เปิดสถิติโรคเรื้อรัง ฆาตกรอันดับหนึ่ง คร่าชีวิตคนไทยปีละ 3 แสนคน แถมแนวโน้มป่วยหนักกว่าคนทั่วโลก เหตุป่วยแล้วไม่รู้ตัว เหตุกินหวานมันเค็มเพิ่มขึ้น 2 เท่า ไม่ออกกำลังกาย ขณะที่แพทย์เน้นแต่การรักษา ไม่ปรับพฤติกรรมคนป่วย จ่อปรับทัศนคติการรักษาแพทย์ใหม่ พร้อมออก กม. โรคไม่ติดต่อ คุมสินค้าทำลายสุขภาพ
วันนี้ (27 ส.ค.) นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวในงานเปิดตัวหนังสือ “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม” ว่า หนังสือดังกล่าวเป็นรายงานสถานการณ์และแนวโน้มของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs ฉบับแรกของไทย ซึ่งโรคนี้จัดเป็นฆาตกรอันดับหนึ่ง คร่าชีวิตคนไทยปีละ 300,000 คน มากกว่าสาเหตุอื่นๆ รวมกัน 3 เท่า และยังก่อปัญหาและภาระกับคนรอบข้าง ทำลายคุณภาพประชากร และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล รัฐต้องแบกรับต้นทุนที่เกิดจากโรคนี้ถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยคนไทยต้องแบกรับมูลค่าถึง 3,182 บาทต่อปี โดยค่าใช้จ่ายร้อยละ 80 จะหมดไปในช่วง 2 ปีสุดท้ายของชีวิต ทั้งที่หากรัฐจะลงทุนเพื่อป้องกันจะใช้งบประมาณ 12 บาทต่อคนเท่านั้น
“ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคิดเป็นร้อยละ 73 เทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลกอยู่ที่เพียงร้อยละ 63 สาเหตุสำคัญ คือ เด็ก ผู้หญิง ดื่มเหล้าสูบบุหรี่มากขึ้น คนไทยกินอาหารรสหวาน มัน เค็มเพิ่มมากขึ้น 2 เท่า แต่กินผักผลไม้ และมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายลดลง คือ ดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์ โดยใช้เวลาต่อชั่วโมงต่อวันมากขึ้น ขณะที่การคัดกรองและดูแลรักษาผู้มีความเสี่ยงและผู้ป่วยยังทำได้ไม่มีประสิทธิภาพนัก ที่สำคัญคือ มักไม่รู้ว่าตัวเองป่วย โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60 ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย การแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข” นพ.ทักษพล กล่าว
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอายุคนยืนยาวขึ้น มีการรักษาที่ครอบคลุมมากขึ้น แต่ยังทำให้เกิดปัญหาโรค เพราะไม่มีการรักษาลึกลงไปถึงพฤติกรรมและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งกำลังจะมีการเปลี่ยนทัศนคติของแพทย์ให้เปลี่ยนการรักษา โดยเน้นพฤติกรรมและการให้ความรู้ประชาชน ส่วนสังคมก็ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น สินค้าทำลายสุขภาพ ซึ่งจะมีการทำ พ.ร.บ.ควบคุมโรคไม่ติดต่อ เพื่อดูแลปัจจัยเสี่ยง เช่น การเก็บภาษีตามอัตราการเติมน้ำตาล โซเดียม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ ในที่สุดต้องทำให้หน้าที่การดูแลสุขภาพเป็นของคนไทยทุกคน
นายสุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาโรคเรื้อรังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย และทำเวทีกลางให้เกิดการแก้ปัญหาร่วมกัน เช่นเดียวกับกรรมการชาติ แต่ต้องทำให้เกิดการขยับเขยื้อนได้จริง ซึ่งปัจจุบันสังคมไทยตระหนักถึงปัญหาโรค NCDs มากขึ้น ว่าเกิดจากพฤติกรรม โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินอาหารรสหวาน มัน เค็ม และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ซึ่งองค์การสหประชาชาติเล็งเห็นว่าปัญหาสุขภาพกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เช่น มาตรการทางภาษีและราคา การควบคุมการโฆษณา การจำกัดการเข้าถึง และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ประสานเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาคราชการ ภาควิชาชีพสุขภาพ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เพื่อรวมลดปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิผลต่อไป
