สธ.ตั้งศูนย์รักษาโรคมะเร็งภาคอีสานเพิ่ม 2 แห่งที่ รพ.ขอนแก่น และ รพ.ร้อยเอ็ด หลังพบคร่าชีวิตคนในเขต 7 อันดับ 1 ป่วยใหม่ปีละ 4,000-5,000 ราย ฟุ้งช่วยลดคิวรอฉายแสงจาก 6-8 เดือน เหลือเพียง 1 เดือน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการตรวจเยี่ยม รพ.ร้อยเอ็ด เพื่อติดตามระบบการจัดบริการของเขตบริการสุขภาพที่ 7 เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า เขตนี้มีความก้าวหน้าในการบริหารและจัดระบบดูแลประชาชน ระหว่างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ถึงระดับเล็กสุด ที่สำคัญได้ใช้ข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรักษาผู้ป่วย นำไปสู่การจัดระบบการแก้ไขป้องกันในระดับพื้นที่ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วย เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนในเขตสูงเป็นอันดับ 1 ป่วยรายใหม่ปีละ 5,000-6,000 ราย พบมากอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี รองลงมาคือมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งปอด ผู้ป่วย 1 ใน 3 ไปพบแพทย์เมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามไปแล้ว ทำให้โอกาสการมีชีวิตรอดสั้นลง
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวมีศูนย์เชี่ยวชาญรักษาที่ ม.ขอนแก่น และที่ จ.อุบลราชธานี ทำให้ผู้ป่วยต้องรอคิวรักษานาน โดยเฉพาะการฉายแสงเฉลี่ยรายละ 6-8 เดือน บางรายอาจไม่ทันการ จึงได้วางแผนจัดบริการเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเร็วขึ้นและใกล้บ้าน โดยเพิ่มศูนย์เชี่ยวชาญรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด 2 แห่ง คือที่ รพ.ขอนแก่น เปิดบริการตั้งแต่ต้นปี 2557 ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดซื้อเครื่องฉายแสงรักษา วงเงินประมาณ 80 ล้านบาท คาดว่าจะติดตั้งและให้บริการสมบูรณ์แบบประมาณ ต.ค. 2557
และ รพ.ร้อยเอ็ด เน้นความเชี่ยวชาญรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีเป็นพิเศษ จะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงบริการรวดเร็วขึ้น รอคิวฉายแสงไม่เกิน 1 เดือน
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี สธ.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงสนพระทัยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมกินปลาน้ำจืดเกล็ดขาวดิบ และให้มีความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลร้อยเอ็ด กับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รวมทั้งการศึกษาวิจัยโรคมะเร็งตับเพื่อการป้องกันในระยะยาวต่อเนื่องร่วมกับประเทศสหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ อ.พนมไพร ผลการศึกษาเบื้องต้น โดยตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับจำนวน 14,000 ราย พบผู้ป่วยที่เริ่มมีความผิดปกติที่ตับ จำนวน 40 ราย และในปีนี้จะขยายศึกษาใน อ.โพนทอง อ.เมยวดี และ อ.โพธิ์ชัยด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มมีความผิดปกติที่เซลล์ และให้การรักษา ป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเดินหน้าจัดแผนการจัดบริการรักษาโรคที่ซับซ้อน ควบคู่ไปกับการป้องกันการป่วยจากโรคนั้นๆ ในระดับตำบลและระดับอำเภอไปพร้อมๆ กัน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการตรวจเยี่ยม รพ.ร้อยเอ็ด เพื่อติดตามระบบการจัดบริการของเขตบริการสุขภาพที่ 7 เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า เขตนี้มีความก้าวหน้าในการบริหารและจัดระบบดูแลประชาชน ระหว่างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ถึงระดับเล็กสุด ที่สำคัญได้ใช้ข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรักษาผู้ป่วย นำไปสู่การจัดระบบการแก้ไขป้องกันในระดับพื้นที่ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วย เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนในเขตสูงเป็นอันดับ 1 ป่วยรายใหม่ปีละ 5,000-6,000 ราย พบมากอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี รองลงมาคือมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งปอด ผู้ป่วย 1 ใน 3 ไปพบแพทย์เมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามไปแล้ว ทำให้โอกาสการมีชีวิตรอดสั้นลง
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวมีศูนย์เชี่ยวชาญรักษาที่ ม.ขอนแก่น และที่ จ.อุบลราชธานี ทำให้ผู้ป่วยต้องรอคิวรักษานาน โดยเฉพาะการฉายแสงเฉลี่ยรายละ 6-8 เดือน บางรายอาจไม่ทันการ จึงได้วางแผนจัดบริการเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเร็วขึ้นและใกล้บ้าน โดยเพิ่มศูนย์เชี่ยวชาญรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด 2 แห่ง คือที่ รพ.ขอนแก่น เปิดบริการตั้งแต่ต้นปี 2557 ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดซื้อเครื่องฉายแสงรักษา วงเงินประมาณ 80 ล้านบาท คาดว่าจะติดตั้งและให้บริการสมบูรณ์แบบประมาณ ต.ค. 2557
และ รพ.ร้อยเอ็ด เน้นความเชี่ยวชาญรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีเป็นพิเศษ จะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงบริการรวดเร็วขึ้น รอคิวฉายแสงไม่เกิน 1 เดือน
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี สธ.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงสนพระทัยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมกินปลาน้ำจืดเกล็ดขาวดิบ และให้มีความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลร้อยเอ็ด กับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รวมทั้งการศึกษาวิจัยโรคมะเร็งตับเพื่อการป้องกันในระยะยาวต่อเนื่องร่วมกับประเทศสหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ อ.พนมไพร ผลการศึกษาเบื้องต้น โดยตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับจำนวน 14,000 ราย พบผู้ป่วยที่เริ่มมีความผิดปกติที่ตับ จำนวน 40 ราย และในปีนี้จะขยายศึกษาใน อ.โพนทอง อ.เมยวดี และ อ.โพธิ์ชัยด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มมีความผิดปกติที่เซลล์ และให้การรักษา ป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเดินหน้าจัดแผนการจัดบริการรักษาโรคที่ซับซ้อน ควบคู่ไปกับการป้องกันการป่วยจากโรคนั้นๆ ในระดับตำบลและระดับอำเภอไปพร้อมๆ กัน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น