถูกเกลือฆ่าหมด แต่สิ่งที่น่ากังวลต่อมาคือพวก ปลาส้ม ลาบก้อย ที่ต้องให้ความรู้แตกต่างกันไปผู้ที่ติดพยาธิใบไม้ตับ 100 คน มีประมาณ 10 คนที่จะเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงให้ชัดเจน
ด้าน รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว กล่าวว่า หากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งจำนวน 2 หมื่นราย เป็นมะเร็งในท่อน้ำดีถึง 80% แต่สามารถรักษาหายได้เพียง 200 ราย คำถามคือเราจะคัดกรองผู้ป่วยตั้งแต่ต้นทางได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อสามารถรักษาได้ทันท่วงที เนื่องจากทุกวันนี้ โรคมะเร็งท่อน้ำดีสามารถผ่าตัดแล้วรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ในระยะที่ลุกลามมากแล้ว แต่ถ้ามาถึงมือแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกๆ จะผ่าตัดได้ง่ายกว่า
ด้าน นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ทุกวันนี้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพในกองทุนทั้ง 3 ระบบอยู่แล้ว ดังนั้น เรื่องค่ารักษาพยาบาลจึงไม่น่าเป็นห่วง ส่วนการให้ความรู้ก็มีงบประมาณในกองทุนสุขภาพตำบล อัตรา 45 บาทต่อหัวประชากรมาสนับสนุน ดังนั้น ถ้ามีการพูดคุยกันให้ชัดเจนและผลักดันให้นักการเมืองระดับท้องถิ่นเห็นด้วย เชื่อว่าจะเห็นทางออกของปัญหา ซึ่งตั้งเป้าหมายให้เป็นวาระแห่งชาติในระยะ 10 ปี ข้างหน้า จะไม่ให้เกิดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับรายใหม่ได้อีก และอีก 5 ปีข้างหน้า จะขับเคลื่อนเรื่องการรักษาพยาบาล ให้อัตราผู้ป่วยที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้น จากเดิมปีละ 200 ราย เป็น 3,000 ราย ดังนั้น จำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในลักษณะภาคีเครือข่าย และผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพระดับประเทศต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.ดร.บรรจบ ศรีภา หัวหน้าศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านการวิจัยและการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ข้อมูลของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อปี 2552 พบอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งตับท่อน้ำดี สูงที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็งต่างๆ ไม่ต่ำกว่าปีละ 25,000 ราย หรือประมาณ 60-70 รายต่อวัน นอกจากนี้ ยังพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในตับถึง 6 ล้านคน เฉพาะในภาคอีสานเกือบเต็มพื้นที่ แต่ในภาคอื่นๆ ก็พบเช่นเดียวกัน จึงอยากให้เข้าใจว่า พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่ของภาคใดภาคหนึ่ง ซึ่งมะเร็งตับมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งตับ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ของตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ที่เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุทางเดินน้ำดี โดยพบว่า 70% ของผู้ป่วยมะเร็งตับเป็นประเภทมะเร็งท่อน้ำดี
“ หากวิเคราะห์แล้วจะพบว่าปัญหาที่ยังไม่คลี่คลาย เนื่องจาก 1. ภาครัฐขาดความ ต่อเนื่องของนโยบาย 2. วัฒนธรรมของการรับประทานอาหารของคนภาคอีสาน ที่นิยมกินปลาสุกๆ ดิบๆ ยังมีอยู่มาก 3. พยาธิใบไม้ตับสามารถเพิ่มจำนวนได้ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม 4. ความตระหนักรู้ของคนในชุมชนยังมีน้อย” รศ.ดร.บรรจบ กล่าว
รศ.ดร.พวงรัตน์ ยงวณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปลาร้าถือเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคอีสาน จึงไม่อยากให้บอกเลิกหรือรณรงค์ว่าอย่ากินหรือห้ามกิน แต่ควรให้ความรู้ที่ถูกต้อง คือ สามารถทานได้แต่ต้องทำให้สุก และควรอธิบายว่าเมื่อหมักปลาร้าแล้ว จะเกิดเกลือขึ้น ถ้าหมักเกิน 6 เดือน พยาธิใบไม้ตับจะถูกเกลือฆ่าหมด แต่สิ่งที่น่ากังวลต่อมาคือพวก ปลาส้ม ลาบก้อย ที่ต้องให้ความรู้แตกต่างกันไปผู้ที่ติดพยาธิใบไม้ตับ 100 คน มีประมาณ 10 คนที่จะเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงให้ชัดเจน
ด้าน รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว กล่าวว่า หากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งจำนวน 2 หมื่นราย เป็นมะเร็งในท่อน้ำดีถึง 80% แต่สามารถรักษาหายได้เพียง 200 ราย คำถามคือเราจะคัดกรองผู้ป่วยตั้งแต่ต้นทางได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อสามารถรักษาได้ทันท่วงที เนื่องจากทุกวันนี้ โรคมะเร็งท่อน้ำดีสามารถผ่าตัดแล้วรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ในระยะที่ลุกลามมากแล้ว แต่ถ้ามาถึงมือแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกๆ จะผ่าตัดได้ง่ายกว่า
ด้าน นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ทุกวันนี้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพในกองทุนทั้ง 3 ระบบอยู่แล้ว ดังนั้น เรื่องค่ารักษาพยาบาลจึงไม่น่าเป็นห่วง ส่วนการให้ความรู้ก็มีงบประมาณในกองทุนสุขภาพตำบล อัตรา 45 บาทต่อหัวประชากรมาสนับสนุน ดังนั้น ถ้ามีการพูดคุยกันให้ชัดเจนและผลักดันให้นักการเมืองระดับท้องถิ่นเห็นด้วย เชื่อว่าจะเห็นทางออกของปัญหา ซึ่งตั้งเป้าหมายให้เป็นวาระแห่งชาติในระยะ 10 ปี ข้างหน้า จะไม่ให้เกิดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับรายใหม่ได้อีก และอีก 5 ปีข้างหน้า จะขับเคลื่อนเรื่องการรักษาพยาบาล ให้อัตราผู้ป่วยที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้น จากเดิมปีละ 200 ราย เป็น 3,000 ราย ดังนั้น จำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในลักษณะภาคีเครือข่าย และผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพระดับประเทศต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่