“NCD เป็นโรคที่ค่อยๆเป็นและเป็นแล้วเรื้อรัง ทำให้คนไทยยังไม่ตื่นตัวในเรื่องนี้ ทั้งที่แต่ละปีมีคนตายจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวนมาก รวมทั้งต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้เจ็บป่วยอีกมหาศาล” นายสุปรีดา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สินค้าทำลายสุขภาพ หากเป็นเครื่องดื่มมักมีการเติมน้ำตาลเข้าไปเป็นส่วนผสมเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ส่วนที่มีการเติมโซเดียมเป็นปริมาณมากมักเป็นขนมกรุบกรอบ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (27 ส.ค.) นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวในงานเปิดตัวหนังสือ “รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม” ว่า หนังสือดังกล่าวเป็นรายงานสถานการณ์และแนวโน้มของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs ฉบับแรกของไทย ซึ่งโรคนี้จัดเป็นฆาตกรอันดับหนึ่ง คร่าชีวิตคนไทยปีละ 300,000 คน มากกว่าสาเหตุอื่นๆ รวมกัน 3 เท่า และยังก่อปัญหาและภาระกับคนรอบข้าง ทำลายคุณภาพประชากร และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล รัฐต้องแบกรับต้นทุนที่เกิดจากโรคนี้ถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยคนไทยต้องแบกรับมูลค่าถึง 3,182 บาทต่อปี โดยค่าใช้จ่ายร้อยละ 80 จะหมดไปในช่วง 2 ปีสุดท้ายของชีวิต ทั้งที่หากรัฐจะลงทุนเพื่อป้องกันจะใช้งบประมาณ 12 บาทต่อคนเท่านั้น
“ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคิดเป็นร้อยละ 73 เทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลกอยู่ที่เพียงร้อยละ 63 สาเหตุสำคัญ คือ เด็ก ผู้หญิง ดื่มเหล้าสูบบุหรี่มากขึ้น คนไทยกินอาหารรสหวาน มัน เค็มเพิ่มมากขึ้น 2 เท่า แต่กินผักผลไม้ และมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายลดลง คือ ดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์ โดยใช้เวลาต่อชั่วโมงต่อวันมากขึ้น ขณะที่การคัดกรองและดูแลรักษาผู้มีความเสี่ยงและผู้ป่วยยังทำได้ไม่มีประสิทธิภาพนัก ที่สำคัญคือ มักไม่รู้ว่าตัวเองป่วย โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60 ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย การแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข” นพ.ทักษพล กล่าว
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอายุคนยืนยาวขึ้น มีการรักษาที่ครอบคลุมมากขึ้น แต่ยังทำให้เกิดปัญหาโรค เพราะไม่มีการรักษาลึกลงไปถึงพฤติกรรมและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งกำลังจะมีการเปลี่ยนทัศนคติของแพทย์ให้เปลี่ยนการรักษา โดยเน้นพฤติกรรมและการให้ความรู้ประชาชน ส่วนสังคมก็ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น สินค้าทำลายสุขภาพ ซึ่งจะมีการทำ พ.ร.บ.ควบคุมโรคไม่ติดต่อ เพื่อดูแลปัจจัยเสี่ยง เช่น การเก็บภาษีตามอัตราการเติมน้ำตาล โซเดียม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ ในที่สุดต้องทำให้หน้าที่การดูแลสุขภาพเป็นของคนไทยทุกคน
นายสุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาโรคเรื้อรังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย และทำเวทีกลางให้เกิดการแก้ปัญหาร่วมกัน เช่นเดียวกับกรรมการชาติ แต่ต้องทำให้เกิดการขยับเขยื้อนได้จริง ซึ่งปัจจุบันสังคมไทยตระหนักถึงปัญหาโรค NCDs มากขึ้น ว่าเกิดจากพฤติกรรม โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินอาหารรสหวาน มัน เค็ม และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ซึ่งองค์การสหประชาชาติเล็งเห็นว่าปัญหาสุขภาพกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เช่น มาตรการทางภาษีและราคา การควบคุมการโฆษณา การจำกัดการเข้าถึง และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ประสานเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาคราชการ ภาควิชาชีพสุขภาพ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เพื่อรวมลดปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิผลต่อไป
“NCD เป็นโรคที่ค่อยๆเป็นและเป็นแล้วเรื้อรัง ทำให้คนไทยยังไม่ตื่นตัวในเรื่องนี้ ทั้งที่แต่ละปีมีคนตายจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวนมาก รวมทั้งต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้เจ็บป่วยอีกมหาศาล” นายสุปรีดา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สินค้าทำลายสุขภาพ หากเป็นเครื่องดื่มมักมีการเติมน้ำตาลเข้าไปเป็นส่วนผสมเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ส่วนที่มีการเติมโซเดียมเป็นปริมาณมากมักเป็นขนมกรุบกรอบ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่