xs
xsm
sm
md
lg

ตั้งศูนย์อุบัติเหตุทุกเขตสุขภาพ ส่งแพทย์ถึงที่เกิดเหตุใน 10 นาที

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สธ. ตั้งศูนย์เชี่ยวชาญอุบัติเหตุทุกเขตสุขภาพ ช่วยผู้บาดเจ็บถึงมือแพทย์เร็วขึ้น พร้อมส่งทีมแพทย์ดูแลที่เกิดเหตุใน 10 นาที ส่งห้องฉุกเฉินรับผ่าตัดใน 30 นาที แนะใช้บริการสายด่วนกู้ชีพ 1669

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้ประชุมบุคลากรการแพทย์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ เรื่องการพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญสาขาอุบัติเหตุประจำเขตสุขภาพ ทั้ง 12 เขต และ กทม. ซึ่งเป็น 1 ใน 10 สาขาหลักตามแผนการพัฒนาระบบบริการของ สธ. ให้เป็นบริการแบบไร้รอยต่อ มีคุณภาพ มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีใกล้บ้าน อย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่การเจ็บป่วยเล็กน้อย จนถึงการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง จนอาการหายเป็นปกติ

นพ.วชิระ กล่าวว่า ในการจัดบริการด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน ได้ให้ทุกเขตบริการสุขภาพจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุประจำเขต เนื่องจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางจราจร มีอัตราเสียชีวิตสูงที่สุดในประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็น 38 ต่อประชากรแสนคน จึงต้องเร่งแก้ไขทั้งการป้องกันเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ และพัฒนาระบบบริการรักษา เพื่อให้ผู้บาดเจ็บเข้าถึงโรงพยาบาลได้ทันเวลาและปลอดภัย ได้มอบนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้เชื่อมโยงกัน 3 ระบบใหญ่คือ 1. ระบบบริการก่อนถึงโรงพยาบาลหรืออีเอ็มเอส (EMS.) ให้ประชาชนเข้าถึงบริการง่าย ทันเวลา และปลอดภัย โดยเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักและใช้บริการจากบุคลากรมืออาชีพ โดยแจ้งเหตุทางสายด่วนกู้ชีพหมายเลข 1669 ให้มากขึ้น และพัฒนารถพยาบาลกู้ชีพฉุกเฉินที่มีมาตรฐานระดับสูงเครื่องมือครบครัน ตั้งเป้าหมายทีมแพทย์ฉุกเฉินถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาที ให้ได้ร้อยละ 80 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป และจะมีการติดตามประเมินผลต่อเนื่อง

นพ.วชิระ กล่าวว่า 2. พัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลที่ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัดและห้องไอ.ซี.ยู.อย่างมีคุณภาพ ผู้บาดเจ็บทุกราย ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์พยาบาลที่ห้องฉุกเฉินรวดเร็ว และได้รับการผ่าตัดรวดเร็วภายใน 30 นาที โดยขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลขอนแก่น และราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ ผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินเพิ่มขึ้น โดยโรงพยาบาลขอนแก่นผลิตได้ปีละ 5 คน ส่วนโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลิตปีละ 3 คน จะเร่งหาแนวทางเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขานี้ให้มากกว่านี้ รวมทั้งมีระบบการสร้างขวัญกำลังใจของแพทย์ที่มีอยู่

นพ.วชิระ กล่าวว่า และ 3. การจัดเครือข่ายการบริหารจัดการ ให้พร้อมสนับสนุนการจัดบริการอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทั้งนี้ ได้ให้โรงพยาบาลต่างๆ นำหลักการพัฒนาระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการทุกสาขาให้เป็นรูปแบบเดียวกันอย่างครบวงจร ได้แก่ 1. ระบบบริการ 2. กำลังคนด้านสุขภาพ 3. ระบบข้อมูลข่าวสาร 4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ 5. แหล่งงบประมาณกลไกการเงินการคลัง 6. การอภิบาลระบบธรรมาภิบาล และ 7. การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการ ลดความเหลื่อมล้ำ ตอบสนองต่อความต้องการ ประชาชนเข้าถึงบริการแบบไร้รอย

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่





กำลังโหลดความคิดเห็น