ตามที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้ลงมติเห็นชอบรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ในประเด็นการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพ” เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมานั้น
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ในฐานะองค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ผลิตเครื่องดื่มอัดลม และในฐานะสื่อกลางระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่ออุตสาหกรรมนี้ มีความเห็นสอดคล้องต่อประชาคมสาธารณสุข และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศว่า ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ตลอดจนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs : Non-Communicable Diseases) เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องได้รับการดูแลแก้ไขโดยเร่งด่วน
อย่างไรก็ดี สมาคมฯ โดยมี นายพรวุฒิ สารสิน ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ มีความกังวลว่า มติดังที่กล่าวข้างต้นอาจไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น อีกทั้งจะสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน และประชาชน และอาจไม่ช่วยเพิ่มรายได้ของรัฐบาลในภาพรวม นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเห็นว่าแนวทางการปฏิรูปที่ไม่ให้โอกาสกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลอย่างเพียงพออันเป็นที่มาของมตินี้ เป็นแนวทางที่ไม่ชอบธรรม และขัดแย้งต่อปรัชญาการปฏิรูปประเทศอย่างชัดเจน
เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการอย่างแพร่หลายว่าสาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนเกิดจากการบริโภคที่ไม่สมดุล กล่าวคือ การที่ร่างกายได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดมากกว่าพลังงานที่ร่างกายใช้ไปกับการมีกิจกรรมทางกายในแต่ละวัน เพราะฉะนั้น พลังงานส่วนเกินสามารถมาได้จากอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด รวมถึงเครื่องดื่มรสหวาน
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงควรพิจารณาถึงการบริโภคโดยรวมของคนไทย แทนการพุ่งเป้าไปที่อาหาร และเครื่องดื่มชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว แม้ภาษีอาจทำให้มีการลด หรือแม้กระทั่งเลิกการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มรสหวานแล้ว แต่หากผู้บริโภคยังคงบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มอื่นอย่างขาดสมดุล พลังงานส่วนเกินที่ร่างกายใช้ไม่หมดก็จะยังคงสะสมเป็นไขมัน ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนได้เช่นกัน โดยที่รัฐไม่มีหลักประกันใดๆ เลยที่จะมั่นใจได้ว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น
แม้แต่ประเทศออสเตรเลียเองก็มีประสบการณ์ที่การบริโภคน้ำตาลโดยรวมลดลง แต่ปัญหาผู้มีภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนกลับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การจัดเก็บภาษีจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้จึงเป็นการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มสินค้าเพียงกลุ่มเดียว และไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การสร้างแบบแผนการบริโภคที่เหมาะสมของอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดในองค์รวม
ทุกภาคส่วนพึงต้องตระหนักว่า เครื่องดื่มพร้อมดื่มในบรรจุภัณฑ์ปิดผนึกเป็นเพียงส่วนเดียวของเครื่องดื่มที่มีการบริโภคโดยประชาชนทั่วไป ประชาชนยังบริโภคเครื่องดื่มที่มีการผลิต และจำหน่ายโดยผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านกาแฟ และเครื่องดื่มอีกมากมาย โดยที่เครื่องดื่มกลุ่มนี้ไม่มีภาระภาษี
แนวทางดังกล่าวนอกจากจะสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันแล้ว ยังอาจทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มลดลง หากคนเปลี่ยนไปบริโภคเครื่องดื่มที่เหมือน หรือใกล้เคียงกันแต่ไม่มีภาระภาษีแทน
ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าข้อเสนอทางภาษีดังกล่าวจะกระทบโดยตรงต่อการค้า การลงทุน และการจ้างงานของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมโฆษณา อุตสาหกรรมเครื่องจักรการผลิต อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมค้าปลีก ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในภาพรวมของรัฐ โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บจากรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากรายได้ของพนักงานที่ธุรกิจเหล่านี้จ้างงาน การคาดหวังว่าการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มจะนำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาครัฐโดยรวมนั้นจึงอาจไม่เกิดขึ้นจริง
