ทปอ. เสนอชะลอประเมินรอบ 4 ทุกระดับ รวมทั้งทบทวนระบบประเมินทั้งภายใน ภายนอกของประเทศ รับห่วงกรอบประเมินที่กระชั้นเข้ามา แต่มั่นใจทุกฝ่ายพร้อมเสียเวลาเพื่อคุณภาพ
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้เชิญผู้แทนเครือข่ายอุดมศึกษา 4 เครือข่าย ได้แก่ ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มรภ.) หารือกรณีที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ทำหนังสือถึง สมศ. และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ประกาศระงับใช้หมวด 6 เรื่องมาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษาของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 สำหรับระดับอุดมศึกษา เป็นการชั่วคราว เพราะเห็นว่าการประเมินของ สมศ. ยังไม่สามารถสะท้อนคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง โดยในการประชุมดังกล่าว มหาวิทยาลัยทั้งหมดเห็นสอดคล้องกันว่า ควรจะต้องชะลอการประเมินคุณภายภายนอกรอบสี่ของ สมศ. ในทุกระดับการศึกษา รวมทั้งควรจะต้องทบทวนระบบโครงสร้าง และกระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การประเมินภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ด้วย เพื่อให้ระบบประกันสะท้อนคุณภาพการศึกษา และสถาบันผู้ถูกประเมินก็สามารถนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริง
“ที่ผ่านมา ทปอ. ไม่ได้หมายถึงให้ชะลอเฉพาะในส่วนของอุดมศึกษาเท่านั้น แต่หมายถึงภาพรวมทุกระดับการศึกษา เพราะเห็นว่าระบบประกันคุณภาพการศึกษาดำเนินการมาถึง 14 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สะท้อนคุณภาพที่แท้จริง ขณะเดียวกัน ยังไม่สอดคล้องกับบริบทของการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงควรต้องมาดู และทบทวนบทบาททั้งของ สมศ. สกอ. และสภาวิชาชีพ ซึ่งเข้ามามีส่วนในการประเมิน โดย สมศ. ควรจะทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ขณะที่ สกอ. ควรจะทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาอุดมศึกษาให้มีคุณภาพซึ่งจากการพูดคุยในที่ประชุม ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สมศ. ก็ค่อนข้างเห็นด้วย และรับที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมศ. วันที่ 26 สิงหาคม นี้”ศ.นพ.รัชตะ กล่าว
ประธาน ทปอ. กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องกรอบเวลาที่ สมศ. จะต้องเริ่มประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 ในเดือนตุลาคม 2558 นี้นั้น ยอมรับว่าเป็นข้อกังวล เพราะ สมศ. ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด แต่ตนคิดว่าหากทุกฝ่ายยอมเสียเวลาเพื่อให้การประเมินเป็นไปในมิติของการส่งเสริมคุณภาพมากกว่าการจับผิด อย่างไรก็ตาม จากนี้คงจะมีการพูดคุยระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทั้ง อุดมศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และ สมศ. เพื่อหาแนวทางการประเมินที่เหมาะสม และรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณา หากมีกฎหมายอะไรที่ต้องปรับแก้ จะได้เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้เชิญผู้แทนเครือข่ายอุดมศึกษา 4 เครือข่าย ได้แก่ ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มรภ.) หารือกรณีที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ทำหนังสือถึง สมศ. และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ประกาศระงับใช้หมวด 6 เรื่องมาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษาของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 สำหรับระดับอุดมศึกษา เป็นการชั่วคราว เพราะเห็นว่าการประเมินของ สมศ. ยังไม่สามารถสะท้อนคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง โดยในการประชุมดังกล่าว มหาวิทยาลัยทั้งหมดเห็นสอดคล้องกันว่า ควรจะต้องชะลอการประเมินคุณภายภายนอกรอบสี่ของ สมศ. ในทุกระดับการศึกษา รวมทั้งควรจะต้องทบทวนระบบโครงสร้าง และกระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การประเมินภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ด้วย เพื่อให้ระบบประกันสะท้อนคุณภาพการศึกษา และสถาบันผู้ถูกประเมินก็สามารถนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริง
“ที่ผ่านมา ทปอ. ไม่ได้หมายถึงให้ชะลอเฉพาะในส่วนของอุดมศึกษาเท่านั้น แต่หมายถึงภาพรวมทุกระดับการศึกษา เพราะเห็นว่าระบบประกันคุณภาพการศึกษาดำเนินการมาถึง 14 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สะท้อนคุณภาพที่แท้จริง ขณะเดียวกัน ยังไม่สอดคล้องกับบริบทของการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงควรต้องมาดู และทบทวนบทบาททั้งของ สมศ. สกอ. และสภาวิชาชีพ ซึ่งเข้ามามีส่วนในการประเมิน โดย สมศ. ควรจะทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ขณะที่ สกอ. ควรจะทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาอุดมศึกษาให้มีคุณภาพซึ่งจากการพูดคุยในที่ประชุม ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สมศ. ก็ค่อนข้างเห็นด้วย และรับที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมศ. วันที่ 26 สิงหาคม นี้”ศ.นพ.รัชตะ กล่าว
ประธาน ทปอ. กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องกรอบเวลาที่ สมศ. จะต้องเริ่มประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 ในเดือนตุลาคม 2558 นี้นั้น ยอมรับว่าเป็นข้อกังวล เพราะ สมศ. ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด แต่ตนคิดว่าหากทุกฝ่ายยอมเสียเวลาเพื่อให้การประเมินเป็นไปในมิติของการส่งเสริมคุณภาพมากกว่าการจับผิด อย่างไรก็ตาม จากนี้คงจะมีการพูดคุยระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทั้ง อุดมศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และ สมศ. เพื่อหาแนวทางการประเมินที่เหมาะสม และรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณา หากมีกฎหมายอะไรที่ต้องปรับแก้ จะได้เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่