สธ. ฟุ้ง รพ. ขอนแก่น สคร. ที่ 9 ควงคู่ซิวรางวัล UNPSA จากยูเอ็น เรื่องความเป็นเลิศในสาขาบริการสาธารณะ
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติได้ให้หน่วยงานทั่วโลก ที่มีความเป็นเลิศในสาขาบริการสาธารณะต่างๆ ส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อรับรางวัล ยูไนเต็ด เนชั่นส์ พับบลิคส์ เซอร์วิส อวอร์ด หรือรางวัล ยูเอ็นพีเอสเอ ( United Nations Public Service Award :UNPSA ) โดยในปี 2557 หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 2 สาขา ได้แก่ 1. โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา “การส่งเสริมการให้บริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อเพศสภาพ” จากผลงานของศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤต (One Stop Crisis Centre) หรือศูนย์พึ่งได้ 2. สำนักงานควบคุมโรคที่ 9 จ.พิษณุโลก กรมควบคุมโรค ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา “การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายผ่านนวัตกรรม” จากผลงานการพัฒนาศักยภาพบริการแบบบูรณาการ เพื่อลดความเจ็บป่วย จากโรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงสูง ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดน ทุรกันดาร
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤตของโรงพยาบาลขอนแก่น เป็นศูนย์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นประเทศแรกๆ ในอาเซียน ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ 24 ชั่วโมง ทำหน้าที่คัดกรองและดูแลช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และทีมสหวิชาชีพ อย่างครบวงจร เป็นแหล่งพักพิงชั่วคราวก่อนส่งต่อไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือขั้นต่อไป รวมทั้งยังเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์ประสานงานหน่วยงานภายในและนอกโรงพยาบาล ทำให้ผู้ประสบปัญหาเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายบริการช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤต ครอบคลุมโรงพยาบาลในสังกัด กว่า 700 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2549 - 2556 มีสถิติให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ทั่วประเทศจำนวน 31,755 ราย เฉลี่ย 87 รายต่อวัน ส่วนใหญ่ถูกกระทำทางเพศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สังคมไทยยังมองเรื่องเด็กและผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ควรปกปิดเป็นความลับ ทำให้ผู้ประสบปัญหาไม่กล้าไปใช้บริการหน่วยงานภาครัฐ
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนผลงานการพัฒนาศักยภาพบริการแบบบูรณาการ เพื่อลดความเจ็บป่วยจากโรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงสูง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ของสำนักงานควบคุมโรคที่ 9 จ.พิษณุโลก เป็นการบริหารจัดการแก้ปัญหาเชิงรุกในชุมชน ที่เป็นพื้นที่ชายแดน การคมนาคมยากลําบาก โดยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย เช่น หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง หน่วยงานสาธารณสุขและอาสาสมัครในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ผู้ป่วย และครอบครัว มีการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย และให้การรักษาอย่างรวดเร็วและฟรี การให้ความรู้การป้องกัน บริการแจกมุ้งชุบสารเคมี ตัดวงจรการแพร่กระจายโรค ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการรักษาพยาบาล ซึ่งขณะนี้แนวโน้มโรคมาลาเรียในไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 30,000 กว่าคน ในปี 2550 เหลือ 14,000 กว่าคนปี 2556 ที่ยังเป็นปัญหาคือบริเวณชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติได้ให้หน่วยงานทั่วโลก ที่มีความเป็นเลิศในสาขาบริการสาธารณะต่างๆ ส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อรับรางวัล ยูไนเต็ด เนชั่นส์ พับบลิคส์ เซอร์วิส อวอร์ด หรือรางวัล ยูเอ็นพีเอสเอ ( United Nations Public Service Award :UNPSA ) โดยในปี 2557 หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 2 สาขา ได้แก่ 1. โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา “การส่งเสริมการให้บริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อเพศสภาพ” จากผลงานของศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤต (One Stop Crisis Centre) หรือศูนย์พึ่งได้ 2. สำนักงานควบคุมโรคที่ 9 จ.พิษณุโลก กรมควบคุมโรค ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา “การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายผ่านนวัตกรรม” จากผลงานการพัฒนาศักยภาพบริการแบบบูรณาการ เพื่อลดความเจ็บป่วย จากโรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงสูง ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดน ทุรกันดาร
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤตของโรงพยาบาลขอนแก่น เป็นศูนย์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นประเทศแรกๆ ในอาเซียน ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ 24 ชั่วโมง ทำหน้าที่คัดกรองและดูแลช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และทีมสหวิชาชีพ อย่างครบวงจร เป็นแหล่งพักพิงชั่วคราวก่อนส่งต่อไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือขั้นต่อไป รวมทั้งยังเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์ประสานงานหน่วยงานภายในและนอกโรงพยาบาล ทำให้ผู้ประสบปัญหาเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายบริการช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤต ครอบคลุมโรงพยาบาลในสังกัด กว่า 700 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2549 - 2556 มีสถิติให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ทั่วประเทศจำนวน 31,755 ราย เฉลี่ย 87 รายต่อวัน ส่วนใหญ่ถูกกระทำทางเพศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สังคมไทยยังมองเรื่องเด็กและผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ควรปกปิดเป็นความลับ ทำให้ผู้ประสบปัญหาไม่กล้าไปใช้บริการหน่วยงานภาครัฐ
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนผลงานการพัฒนาศักยภาพบริการแบบบูรณาการ เพื่อลดความเจ็บป่วยจากโรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงสูง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ของสำนักงานควบคุมโรคที่ 9 จ.พิษณุโลก เป็นการบริหารจัดการแก้ปัญหาเชิงรุกในชุมชน ที่เป็นพื้นที่ชายแดน การคมนาคมยากลําบาก โดยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย เช่น หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง หน่วยงานสาธารณสุขและอาสาสมัครในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ผู้ป่วย และครอบครัว มีการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย และให้การรักษาอย่างรวดเร็วและฟรี การให้ความรู้การป้องกัน บริการแจกมุ้งชุบสารเคมี ตัดวงจรการแพร่กระจายโรค ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการรักษาพยาบาล ซึ่งขณะนี้แนวโน้มโรคมาลาเรียในไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 30,000 กว่าคน ในปี 2550 เหลือ 14,000 กว่าคนปี 2556 ที่ยังเป็นปัญหาคือบริเวณชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่