ผอ.สมศ. ชี้คนต่อต้านประเมิน เพราะไม่พร้อมรับประเมิน ยันทำงานตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายกำหนด ยันเกณฑ์ประเมินรอบ 4 เปิดรับฟังความเห็นต่อเนื่อง ยันการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นเรื่องจำเป็น ไม่หวั่นถูกเสนอให้ยุบ ลั่นพร้อมชี้แจงกับ คสช.
วันนี้ (18 ก.ค.) ที่อาคารพญาไทพลาซ่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน) โดยมี ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสมศ. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ว่า
จากการหารือร่วมกันระหว่าง ศ.(พิเศษ) ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร สมศ. และตัวแทนที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ถึงกรณีที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเสนอให้มีการยุบหรือปรับปรุง สมศ. นั้นได้ข้อสรุปว่า สมศ. ดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณภาพในการจัดการศึกษาซึ่งปัจจุบันมีการกระจายอำนาจไปอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยสามารถเปิดสาขาวิชา/ภาควิชา และจัดการศึกษานอกที่ตั้งได้ สมศ. จึงมีบทบาทสะท้อนความจริง สะท้อนผลการศึกษา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีอาจารย์ที่มีคุณภาพจริงหรือไม่
โดยภาพรวมทั้งประเทศพบว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ มี 48,699 คน คิดเป็น 66.73% เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ 10,082 คน คิดเป็น 20.72% เป็นรองศาสตราจารย์ 5,414 คน คิดเป็น 11.12% และเป็นศาสตราจารย์ 708 คน คิดเป็น 1.45% สะท้อนว่าการที่เรามีอาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการน้อย แสดงว่าอาจารย์ทำงานวิจัยน้อย ทำให้การตีพิมพ์ก็น้อยไปด้วยกระทบต่อการจัดอันดับ world ranking เราก็ต่ำไปด้วย ตอนนี้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก 500 อันดับ มีเพียงมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่ติดอันดับ และในอาเซียนมีเพียง 3 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ เพราะฉะนั้น สมศ. มองว่าการตรวจสอบคุณภาพการศึกษามีความจำเป็น หากไม่มี สมศ. จะให้หน่วยงานใดมาตรวจสอบแทน ส่วนข้อเสนอที่จะให้มีการปรับปรุงทบทวนบทบาท การทำงานของ สมศ. นั้น สมศ. ก็พร้อมปรับปรุง แต่ทุกหน่วยงานก็ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย
“มหาวิทยาลัยที่ออกมาต่อต้านการประเมิน แสดงว่าเป็นกลุ่มที่ไม่พร้อมรับการประเมิน รู้สึกเป็นภาระ ถ้ามหาวิทยาลัยดำเนินงานเก็บสะสมข้อมูลดีอยู่แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่งสถาบันต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบของคุณภาพของบัณฑิต โดยหลักสูตรต่างๆ ต้องผ่านการรับรอง ไม่ใช่ธุรกิจการศึกษา ไม่เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนการพัฒนาเกณฑ์รอบ 4 สมศ. พัฒนาเกณฑ์มา 2 ปี และเปิดรับฟังความคิดเห็นมาโดยตลอด และขณะนี้ยังมีเวลาที่มหาวิทยาลัยต่างๆ จะนำเสนอข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงเกณฑ์ และ สมศ. พร้อมจะเชิญมหาวิทยาลัยทุกกลุ่มมาหารือเพื่อปรับปรุงแต่ต้องก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557 แต่ก็ต้องเสนอด้วยเหตุผล เพราะหากเกณฑ์ที่ออกมาเป็นเกณฑ์ที่อ่อนมหาวิทยาลัยทุกแห่งผ่านหมด ก็จะไม่มีคุณภาพ หรือเกณฑ์ที่ออกมาเข้มเกินไปมหาวิทยาลัยตกหมด ก็จะไม่อำนาจจำแนกมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ออกจากมหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น เครื่องมือในการประเมินจะต้องเป็นเครื่องมือที่มีความพอดี” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ หากมีผู้เสนอเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุบ สมศ. ตนยินดีและพร้อมที่จะไปชี้แจงต่อ คสช.