ยิ่งไปกว่านั้น ข้อเสนอทางภาษีนี้มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะต้องการผลักภาระภาษีทั้งหมดให้แก่ผู้บริโภคในรูปแบบของราคาขายปลีกที่สูงขึ้น 20-25% ซึ่งหากกระทรวงพาณิชย์ อนุญาตให้มีการขึ้นราคาเช่นนั้นจริงก็เท่ากับว่า จะเป็นการขัดแย้งต่อนโยบายการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคจะต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าเครื่องดื่มในราคาที่แพงขึ้นตามอัตราส่วนดังกล่าว
นอกจากข้อกังวลข้างต้นแล้ว สมาคมฯ ยังมีความเคลือบแคลงต่อความชอบธรรม และที่มาของมติดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่ได้รับโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลจากมุมมองที่แตกต่างเพื่อให้กระบวนการตัดสินใจมีความเป็นธรรม รอบด้าน และครบถ้วน จากเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏในสื่อสาธารณะได้แสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า มติดังกล่าวถูกผลักดัน และขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่มีความคิดไปในทางเดียวกัน และได้รับการสนับสนุนจากข้าราชการบางคนที่โดยหลักการแล้วจะต้องละวางความเห็นส่วนตัว หรือจุดยืนจากโครงการที่ตนได้รับเงินสนับสนุน และให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสมาคมฯ จะได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อไป
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย จึงขอเรียกร้องให้มีการทบทวนข้อเสนอการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มรสหวานตามมติดังกล่าว และเรียกร้องให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องวางตัวเป็นกลาง ละทิ้งความเห็นส่วนตัว เปิดโอกาส และพื้นที่ให้มีการศึกษาผลกระทบ ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้นโยบายที่สามารถส่งเสริมสุขภาพของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน โดยสมาคมฯ พร้อมสนับสนุน และร่วมทำงานกับทุกฝ่ายในการพัฒนาสุขภาพโดยรวมของคนไทย ควบคู่กับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพในระยะยาวของคนทั้งประเทศอย่างแท้จริง
ปัจจุบัน สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ได้แก่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) บริษัท เสริมสุข เบเวอร์เรจ จำกัด บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด บริษัท กรีนสปอต จำกัด บริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด บริษัท โอสถสภา จำกัด บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท บางกอกแคน แมนนูเฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท ฝาจีบ จำกัด (มหาชน) บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด บริษัท คราวน์ เบ็บแคน แอนด์ โคลสเชร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พรอสแพค อุตสาหกรรม จำกัด
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ในฐานะองค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ผลิตเครื่องดื่มอัดลม และในฐานะสื่อกลางระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่ออุตสาหกรรมนี้ มีความเห็นสอดคล้องต่อประชาคมสาธารณสุข และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศว่า ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ตลอดจนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs : Non-Communicable Diseases) เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องได้รับการดูแลแก้ไขโดยเร่งด่วน
อย่างไรก็ดี สมาคมฯ โดยมี นายพรวุฒิ สารสิน ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ มีความกังวลว่า มติดังที่กล่าวข้างต้นอาจไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น อีกทั้งจะสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน และประชาชน และอาจไม่ช่วยเพิ่มรายได้ของรัฐบาลในภาพรวม นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเห็นว่าแนวทางการปฏิรูปที่ไม่ให้โอกาสกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลอย่างเพียงพออันเป็นที่มาของมตินี้ เป็นแนวทางที่ไม่ชอบธรรม และขัดแย้งต่อปรัชญาการปฏิรูปประเทศอย่างชัดเจน
เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการอย่างแพร่หลายว่าสาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนเกิดจากการบริโภคที่ไม่สมดุล กล่าวคือ การที่ร่างกายได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดมากกว่าพลังงานที่ร่างกายใช้ไปกับการมีกิจกรรมทางกายในแต่ละวัน เพราะฉะนั้น พลังงานส่วนเกินสามารถมาได้จากอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด รวมถึงเครื่องดื่มรสหวาน
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงควรพิจารณาถึงการบริโภคโดยรวมของคนไทย แทนการพุ่งเป้าไปที่อาหาร และเครื่องดื่มชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว แม้ภาษีอาจทำให้มีการลด หรือแม้กระทั่งเลิกการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มรสหวานแล้ว แต่หากผู้บริโภคยังคงบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มอื่นอย่างขาดสมดุล พลังงานส่วนเกินที่ร่างกายใช้ไม่หมดก็จะยังคงสะสมเป็นไขมัน ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนได้เช่นกัน โดยที่รัฐไม่มีหลักประกันใดๆ เลยที่จะมั่นใจได้ว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น
