สมศ. แจง “อดุลย์” ถอยชะลอประเมินมหา’ลัยรอบ 4 จี้มหา’ลัยจัดกลุ่มเพื่อทำตัวบ่งชี้ตามบริบท ระบุรับข้อเสนอแนะถึง 20 ส.ค. นี้ เผยไม่ได้คุยเรื่องข้อเสนอยุบ สมศ. ชี้ยุบ สมศ. ไม่ได้คืนความสุขให้ครูอาจารย์
วันนี้ (4 ส.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยภายหลังเข้าพบ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งกำกับดูแล สมศ. ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า ได้รายงานผลการดำเนินงานของ สมศ. ในไตรมาสที่ 3 และภาพรวมการประเมินสถานศึกษาในรอบที่ 3 ซึ่งขณะนี้ทั้งระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ทำการประเมินไปแล้วกว่า 90% ยกเว้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เพิ่งประเมินไปได้เพียง 20% เนื่องจากเพิ่งได้รับงบประมาณในปี พ.ศ. 2556 และคาดว่าจะบรรลุตามเป้าหมายภายในสิ้นปีงบประมาณ 2557 นี้ นอกจากนั้น ตนยังได้ชี้แจงร่างตัวบ่งชี้ การประเมินรอบ 4 ที่จะใช้ประเมินสถานศึกษาตั้งแต่พ.ศ. 2559 - 2563 โดยชี้ให้เห็นว่า ตัวบ่งชี้ของ สมศ. ยึดตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ สมศ. นำมาพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยนำมาวิจัยและวิเคราะห์ร่วมกับผลการประเมินตั้งแต่รอบ 1 - 3 ตามหลักสากล
ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ โดยหลักการประเมินจะประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ คุณภาพศิษย์ คุณภาพครู ธรรมาภิบาลและการบริหาร ความสัมพันธ์สังคมชุมชน อัตลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม ซึ่ง พล.ต.อ.อดุลย์ สนใจและขอให้เน้นอัตลักษณ์เอกลักษณ์ให้ชัดเจน อาทิ คุณสมบัติของศิษย์ ที่ควรจะต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม ที่ควรจะต้องส่งเสริมให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ โดยครูควรจะเป็นต้นแบบและสอนให้เด็กเป็นไปตามที่คาดหวัง ส่วนของเอกลักษณ์ หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ก็เน้นว่าจริงๆ แล้วมหาวิทยาลัยควรจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มากกว่าที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในทุกสาขา ดังนั้น จึงน่าจะตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามหาวิทยาลัยไหน มีความเชี่ยวชาญด้านใด ขณะเดียวกัน สมศ. ยังเดินหน้าพัฒนาผู้ประเมินให้มีคุณภาพ และให้ตรงตามสาขาวิชาชีพมากขึ้น โดยมีการประเมินการทำงานของผู้ประเมินด้วย
“ส่วนกรณีที่ คสช. สั่งชะลอตัวบ่งชี้รอบ 4 ไปนั้น สมศ. ก็เห็นชอบกับคำสั่งของคสช. ที่ชะลอการประกาศตัวบ่งชี้การประเมินรอบ 4 ระดับอุดมศึกษาไปจนกว่าจะได้รัฐบาล และเสนอตัวบ่งชี้ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก่อนประกาศใช้ต่อไป แต่จริงๆ ขณะนี้ สมศ. ก็ยังเปิดรับข้อวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อจะได้สรุปประเด็นต่างๆ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ในวันที่ 26 สิงหาคม ส่วนที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เรียกร้องให้ประเมินตามบริบทของมหาวิทยาลัยนั้น สมศ. ยินดี และขอให้มหาวิทยาลัยทั้ง 4 กลุ่ม คือที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ (ทอมก.) และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เสนอประเภทของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งระบุว่ามหาวิทยาลัยใดจะอยู่ในประเภทไหน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะที่กำกับดูแลเห็นชอบ โดย สมศ. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหาร สมศ. ในคราวเดียวกัน” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว
ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า ในส่วนสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน และสถาบันการอาชีวศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี ขอให้ชะลอการประเมินรอบที่ 4 ด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมนั้น ในส่วนสถาบันอาชีวศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี คงไม่น่าห่วง เพราะตัวบ่งชี้ยังไม่เสร็จสิ้น ปกติเวลาทำตัวบ่งชี้ สมศ. จะทำตัวหลักๆ ในส่วนของอุดมฯ อาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกนั้นให้ใช้มาตรการเทียบเคียง ซึ่งปลายเดือนนี้จะหารือในส่วนของมาตรการเทียบเคียง ในส่วนของอาชีวศึกษาเอกชน คงต้องมาดูว่าประเด็นปัญหาที่ให้ชะลอจริงๆ คืออะไร สิ่งเหล่านี้พูดออกมาด้วยอารมณ์ไม่ได้ สมศ. ต้องดูแลคุ้มครอบผู้บริโภคให้นักเรียนผู้ปกครองได้รับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น แทนที่จะชะลอให้ช้าควรจะเร่งให้เร็วขึ้นมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตามที่มีผู้เสนอให้ยุบ สมศ. นั้น ไม่ได้มีการพูดคุยแต่หากจะบอกว่าให้ยุบ สมศ. แล้วเป็นการคืนความสุขให้ครูอาจารย์ คงเป็นการมองด้านเดียว โดยปัจจุบัน การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น ยืนยันว่า สมศ. ยังคงเดินหน้าทำหน้าที่ตามบทบาทที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ส.