อังกฤษเผย 12 ปี ลดป่องวัยเรียนได้ 50% เปิดเคล็ดลับ 2 ประการต้องให้เด็กมีสิทธิเรียนรู้เรื่องเพศ - เข้าถึงบริการคุมกำเนิดถูกวิธี ด้าน สธ. เตรียมดันร่าง พ.ร.บ.อนามัยเจริญพันธุ์ เพิ่มสิทธิเยาวชนเรียนรู้เรื่องเพศ รับบริการสุขภาพทางเพศ ได้เรียนต่อแม้ท้อง
วันนี้ (9 ก.ย.) ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ศ.โรเจอร์ อิงแฮม ศูนย์วิจัยด้านสุขภาพทางเพศ มหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ กล่าวใน “การประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 1 ประเด็น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร ว่า อังกฤษสามารถลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ 50% ในช่วงเวลา 12 ปี ปัจจัยความสำเร็จมี 2 ประการโดยเกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กและเยาวชนโดยตรง คือ 1. สิทธิที่จะได้เรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพและเพศศึกษาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่วัยเด็กเล็กในครอบครัว จนถึงสถานศึกษา และ 2. สิทธิการเข้าถึงบริการคุมกำเนิดได้โดยง่าย ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย จะเกิดขึ้นได้เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายชัดเจน และมีการฝึกอบรมปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน ทุกระดับที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหานี้ รวมถึงตัวผู้ปกครองด้วย ให้เข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศและมีทักษะการสื่อสารทางบวกกับวัยรุ่นในเรื่องเพศ ทั้งนี้ ผลงานวิจัยทั้งในอังกฤษและหลายประเทศยืนยันว่า การได้เรียนรู้เรื่องเพศ และการเข้าถึงบริการคุมกำเนิด ไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น แต่กลับมีแนวโน้มลดการมีเพศสัมพันธ์ลง
นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย สธ. กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับหลายภาคส่วน พัฒนาร่าง พ.ร.บ.อนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อให้เป็นหลักการพื้นฐานในการดูแลและคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศของคนทุกกลุ่มทุกวัย สำหรับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในร่างกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญ อาท สิทธิที่จะได้รับข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพและเพศศึกษาเช่นเดียวกับอังกฤษ สิทธิที่จะเข้าถึงบริการคุมกำเนิดที่ปลอดภัยและเหมาะสม สิทธิที่จะได้เรียนแม้ตั้งครรภ์ เพื่อไม่เสียโอกาสพัฒนาศักยภาพตัวเอง สิทธิที่จะเข้ารับบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศได้ง่ายโดยไม่ถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจะต้องเป็นไปโดยง่ายในวัยรุ่นทุกคน ทุกกลุ่ม ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อย่างได้ผล
“แม้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะอยู่ระหว่างการยกร่าง แต่หากผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนโดยเฉพาะด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านสวัสดิการสังคม ตระหนัก เข้าใจ และผ่านกระบวนการฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อเรื่องนี้ ก็จะมีส่วนช่วยลดและป้องกันปัญหานี้ลงได้มาก” นพ.กิตติพงศ์ กล่าว
น.ส.ชุลีพร ถาบุญ สภาเด็กและเยาวชน ต.หนองผึ้ง อ.สารภี เชียงใหม่ กล่าวว่า การแก้ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นอีกทางคือ การสนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ได้สร้างสรรค์กิจกรรมในแบบที่มีส่วนร่วมและได้คิดด้วยตนเอง ซึ่งควรเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่ใช่งานที่จัดเป็นครั้งคราว เพื่อให้ใช้เวลาที่เป็นประโยชน์ เพราะการที่วัยรุ่นได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องศิลปะ กีฬา งานจิตอาสา หรืออื่นๆ จะช่วยพัฒนาตัววัยรุ่นเอง และมีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และยังช่วยให้เห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นเกราะป้องกันการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด รวมถึงอบายมุขต่างๆ และเรื่องเพศ ได้เป็นอย่างดี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 ก.ย.) ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ศ.โรเจอร์ อิงแฮม ศูนย์วิจัยด้านสุขภาพทางเพศ มหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ กล่าวใน “การประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 1 ประเด็น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร ว่า อังกฤษสามารถลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ 50% ในช่วงเวลา 12 ปี ปัจจัยความสำเร็จมี 2 ประการโดยเกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กและเยาวชนโดยตรง คือ 1. สิทธิที่จะได้เรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพและเพศศึกษาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่วัยเด็กเล็กในครอบครัว จนถึงสถานศึกษา และ 2. สิทธิการเข้าถึงบริการคุมกำเนิดได้โดยง่าย ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย จะเกิดขึ้นได้เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายชัดเจน และมีการฝึกอบรมปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน ทุกระดับที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหานี้ รวมถึงตัวผู้ปกครองด้วย ให้เข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศและมีทักษะการสื่อสารทางบวกกับวัยรุ่นในเรื่องเพศ ทั้งนี้ ผลงานวิจัยทั้งในอังกฤษและหลายประเทศยืนยันว่า การได้เรียนรู้เรื่องเพศ และการเข้าถึงบริการคุมกำเนิด ไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น แต่กลับมีแนวโน้มลดการมีเพศสัมพันธ์ลง
นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย สธ. กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับหลายภาคส่วน พัฒนาร่าง พ.ร.บ.อนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อให้เป็นหลักการพื้นฐานในการดูแลและคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศของคนทุกกลุ่มทุกวัย สำหรับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในร่างกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญ อาท สิทธิที่จะได้รับข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพและเพศศึกษาเช่นเดียวกับอังกฤษ สิทธิที่จะเข้าถึงบริการคุมกำเนิดที่ปลอดภัยและเหมาะสม สิทธิที่จะได้เรียนแม้ตั้งครรภ์ เพื่อไม่เสียโอกาสพัฒนาศักยภาพตัวเอง สิทธิที่จะเข้ารับบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศได้ง่ายโดยไม่ถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจะต้องเป็นไปโดยง่ายในวัยรุ่นทุกคน ทุกกลุ่ม ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อย่างได้ผล
“แม้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะอยู่ระหว่างการยกร่าง แต่หากผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนโดยเฉพาะด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านสวัสดิการสังคม ตระหนัก เข้าใจ และผ่านกระบวนการฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อเรื่องนี้ ก็จะมีส่วนช่วยลดและป้องกันปัญหานี้ลงได้มาก” นพ.กิตติพงศ์ กล่าว
น.ส.ชุลีพร ถาบุญ สภาเด็กและเยาวชน ต.หนองผึ้ง อ.สารภี เชียงใหม่ กล่าวว่า การแก้ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นอีกทางคือ การสนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ได้สร้างสรรค์กิจกรรมในแบบที่มีส่วนร่วมและได้คิดด้วยตนเอง ซึ่งควรเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่ใช่งานที่จัดเป็นครั้งคราว เพื่อให้ใช้เวลาที่เป็นประโยชน์ เพราะการที่วัยรุ่นได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องศิลปะ กีฬา งานจิตอาสา หรืออื่นๆ จะช่วยพัฒนาตัววัยรุ่นเอง และมีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และยังช่วยให้เห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นเกราะป้องกันการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด รวมถึงอบายมุขต่างๆ และเรื่องเพศ ได้เป็นอย่างดี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่