รอบ 10 ปี มีแม่วัยรุ่นเพิ่มขึ้น 3 เท่า ติดอันดับ 5 ในอาเซียน เปิดสถิติทุก 4 นาที มีแม่วัยใสคลอดลูก 1 คน เร่งจัดประชุมระดับชาติ ระดมนักวิชาการนานาชาติ - ไทย ถกปัญหา ชูประเด็นป้องกันตั้งครรภ์วัยรุ่น
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี คณะทำงานเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund - UNFPA) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์แม่วัยใส ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ UNFPA ปี 2555 พบว่า วัยรุ่นหญิงไทยอายุ 15-19 ปี ซึ่งมี 2.4 ล้านคน มีอัตราการคลอดลูก 1 คนในทุก 4 นาที ที่น่ากังวลคือช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี กลายเป็นแม่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ? จาก 1,400 ราย เป็น 3,700 ราย ขณะที่อัตราเกิดของไทยอยู่ที่ 800,000 คนต่อปี มาจากแม่วัยรุ่นกว่า 120,000 คน โดยหญิงอายุต่ำกว่า 19 ปี มีการคลอดซ้ำมากถึง 15,000 คนต่อปี ซึ่งอัตราแม่วัยรุ่นของไทยสูงเป็นอันดับที่ ? 5 ของอาเซียน ปัญหานี้กระทบต่อคุณภาพชีวิตของแม่และเด็ก เพราะทารกมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะพิการแต่กำเนิด น้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐาน โอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงกว่าทารกที่คลอดจากแม่ที่อายุเลยช่วงวัยรุ่น
“แม่วัยรุ่นที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงอายุต่ำลง เฉลี่ย 13-15 ปี การเพิ่มขึ้นของวัยรุ่นที่อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน การใช้ถุงยางอนามัยต่ำกว่า 50% การใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะมักเกิดจากคนใกล้ตัว ที่สำคัญคือ ขาดความเข้าใจเรื่องเพศอย่างถูกต้อง ยังขาดโอกาสเรียนรู้ทักษะชีวิตและเพศศึกษา การเข้าไม่ถึงบริการปรึกษาแนะนำที่เป็นมิตร รวมทั้งการหลั่งไหลของวัฒนธรรมยุคออนไลน์ ทำให้เยาวชนเข้าถึงสื่ออย่างไร้ขีดจำกัด” น.ส.ณัฐยา กล่าว
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า นานาประเทศตระหนักดีว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นการบั่นทอนคุณภาพประชากรในระยะยาว ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สสส. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่าย เห็นตรงกันว่า “สุขภาวะทางเพศ” เป็นประเด็นสำคัญที่ควรได้รับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในระดับชาติ เพื่อนำไปสู่การป้องกันและลดปัญหานี้อย่างยั่งยืน จึงร่วมกันจัด “การประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 1” ประเด็น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” ระหว่างวันที่ 8-10 ก.ย. ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มาร่วมระดมพลัง เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,000 คน และมีวิทยากรจากทั้งในและต่างประเทศมาร่วมให้ข้อมูล ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหานี้
“การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นภารกิจที่สำคัญของทุกรัฐบาล ที่ผ่านมาทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ได้ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา ? เพื่อลดจำนวนแม่วัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถส่งผลต่อการป้องกันปัญหาได้ชัดเจน ปัจจุบัน สสส. ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์แนวทาง “ภารกิจ 9 ด้าน” และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายทำงานร่วมกันในการป้องกันปัญหา โดยมีจังหวัดนำร่องแล้ว 20 จังหวัด และเริ่มมีสัญญาณที่ดีว่า ในพื้นที่ที่มีการประสานงานและทำงานร่วมกันโดยใช้ข้อมูลและความรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศที่ถูกต้อง มีความร่วมมืออย่างแข็งขันจากทุกภาคส่วน รวมถึงโรงเรียน ท้องถิ่นชุมชนและกลุ่มเยาวชน ส่งผลให้เห็นการลดลงของจำนวนแม่วัยรุ่นอย่างชัดเจน” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี คณะทำงานเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund - UNFPA) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์แม่วัยใส ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ UNFPA ปี 2555 พบว่า วัยรุ่นหญิงไทยอายุ 15-19 ปี ซึ่งมี 2.4 ล้านคน มีอัตราการคลอดลูก 1 คนในทุก 4 นาที ที่น่ากังวลคือช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี กลายเป็นแม่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ? จาก 1,400 ราย เป็น 3,700 ราย ขณะที่อัตราเกิดของไทยอยู่ที่ 800,000 คนต่อปี มาจากแม่วัยรุ่นกว่า 120,000 คน โดยหญิงอายุต่ำกว่า 19 ปี มีการคลอดซ้ำมากถึง 15,000 คนต่อปี ซึ่งอัตราแม่วัยรุ่นของไทยสูงเป็นอันดับที่ ? 5 ของอาเซียน ปัญหานี้กระทบต่อคุณภาพชีวิตของแม่และเด็ก เพราะทารกมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะพิการแต่กำเนิด น้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐาน โอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงกว่าทารกที่คลอดจากแม่ที่อายุเลยช่วงวัยรุ่น
“แม่วัยรุ่นที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงอายุต่ำลง เฉลี่ย 13-15 ปี การเพิ่มขึ้นของวัยรุ่นที่อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน การใช้ถุงยางอนามัยต่ำกว่า 50% การใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะมักเกิดจากคนใกล้ตัว ที่สำคัญคือ ขาดความเข้าใจเรื่องเพศอย่างถูกต้อง ยังขาดโอกาสเรียนรู้ทักษะชีวิตและเพศศึกษา การเข้าไม่ถึงบริการปรึกษาแนะนำที่เป็นมิตร รวมทั้งการหลั่งไหลของวัฒนธรรมยุคออนไลน์ ทำให้เยาวชนเข้าถึงสื่ออย่างไร้ขีดจำกัด” น.ส.ณัฐยา กล่าว
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า นานาประเทศตระหนักดีว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นการบั่นทอนคุณภาพประชากรในระยะยาว ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สสส. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่าย เห็นตรงกันว่า “สุขภาวะทางเพศ” เป็นประเด็นสำคัญที่ควรได้รับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในระดับชาติ เพื่อนำไปสู่การป้องกันและลดปัญหานี้อย่างยั่งยืน จึงร่วมกันจัด “การประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 1” ประเด็น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” ระหว่างวันที่ 8-10 ก.ย. ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มาร่วมระดมพลัง เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,000 คน และมีวิทยากรจากทั้งในและต่างประเทศมาร่วมให้ข้อมูล ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหานี้
“การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นภารกิจที่สำคัญของทุกรัฐบาล ที่ผ่านมาทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ได้ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา ? เพื่อลดจำนวนแม่วัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถส่งผลต่อการป้องกันปัญหาได้ชัดเจน ปัจจุบัน สสส. ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์แนวทาง “ภารกิจ 9 ด้าน” และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายทำงานร่วมกันในการป้องกันปัญหา โดยมีจังหวัดนำร่องแล้ว 20 จังหวัด และเริ่มมีสัญญาณที่ดีว่า ในพื้นที่ที่มีการประสานงานและทำงานร่วมกันโดยใช้ข้อมูลและความรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศที่ถูกต้อง มีความร่วมมืออย่างแข็งขันจากทุกภาคส่วน รวมถึงโรงเรียน ท้องถิ่นชุมชนและกลุ่มเยาวชน ส่งผลให้เห็นการลดลงของจำนวนแม่วัยรุ่นอย่างชัดเจน” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่