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยภายหลังเข้าพบ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งกำกับดูแล สมศ. ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า ได้รายงานผลการดำเนินงานของ สมศ. ในไตรมาสที่ 3 และภาพรวมการประเมินสถานศึกษาในรอบที่ 3 ซึ่งขณะนี้ทั้งระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ทำการประเมินไปแล้วกว่า 90% ยกเว้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เพิ่งประเมินไปได้เพียง 20% เนื่องจากเพิ่งได้รับงบประมาณในปี พ.ศ. 2556 และคาดว่าจะบรรลุตามเป้าหมายภายในสิ้นปีงบประมาณ 2557 นี้ นอกจากนั้น ตนยังได้ชี้แจงร่างตัวบ่งชี้ การประเมินรอบ 4 ที่จะใช้ประเมินสถานศึกษาตั้งแต่พ.ศ. 2559 - 2563 โดยชี้ให้เห็นว่า ตัวบ่งชี้ของ สมศ. ยึดตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ สมศ. นำมาพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยนำมาวิจัยและวิเคราะห์ร่วมกับผลการประเมินตั้งแต่รอบ 1 - 3 ตามหลักสากล
ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ โดยหลักการประเมินจะประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ คุณภาพศิษย์ คุณภาพครู ธรรมาภิบาลและการบริหาร ความสัมพันธ์สังคมชุมชน อัตลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม ซึ่ง พล.ต.อ.อดุลย์ สนใจและขอให้เน้นอัตลักษณ์เอกลักษณ์ให้ชัดเจน อาทิ คุณสมบัติของศิษย์ ที่ควรจะต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม ที่ควรจะต้องส่งเสริมให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ โดยครูควรจะเป็นต้นแบบและสอนให้เด็กเป็นไปตามที่คาดหวัง ส่วนของเอกลักษณ์ หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ก็เน้นว่าจริงๆ แล้วมหาวิทยาลัยควรจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มากกว่าที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในทุกสาขา ดังนั้น จึงน่าจะตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามหาวิทยาลัยไหน มีความเชี่ยวชาญด้านใด ขณะเดียวกัน สมศ. ยังเดินหน้าพัฒนาผู้ประเมินให้มีคุณภาพ และให้ตรงตามสาขาวิชาชีพมากขึ้น โดยมีการประเมินการทำงานของผู้ประเมินด้วย
“ส่วนกรณีที่ คสช. สั่งชะลอตัวบ่งชี้รอบ 4 ไปนั้น สมศ. ก็เห็นชอบกับคำสั่งของคสช. ที่ชะลอการประกาศตัวบ่งชี้การประเมินรอบ 4 ระดับอุดมศึกษาไปจนกว่าจะได้รัฐบาล และเสนอตัวบ่งชี้ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก่อนประกาศใช้ต่อไป แต่จริงๆ ขณะนี้ สมศ. ก็ยังเปิดรับข้อวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อจะได้สรุปประเด็นต่างๆ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ในวันที่ 26 สิงหาคม ส่วนที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เรียกร้องให้ประเมินตามบริบทของมหาวิทยาลัยนั้น สมศ. ยินดี และขอให้มหาวิทยาลัยทั้ง 4 กลุ่ม คือที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ (ทอมก.) และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เสนอประเภทของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งระบุว่ามหาวิทยาลัยใดจะอยู่ในประเภทไหน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะที่กำกับดูแลเห็นชอบ โดย สมศ. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหาร สมศ. ในคราวเดียวกัน” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว
ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า ในส่วนสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน และสถาบันการอาชีวศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี ขอให้ชะลอการประเมินรอบที่ 4 ด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมนั้น ในส่วนสถาบันอาชีวศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี คงไม่น่าห่วง เพราะตัวบ่งชี้ยังไม่เสร็จสิ้น ปกติเวลาทำตัวบ่งชี้ สมศ. จะทำตัวหลักๆ ในส่วนของอุดมฯ อาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกนั้นให้ใช้มาตรการเทียบเคียง ซึ่งปลายเดือนนี้จะหารือในส่วนของมาตรการเทียบเคียง ในส่วนของอาชีวศึกษาเอกชน คงต้องมาดูว่าประเด็นปัญหาที่ให้ชะลอจริงๆ คืออะไร สิ่งเหล่านี้พูดออกมาด้วยอารมณ์ไม่ได้ สมศ. ต้องดูแลคุ้มครอบผู้บริโภคให้นักเรียนผู้ปกครองได้รับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น แทนที่จะชะลอให้ช้าควรจะเร่งให้เร็วขึ้นมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตามที่มีผู้เสนอให้ยุบ สมศ. นั้น ไม่ได้มีการพูดคุยแต่หากจะบอกว่าให้ยุบ สมศ. แล้วเป็นการคืนความสุขให้ครูอาจารย์ คงเป็นการมองด้านเดียว โดยปัจจุบัน การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น ยืนยันว่า สมศ. ยังคงเดินหน้าทำหน้าที่ตามบทบาทที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่