บอร์ด สปส.ไฟเขียวปรับเกณฑ์ขอผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาจากเดิมต้องเสนอให้บอร์ด กก.แพทย์อนุมัติเป็นให้ สปส.จังหวัด-กทม.พิจารณาอนุมัติได้เอง คาดเริ่มมีผลเดือน ต.ค.นี้ ขณะที่ กก.การแพทย์ออกประกาศเพิ่มสิทธิรักษาโรคมะเร็ง 10 ชนิดให้ รพ.จ่ายยา-ปรับเปลี่ยนสูตรได้ตามเหมาะสม
วันนี้ (24 ก.ย.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวหลังประชุมคณะกรรมการประกันสังคมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.เสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้แก่ผู้ประกันตน โดยลดขั้นตอนจากที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ต้องรวบรวมยอดผู้ประกันตนที่ขอผ่าตัดแล้วเสนอให้คณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.พิจารณาอนุมัติเป็นให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติได้เองโดยผู้ประกันตนที่จะเข้ารับการผ่าตัดต้องเป็นโรคดังนี้ 1.เป็นแผลที่กระจกตา 2.กระจกตาโค้งผิดรูป 3.กระจกตาขุ่นขาว หรือเป็นฝ้าจากสารเคมี หรือเกิดติดเชื้อหรือเป็นมาแต่กำเนิด และ 4.กรณีฉุกเฉินติดเชื้อรุนแรงใช้ยาฆ่าเชื้อแล้วไม่ได้ผล ทำให้กระจกตาอาจจะทะลุได้
“หลังจากนี้คณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.จะดำเนินการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และคาดว่าจะประกาศใช้เกณฑ์ที่แก้ไขในวันที่ 2 ตุลาคมนี้ และเริ่มมีผลบังคับใช้ ทำให้ผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาที่รวดเร็วขึ้น ” รองเลขาธิการ สปส.กล่าว
นพ.สุรเดช กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการการแพทย์ของสปส.ได้ออกประกาศเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาโรคมะเร็งให้แก่ผู้ประกันตนโดยเพิ่มการจ่ายยารักษาโรคมะเร็งเป็น 10 ชนิด ซึ่งแต่เดิมมี 7 โรค ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และเพิ่มใหม่อีก 3 โรคคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปัสสาวะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
รองเลขาธิการ สปส. กล่าวด้วยว่า ประกาศดังกล่าวจะทำให้การให้ยารักษาโรคมะเร็งทั้ง 10 ชนิดแก่ผู้ประกันตนเป็นไปอย่างรวดเร็ว แพทย์สามารถเปลี่ยนสูตรยารักษาได้ตามความเหมาะสมและโรงพยาบาลที่ให้การรักษาไม่ต้องกังวลกับการเบิกค่ายารักษาจากสปส.ทำให้การรักษามีมาตรฐานเช่นเดียวกับกองทุนสุขภาพอื่นๆ เนื่องจากประกาศฉบับเดิมก่อนหน้านี้กำหนดให้การให้ยารักษาโรคมะเร็งจะต้องให้ยาครบตามจำนวนครั้งตามเกณฑ์ที่ สปส.กำหนด หากให้ยาไม่ครบตามเกณฑ์ทางโรงพยาบาลที่รักษา ก็จะไม่สามารถเบิกค่ายารักษาจาก สปส.ได้ ทำให้โรงพยาบาลไม่กล้าที่จะปรับเปลี่ยนสูตรยาเพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาตามอาการของผู้ป่วยทั้งที่บางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถรับยาสูตรเดิมได้อีก แต่ประกาศฉบับใหม่นี้เมื่อโรงพยาบาลจ่ายยาแต่ละครั้งก็สามารถเบิกค่ายารักษาได้ทันทีและสามารถปรับเปลี่ยนสูตรยารักษาได้ตามอาการผู้ป่วย
นอกจากนี้ ประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้โรงพยาบาลในระบบประกันสังคมที่มีศักยภาพสามารถใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติซึ่งมีราคาชุดละ 2 แสนบาทให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงที่ สปส.กำหนดด้วย ทั้งนี้ สปส.จะจัดประชุมชี้แจงเรื่องนี้ต่อโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมในเดือนตุลาคมนี้
