มะเร็งคร่าชีวิตคนไทยปีละ 60,000 คน คาดอีก 16 ปีทั่วโลกจะตายเพราะมะเร็งถึง 13 ล้านคน สธ.เผยเหตุเกิดมะเร็ง ทั้งอ้วน กินเหล้า สูบบุหรี่ กินผักผลไม้สดน้อย และไม่ออกกำลังกาย แนะคนอายุ 30 ปีขึ้นไป ตรวจร่างกายประจำปี ตั้งเป้าเร่งกระจายโรงพยาบาลรักษามะเร็งทั่วประเทศ ทั้งผ่าตัด เคมีบำบัด ฉายแสง และดูแลผู้ป่วยที่หมดหวังถึงบ้าน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 4 ก.พ.ของทุกปี องค์การอนามัยโลก และสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก เพื่อให้ประเทศต่างๆ รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็ง และตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นภัยเงียบคุกคามชีวิตประชาชนวัยแรงงาน และผู้สูงอายุมากที่สุด องค์การอนามัยโลกรายงานพบผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกปีละประมาณ 13 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 7.6 ล้านคน มากที่สุดคือ มะเร็งปอด จำนวน 1.37 ล้านคน แนวโน้มจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกประเทศ คาดว่าในอีก 16 ปี คือในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 13 ล้านกว่าคน ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ 1 ของคนไทยมานานกว่า 13 ปี โดยคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิด 61,082 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่มีปีละ 414,670 คน จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3,000 คน
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การจัดบริการทั้งการป้องกัน การดูแลรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 สธ.ได้จัดบริการในรูปแบบของเขตบริการสุขภาพ และได้กำหนดให้บริการของโรคมะเร็งเป็น 1 ใน 10 สาขาบริการหลักที่ต้องดำเนินการทุกเขตบริการสุขภาพ เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยมะเร็งที่มาพบแพทย์ป่วยในระยะลุกลามมากกว่าระยะเริ่มต้น โอกาสหายขาดจึงมีน้อย ทั้งนี้มาตรการพัฒนาบริการกำหนดให้ทุกเขตบริการสามารถผ่าตัดมะเร็ง รักษาด้วยเคมีบำบัด และขยายการรักษาด้วยรังสี เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยมะเร็งเร็วขึ้น ได้รักษาใกล้บ้าน โดยได้รับการผ่าตัดใน 4 สัปดาห์ ได้รับยาเคมีบำบัดใน 4 สัปดาห์ และได้รับการฉายแสงระงับเซลล์มะเร็งแพร่กระจายใน 6 สัปดาห์
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า ปีนี้ สธ.ได้ขยายบริการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะดูแลที่บ้าน โดยให้ทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน และ อสม.ออกไปให้การดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมานผู้ป่วย สำหรับปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งที่สำคัญมี 5 ประการ ได้แก่ ความอ้วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย และไม่กินผักผลไม้สด โดยมะเร็งจะค่อยๆ ก่อตัวแบบไม่รู้ตัว จึงขอแนะนำผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพค้นหาความผิดปกติอย่างน้อยปีละครั้ง หากตรวจพบเร็วโอกาสรักษาหายจะมีสูง ขณะเดียวกัน ได้จัดระบบการป้องกัน และการค้นหาผู้ที่เริ่มมีความผิดปกติแต่ยังไม่รู้ตัว เช่น ผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป จะรณรงค์ให้ตรวจหามะเร็งปากมดลูกให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ตรวจมะเร็งเต้านมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 หากพบความผิดปกติจะได้รับการผ่าตัดภายใน 1 เดือน ซึ่งมีโอกาสหายเป็นปกติสูงมาก หากเซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลามไปที่อื่น ในบางเขตบริการฯ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พบโรคมะเร็งตับสูงจะตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ หากพบจะให้ยาฆ่าพยาธิ และปรับพฤติกรรมเลิกกินปลาน้ำจืดดิบๆ สุกๆ ด้วย
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 4 ก.พ.ของทุกปี องค์การอนามัยโลก และสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก เพื่อให้ประเทศต่างๆ รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็ง และตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นภัยเงียบคุกคามชีวิตประชาชนวัยแรงงาน และผู้สูงอายุมากที่สุด องค์การอนามัยโลกรายงานพบผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกปีละประมาณ 13 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 7.6 ล้านคน มากที่สุดคือ มะเร็งปอด จำนวน 1.37 ล้านคน แนวโน้มจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกประเทศ คาดว่าในอีก 16 ปี คือในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 13 ล้านกว่าคน ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ 1 ของคนไทยมานานกว่า 13 ปี โดยคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิด 61,082 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่มีปีละ 414,670 คน จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3,000 คน
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การจัดบริการทั้งการป้องกัน การดูแลรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 สธ.ได้จัดบริการในรูปแบบของเขตบริการสุขภาพ และได้กำหนดให้บริการของโรคมะเร็งเป็น 1 ใน 10 สาขาบริการหลักที่ต้องดำเนินการทุกเขตบริการสุขภาพ เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยมะเร็งที่มาพบแพทย์ป่วยในระยะลุกลามมากกว่าระยะเริ่มต้น โอกาสหายขาดจึงมีน้อย ทั้งนี้มาตรการพัฒนาบริการกำหนดให้ทุกเขตบริการสามารถผ่าตัดมะเร็ง รักษาด้วยเคมีบำบัด และขยายการรักษาด้วยรังสี เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยมะเร็งเร็วขึ้น ได้รักษาใกล้บ้าน โดยได้รับการผ่าตัดใน 4 สัปดาห์ ได้รับยาเคมีบำบัดใน 4 สัปดาห์ และได้รับการฉายแสงระงับเซลล์มะเร็งแพร่กระจายใน 6 สัปดาห์
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า ปีนี้ สธ.ได้ขยายบริการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะดูแลที่บ้าน โดยให้ทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน และ อสม.ออกไปให้การดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมานผู้ป่วย สำหรับปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งที่สำคัญมี 5 ประการ ได้แก่ ความอ้วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย และไม่กินผักผลไม้สด โดยมะเร็งจะค่อยๆ ก่อตัวแบบไม่รู้ตัว จึงขอแนะนำผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพค้นหาความผิดปกติอย่างน้อยปีละครั้ง หากตรวจพบเร็วโอกาสรักษาหายจะมีสูง ขณะเดียวกัน ได้จัดระบบการป้องกัน และการค้นหาผู้ที่เริ่มมีความผิดปกติแต่ยังไม่รู้ตัว เช่น ผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป จะรณรงค์ให้ตรวจหามะเร็งปากมดลูกให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ตรวจมะเร็งเต้านมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 หากพบความผิดปกติจะได้รับการผ่าตัดภายใน 1 เดือน ซึ่งมีโอกาสหายเป็นปกติสูงมาก หากเซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลามไปที่อื่น ในบางเขตบริการฯ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พบโรคมะเร็งตับสูงจะตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ หากพบจะให้ยาฆ่าพยาธิ และปรับพฤติกรรมเลิกกินปลาน้ำจืดดิบๆ สุกๆ ด้วย