มะเร็งยังคร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 สธ.เผยคนไทยมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับมะเร็ง 4 เรื่อง จนเป็นอุปสรรคในการรณรงค์ป้องกันมะเร็ง ทั้งไม่กล้าพูดเรื่องมะเร็ง คิดว่าไม่มีสัญญาณเตือน ทั้งที่มีถึง 7 สัญญาณ เชื่อว่าเป็นโรคโชคชะตา ทั้งที่ป้องกันได้ และคิดว่าไม่มีสิทธิการรักษา ทั้งที่มีสามารถรับยารักษาได้ทั้ง 3 กองทุน
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก ว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 12.7 ล้านราย และเสียชีวิตปีละประมาณ 7.6 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นประชากรที่มีรายได้น้อย หรือปานกลาง ทั้งนี้ สถานการณ์ในไทยตั้งแต่ปี 2541 มะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 60,000 ราย โดยในเพศชายพบว่า ป่วยเป็นมะเร็งตับสูงสุด ส่วนในเพศหญิง ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงสุด และจะเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมประมาณ 8,000 รายต่อปี โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น
“จากปัญหาดังกล่าว สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ จึงได้มีการกำหนดนโยบายป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งระดับชาติ เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาของโรคมะเร็ง และหาแนวทางในการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดกิจกรรมนำรถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบดิจิตอลที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย และเป็นคันแรกของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้ได้ผลการตรวจที่มีความละเอียดสูง โดยการนำรถตรวจดังกล่าวมาให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่ผู้ต้องขังหญิงนั้น ก็เพื่อให้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ด้าน นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญในการรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็ง คือประชาชนส่วนหนึ่งมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับโรคมะเร็งใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.มีความเข้าใจผิด ไม่กล้าพูดเรื่องมะเร็งเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเศร้า ซึ่งที่จริงแล้วควรมีการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจโรคมะเร็งมากขึ้น เพื่อรู้วิธีดูแล และป้องกันตัวเอง 2.คิดว่ามะเร็งไม่มีสัญญาณเตือน ทั้งที่จริงแล้วมี 7 สัญญาณเตือน ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง แผลที่ไม่รู้จักหาย ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลุ้มใจเรื่องกลืนกินอาหาร ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดเปลี่ยนไป ไอและเสียงแหบเรื้อรัง 3.เชื่อว่ามะเร็งเป็นโรคโชคชะตาฟ้าลิขิตเป็นเรื่องของเวรกรรม แต่เรื่องจริงแล้วสามารถป้องกันได้จากการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผักผลไม้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของมื้ออาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ 4.คิดว่าไม่มีสิทธิในการรักษา ทั้งที่ปัจจุบันทุกสิทธิการรักษาสามารถได้รับการรักษาโรคมะเร็งได้ทุกคนทั้ง 3 กองทุน และหากรู้ว่าเป็นมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
นางกัญจน์รัชต์ แก้วจันทร์ ผอ.สถานพยาบาลทัณฑสถานหญิงกลาง กล่าวว่า สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ทัณฑสถานฯ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2555-มิ.ย.2556 นั้นพบป่วยทั้งสิ้น 23 ราย เป็นโรคมะเร็งเต้านม 9 ราย มะเร็งมดลูก 10 ราย มะเร็งรังไข่ 1 ราย มะเร็งที่แก้ม 2 ราย และมะเร็งลำไส้ 1 ราย ทั้งนี้ สำหรับการรักษานั้นทางทัณฑสถานฯ จะส่งผู้ป่วยมารักษาที่สถาบันมะเร็งโดยผู้ป่วยจะได้รับโอกาสในการรักษาเหมือนกับบุคคลทั่วไป
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก ว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 12.7 ล้านราย และเสียชีวิตปีละประมาณ 7.6 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นประชากรที่มีรายได้น้อย หรือปานกลาง ทั้งนี้ สถานการณ์ในไทยตั้งแต่ปี 2541 มะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 60,000 ราย โดยในเพศชายพบว่า ป่วยเป็นมะเร็งตับสูงสุด ส่วนในเพศหญิง ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงสุด และจะเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมประมาณ 8,000 รายต่อปี โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น
“จากปัญหาดังกล่าว สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ จึงได้มีการกำหนดนโยบายป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งระดับชาติ เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาของโรคมะเร็ง และหาแนวทางในการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดกิจกรรมนำรถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบดิจิตอลที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย และเป็นคันแรกของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้ได้ผลการตรวจที่มีความละเอียดสูง โดยการนำรถตรวจดังกล่าวมาให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่ผู้ต้องขังหญิงนั้น ก็เพื่อให้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ด้าน นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญในการรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็ง คือประชาชนส่วนหนึ่งมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับโรคมะเร็งใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.มีความเข้าใจผิด ไม่กล้าพูดเรื่องมะเร็งเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเศร้า ซึ่งที่จริงแล้วควรมีการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจโรคมะเร็งมากขึ้น เพื่อรู้วิธีดูแล และป้องกันตัวเอง 2.คิดว่ามะเร็งไม่มีสัญญาณเตือน ทั้งที่จริงแล้วมี 7 สัญญาณเตือน ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง แผลที่ไม่รู้จักหาย ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลุ้มใจเรื่องกลืนกินอาหาร ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดเปลี่ยนไป ไอและเสียงแหบเรื้อรัง 3.เชื่อว่ามะเร็งเป็นโรคโชคชะตาฟ้าลิขิตเป็นเรื่องของเวรกรรม แต่เรื่องจริงแล้วสามารถป้องกันได้จากการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผักผลไม้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของมื้ออาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ 4.คิดว่าไม่มีสิทธิในการรักษา ทั้งที่ปัจจุบันทุกสิทธิการรักษาสามารถได้รับการรักษาโรคมะเร็งได้ทุกคนทั้ง 3 กองทุน และหากรู้ว่าเป็นมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
นางกัญจน์รัชต์ แก้วจันทร์ ผอ.สถานพยาบาลทัณฑสถานหญิงกลาง กล่าวว่า สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ทัณฑสถานฯ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2555-มิ.ย.2556 นั้นพบป่วยทั้งสิ้น 23 ราย เป็นโรคมะเร็งเต้านม 9 ราย มะเร็งมดลูก 10 ราย มะเร็งรังไข่ 1 ราย มะเร็งที่แก้ม 2 ราย และมะเร็งลำไส้ 1 ราย ทั้งนี้ สำหรับการรักษานั้นทางทัณฑสถานฯ จะส่งผู้ป่วยมารักษาที่สถาบันมะเร็งโดยผู้ป่วยจะได้รับโอกาสในการรักษาเหมือนกับบุคคลทั่วไป