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ก.ค.) ที่อาคารพญาไทพลาซ่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน) โดยมี ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสมศ. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ว่า
จากการหารือร่วมกันระหว่าง ศ.(พิเศษ) ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร สมศ. และตัวแทนที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ถึงกรณีที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเสนอให้มีการยุบหรือปรับปรุง สมศ. นั้นได้ข้อสรุปว่า สมศ. ดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณภาพในการจัดการศึกษาซึ่งปัจจุบันมีการกระจายอำนาจไปอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยสามารถเปิดสาขาวิชา/ภาควิชา และจัดการศึกษานอกที่ตั้งได้ สมศ. จึงมีบทบาทสะท้อนความจริง สะท้อนผลการศึกษา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีอาจารย์ที่มีคุณภาพจริงหรือไม่
โดยภาพรวมทั้งประเทศพบว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ มี 48,699 คน คิดเป็น 66.73% เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ 10,082 คน คิดเป็น 20.72% เป็นรองศาสตราจารย์ 5,414 คน คิดเป็น 11.12% และเป็นศาสตราจารย์ 708 คน คิดเป็น 1.45% สะท้อนว่าการที่เรามีอาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการน้อย แสดงว่าอาจารย์ทำงานวิจัยน้อย ทำให้การตีพิมพ์ก็น้อยไปด้วยกระทบต่อการจัดอันดับ world ranking เราก็ต่ำไปด้วย ตอนนี้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก 500 อันดับ มีเพียงมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่ติดอันดับ และในอาเซียนมีเพียง 3 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ เพราะฉะนั้น สมศ. มองว่าการตรวจสอบคุณภาพการศึกษามีความจำเป็น หากไม่มี สมศ. จะให้หน่วยงานใดมาตรวจสอบแทน ส่วนข้อเสนอที่จะให้มีการปรับปรุงทบทวนบทบาท การทำงานของ สมศ. นั้น สมศ. ก็พร้อมปรับปรุง แต่ทุกหน่วยงานก็ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย
“มหาวิทยาลัยที่ออกมาต่อต้านการประเมิน แสดงว่าเป็นกลุ่มที่ไม่พร้อมรับการประเมิน รู้สึกเป็นภาระ ถ้ามหาวิทยาลัยดำเนินงานเก็บสะสมข้อมูลดีอยู่แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่งสถาบันต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบของคุณภาพของบัณฑิต โดยหลักสูตรต่างๆ ต้องผ่านการรับรอง ไม่ใช่ธุรกิจการศึกษา ไม่เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนการพัฒนาเกณฑ์รอบ 4 สมศ. พัฒนาเกณฑ์มา 2 ปี และเปิดรับฟังความคิดเห็นมาโดยตลอด และขณะนี้ยังมีเวลาที่มหาวิทยาลัยต่างๆ จะนำเสนอข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงเกณฑ์ และ สมศ. พร้อมจะเชิญมหาวิทยาลัยทุกกลุ่มมาหารือเพื่อปรับปรุงแต่ต้องก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557 แต่ก็ต้องเสนอด้วยเหตุผล เพราะหากเกณฑ์ที่ออกมาเป็นเกณฑ์ที่อ่อนมหาวิทยาลัยทุกแห่งผ่านหมด ก็จะไม่มีคุณภาพ หรือเกณฑ์ที่ออกมาเข้มเกินไปมหาวิทยาลัยตกหมด ก็จะไม่อำนาจจำแนกมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ออกจากมหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น เครื่องมือในการประเมินจะต้องเป็นเครื่องมือที่มีความพอดี” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ หากมีผู้เสนอเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุบ สมศ. ตนยินดีและพร้อมที่จะไปชี้แจงต่อ คสช.
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่