วันนี้ (24 ก.ย.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวหลังประชุมคณะกรรมการประกันสังคมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.เสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้แก่ผู้ประกันตน โดยลดขั้นตอนจากที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ต้องรวบรวมยอดผู้ประกันตนที่ขอผ่าตัดแล้วเสนอให้คณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.พิจารณาอนุมัติเป็นให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติได้เองโดยผู้ประกันตนที่จะเข้ารับการผ่าตัดต้องเป็นโรคดังนี้ 1.เป็นแผลที่กระจกตา 2.กระจกตาโค้งผิดรูป 3.กระจกตาขุ่นขาว หรือเป็นฝ้าจากสารเคมี หรือเกิดติดเชื้อหรือเป็นมาแต่กำเนิด และ 4.กรณีฉุกเฉินติดเชื้อรุนแรงใช้ยาฆ่าเชื้อแล้วไม่ได้ผล ทำให้กระจกตาอาจจะทะลุได้
“หลังจากนี้คณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.จะดำเนินการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และคาดว่าจะประกาศใช้เกณฑ์ที่แก้ไขในวันที่ 2 ตุลาคมนี้ และเริ่มมีผลบังคับใช้ ทำให้ผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาที่รวดเร็วขึ้น ” รองเลขาธิการ สปส.กล่าว
นพ.สุรเดช กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการการแพทย์ของสปส.ได้ออกประกาศเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาโรคมะเร็งให้แก่ผู้ประกันตนโดยเพิ่มการจ่ายยารักษาโรคมะเร็งเป็น 10 ชนิด ซึ่งแต่เดิมมี 7 โรค ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และเพิ่มใหม่อีก 3 โรคคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปัสสาวะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
รองเลขาธิการ สปส. กล่าวด้วยว่า ประกาศดังกล่าวจะทำให้การให้ยารักษาโรคมะเร็งทั้ง 10 ชนิดแก่ผู้ประกันตนเป็นไปอย่างรวดเร็ว แพทย์สามารถเปลี่ยนสูตรยารักษาได้ตามความเหมาะสมและโรงพยาบาลที่ให้การรักษาไม่ต้องกังวลกับการเบิกค่ายารักษาจากสปส.ทำให้การรักษามีมาตรฐานเช่นเดียวกับกองทุนสุขภาพอื่นๆ เนื่องจากประกาศฉบับเดิมก่อนหน้านี้กำหนดให้การให้ยารักษาโรคมะเร็งจะต้องให้ยาครบตามจำนวนครั้งตามเกณฑ์ที่ สปส.กำหนด หากให้ยาไม่ครบตามเกณฑ์ทางโรงพยาบาลที่รักษา ก็จะไม่สามารถเบิกค่ายารักษาจาก สปส.ได้ ทำให้โรงพยาบาลไม่กล้าที่จะปรับเปลี่ยนสูตรยาเพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาตามอาการของผู้ป่วยทั้งที่บางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถรับยาสูตรเดิมได้อีก แต่ประกาศฉบับใหม่นี้เมื่อโรงพยาบาลจ่ายยาแต่ละครั้งก็สามารถเบิกค่ายารักษาได้ทันทีและสามารถปรับเปลี่ยนสูตรยารักษาได้ตามอาการผู้ป่วย
นอกจากนี้ ประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้โรงพยาบาลในระบบประกันสังคมที่มีศักยภาพสามารถใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติซึ่งมีราคาชุดละ 2 แสนบาทให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงที่ สปส.กำหนดด้วย ทั้งนี้ สปส.จะจัดประชุมชี้แจงเรื่องนี้ต่อโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมในเดือนตุลาคมนี้