กพร. จับมือ สอศ. สถานประกอบการ ปรับปรุงหลักสูตรอาชีวะ พัฒนาฝีมือเด็กตามตลาดแรงงานป้อนอุตสาหกรรม เทียบโอนแรงงานเรียน ปวช. ปวส. พร้อมออกใบรับรองการทำงาน 2 ใบ ตั้งเป้าปีแรก 2 หมื่นคน
วันนี้ (4 ก.ย.) ที่ รร.เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนากำลังแรงงาน และนักศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายนคร กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากค่านิยมการเรียนในปัจจุบันเน้นเรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีวะ ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานส่งผลให้คนที่มาเข้าสู่ตลาดแรงงาน ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ทันที กระทบต่อคุณภาพของสินค้าและความล่าช้าในกระบวนการผลิต ซึ่งความร่วมมือนี้จะร่วมกันจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ผู้ที่จบการศึกษาสามารถได้รับใบรับรองมาตรฐานฝีมือได้ง่ายขึ้น โดยสามารถนำวุฒิการศึกษามาเทียบกับมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อให้ได้รับใบรับรอง การร่วมมือกับสถานประกอบการในการฝึกการปฏิบัติงานควบคู่กับการเรียนด้านทฤษฎีเพื่อให้มีประสบการณ์ทำงานจริง และเปิดโอกาสให้คนที่มีประสบการณ์ในการทำงานสามารถนำประสบการณ์มาเทียบโอนเข้ามาเรียนในระบบอาชีวะได้
“เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างงาน และรายได้ที่เหมาะสมให้กับแรงงานด้วย ทั้งนี้ โครงการนี้ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2560 โดยจะดำเนินการใน 3 กลุ่ม คือ เกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ซึ่งในปีแรกจะเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมตั้งเป้าปีแรกจะป้อนกำลังแรงงานเข้าสู่ตลาด และเทียบโอนวุฒิการศึกษาได้ประมาณ 20,000 คน อีกทั้งการร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่าย คือ อาชีวะ กพร. และสถานประกอบการ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถของเด็กให้ดีขึ้น“” นายนคร กล่าว
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า ไทยมีความต้องการยกระดับฝีมือกำลังคน การร่วมมือกันจึงเป็นการร่วมพัฒนาฝีมือให้เด็กที่เรียนในระดับอาชีวะ โดยเด็กที่เรียนจบจะได้ใบรับรองจากอาชีวะ และจาก กพร. ซึ่งส่งผลดีต่อเด็ก ทั้งนี้ อาชีวศึกษาต้องมีการปรับระบบการเรียนการสอนเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกันกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีการเปิดโอกาสให้นำใบรับรองฝีมือแรงงานที่กพร.ออกให้ ตามประสบการณ์ในการทำงาน มาเทียบเพื่อรับวุฒิการศึกษา และให้ได้ใบรับรองในระดับ ปวช. ปวส. ทั้งนี้หากผู้ใดสนใจสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา โทร. 02-280-2938
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ก.ย.) ที่ รร.เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนากำลังแรงงาน และนักศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายนคร กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากค่านิยมการเรียนในปัจจุบันเน้นเรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีวะ ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานส่งผลให้คนที่มาเข้าสู่ตลาดแรงงาน ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ทันที กระทบต่อคุณภาพของสินค้าและความล่าช้าในกระบวนการผลิต ซึ่งความร่วมมือนี้จะร่วมกันจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ผู้ที่จบการศึกษาสามารถได้รับใบรับรองมาตรฐานฝีมือได้ง่ายขึ้น โดยสามารถนำวุฒิการศึกษามาเทียบกับมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อให้ได้รับใบรับรอง การร่วมมือกับสถานประกอบการในการฝึกการปฏิบัติงานควบคู่กับการเรียนด้านทฤษฎีเพื่อให้มีประสบการณ์ทำงานจริง และเปิดโอกาสให้คนที่มีประสบการณ์ในการทำงานสามารถนำประสบการณ์มาเทียบโอนเข้ามาเรียนในระบบอาชีวะได้
“เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างงาน และรายได้ที่เหมาะสมให้กับแรงงานด้วย ทั้งนี้ โครงการนี้ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2560 โดยจะดำเนินการใน 3 กลุ่ม คือ เกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ซึ่งในปีแรกจะเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมตั้งเป้าปีแรกจะป้อนกำลังแรงงานเข้าสู่ตลาด และเทียบโอนวุฒิการศึกษาได้ประมาณ 20,000 คน อีกทั้งการร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่าย คือ อาชีวะ กพร. และสถานประกอบการ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถของเด็กให้ดีขึ้น“” นายนคร กล่าว
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า ไทยมีความต้องการยกระดับฝีมือกำลังคน การร่วมมือกันจึงเป็นการร่วมพัฒนาฝีมือให้เด็กที่เรียนในระดับอาชีวะ โดยเด็กที่เรียนจบจะได้ใบรับรองจากอาชีวะ และจาก กพร. ซึ่งส่งผลดีต่อเด็ก ทั้งนี้ อาชีวศึกษาต้องมีการปรับระบบการเรียนการสอนเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกันกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีการเปิดโอกาสให้นำใบรับรองฝีมือแรงงานที่กพร.ออกให้ ตามประสบการณ์ในการทำงาน มาเทียบเพื่อรับวุฒิการศึกษา และให้ได้ใบรับรองในระดับ ปวช. ปวส. ทั้งนี้หากผู้ใดสนใจสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา โทร. 02-280-2938
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่