แม้แต่ประเทศออสเตรเลียเองก็มีประสบการณ์ที่การบริโภคน้ำตาลโดยรวมลดลง แต่ปัญหาผู้มีภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนกลับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การจัดเก็บภาษีจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้จึงเป็นการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มสินค้าเพียงกลุ่มเดียว และไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การสร้างแบบแผนการบริโภคที่เหมาะสมของอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดในองค์รวม
ทุกภาคส่วนพึงต้องตระหนักว่า เครื่องดื่มพร้อมดื่มในบรรจุภัณฑ์ปิดผนึกเป็นเพียงส่วนเดียวของเครื่องดื่มที่มีการบริโภคโดยประชาชนทั่วไป ประชาชนยังบริโภคเครื่องดื่มที่มีการผลิต และจำหน่ายโดยผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านกาแฟ และเครื่องดื่มอีกมากมาย โดยที่เครื่องดื่มกลุ่มนี้ไม่มีภาระภาษี
แนวทางดังกล่าวนอกจากจะสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันแล้ว ยังอาจทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มลดลง หากคนเปลี่ยนไปบริโภคเครื่องดื่มที่เหมือน หรือใกล้เคียงกันแต่ไม่มีภาระภาษีแทน
ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าข้อเสนอทางภาษีดังกล่าวจะกระทบโดยตรงต่อการค้า การลงทุน และการจ้างงานของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมโฆษณา อุตสาหกรรมเครื่องจักรการผลิต อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมค้าปลีก ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในภาพรวมของรัฐ โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บจากรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากรายได้ของพนักงานที่ธุรกิจเหล่านี้จ้างงาน การคาดหวังว่าการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มจะนำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาครัฐโดยรวมนั้นจึงอาจไม่เกิดขึ้นจริง
ยิ่งไปกว่านั้น ข้อเสนอทางภาษีนี้มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะต้องการผลักภาระภาษีทั้งหมดให้แก่ผู้บริโภคในรูปแบบของราคาขายปลีกที่สูงขึ้น 20-25% ซึ่งหากกระทรวงพาณิชย์ อนุญาตให้มีการขึ้นราคาเช่นนั้นจริงก็เท่ากับว่า จะเป็นการขัดแย้งต่อนโยบายการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคจะต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าเครื่องดื่มในราคาที่แพงขึ้นตามอัตราส่วนดังกล่าว
นอกจากข้อกังวลข้างต้นแล้ว สมาคมฯ ยังมีความเคลือบแคลงต่อความชอบธรรม และที่มาของมติดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่ได้รับโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลจากมุมมองที่แตกต่างเพื่อให้กระบวนการตัดสินใจมีความเป็นธรรม รอบด้าน และครบถ้วน จากเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏในสื่อสาธารณะได้แสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า มติดังกล่าวถูกผลักดัน และขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่มีความคิดไปในทางเดียวกัน และได้รับการสนับสนุนจากข้าราชการบางคนที่โดยหลักการแล้วจะต้องละวางความเห็นส่วนตัว หรือจุดยืนจากโครงการที่ตนได้รับเงินสนับสนุน และให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสมาคมฯ จะได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อไป
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย จึงขอเรียกร้องให้มีการทบทวนข้อเสนอการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มรสหวานตามมติดังกล่าว และเรียกร้องให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องวางตัวเป็นกลาง ละทิ้งความเห็นส่วนตัว เปิดโอกาส และพื้นที่ให้มีการศึกษาผลกระทบ ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้นโยบายที่สามารถส่งเสริมสุขภาพของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน โดยสมาคมฯ พร้อมสนับสนุน และร่วมทำงานกับทุกฝ่ายในการพัฒนาสุขภาพโดยรวมของคนไทย ควบคู่กับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพในระยะยาวของคนทั้งประเทศอย่างแท้จริง
ปัจจุบัน สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ได้แก่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) บริษัท เสริมสุข เบเวอร์เรจ จำกัด บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด บริษัท กรีนสปอต จำกัด บริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด บริษัท โอสถสภา จำกัด บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท บางกอกแคน แมนนูเฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท ฝาจีบ จำกัด (มหาชน) บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด บริษัท คราวน์ เบ็บแคน แอนด์ โคลสเชร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พรอสแพค อุตสาหกรรม จำกัด