กลุ่มมหา’ลัย รัฐ ราชภัฏ เอกชน รวมตัวยื่นหนังสือถึง “ประยุทธ์” ขอให้สั่งระงับใช้ พ.ร.บ.การศึกษาฯ มาตรา 6 เรื่อง การประเมินคุณภาพระดับอุดมศึกษา รอบที่ 4 โดย สมศ. พร้อมขอให้ตั้งคณะทำงานมาดูแลภาพรวม และระบบประกันคุณภาพใหม่ อธิการนิด้า ยันมหา’ลัยไม่กลัวการประเมิน แต่ตัวบ่งชี้ของ สมศ. หลายตัวไม่ได้สะท้อนการวัดคุณภาพที่แท้จริง ด้าน ผอ.สมศ. ยังไม่รู้เรื่อง แต่หากเรียกก็พร้อมแจงต่อ คสช. ว่า สภาพการจัดการศึกษาในปัจจุบัน
วันนี้ (25 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้จัดทำหนังสือด่วนที่สุดถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอความอนุเคราะห์พิจารณาการประกาศระงับใช้หมวด 6 เรื่อง “มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 สำหรับระดับอุดมศึกษา เป็นการชั่วคราว โดยมีเนื้อหาใจความตอนหนึ่งว่า เครือข่ายอุดมศึกษา 4 เครือข่าย ประกอบด้วย ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก.) และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เห็นตรงกันว่าจากการศึกษารายละเอียดของตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 ระดับอุดมศึกษา พบว่า ตัวบ่งชี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถสะท้อนผลผลิต ที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละสถาบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาบัณฑิตที่เป็นพิมพ์เดียวกันในแต่ละสาขาวิชาชีพทั่วทั้งประเทศ ทำให้ไม่เห็นลักษณะเด่นของแต่ละสถาบัน และผลผลิตไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างกันของภาครัฐและเอกชน เพราะฉะนั้นเครือข่ายอุดมศึกษาทั้ง 4 เครือข่ายจึงไม่เห็นด้วยที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จะนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ประเมินคุณภาพของสถาบันการศึกษา ในการประเมินรอบ 4 และขอความอนุเคราะห์พิจารณาประกาศระงับพ.ร.บ. ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังเสนอให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาภาพรวมโครงสร้างและระบบประกันคุณภาพอุดมศึกษาของชาติใหม่ เนื่องจากระบบประกันคุณภาพของประเทศในปัจจุบันมีลักษณะต่างฝ่ายต่างดำเนินการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งควรบูรณาการทั้งมิติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สมศ. และสภาวิชาชีพ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ขอเสนอให้มีองค์กรกลาง/อิสระ ทำการเก็บข้อมูล สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้องค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สะท้อนถึงคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อให้ผู้บริหารประเทศใช้เป็นข้อมูลวางแผนการศึกษาของประเทศ ตลอดจนให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลเทียบเคียงของแต่ละสถาบันได้ด้วย
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องและคงต้องขึ้นอยู่กับ คสช. พิจารณาซึ่งหากเรียกพบตนก็ยินดี และพร้อมจะเข้าไปชี้แจงข้อมูลถึงสถานภาพการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร และอยู่จุดใดในเอเชียและโลก ส่วนกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาไม่เห็นตัวกับตัวบ่งชี้ที่จะนำมาใช้ประเมินนั้น ตนรู้สึกเห็นใจสถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้ เพราะคงกลัวว่าจะประเมินไม่ผ่าน ซึ่งตนคิดว่าหากอุดมศึกษาดำเนินการโดยมีคุณภาพมาตลอดก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเรื่องคุณภาพต้องทำให้เป็นเรื่องปกติ วิถีชีวิตที่ต้องทำทุกวันไม่ใช่จะมาทำเมื่อมีการประเมิน อย่างไรก็ตาม การกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์แต่ละตัวนั้นต้องผ่านการพิจารณาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการบริหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีการทำประชาพิจารณ์ ไม่ได้เป็นไปตามที่ ผอ.สมศ. ปรารถนา อีกทั้งที่ผ่านมาทาง สมศ. ได้มีการหารือร่วมกับสถาบันอุดมศึกษามาโดยตลอด ซึ่งบางแห่งก็เห็นด้วยและบางแห่งก็ไม่เห็นด้วยกับตัวบ่งชี้ที่จะใช้ประเมิน ดังนั้น จึงอยากให้อุดมศึกษาเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นด้วย แต่ทั้งนี้ หากมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ ก็สามารถส่งมาได้ที่ สมศ. เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินรอบ 4
ด้าน นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ทาง ทปอ. ทปอ.มรภ. รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชน ต่างเห็นว่าตัวบ่งชี้หลายตัวของ สมศ. ยังไม่สามารถวัดคุณภาพของมหาวิทยาลัยได้จริง อาทิ ตัวบ่งชี้เรื่องเงินบริจาคของศิษย์เก่า เป็นต้น ดังนั้น จึงอยากให้ คสช. ระงับการการบังคับใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไว้ชั่วคราว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือจัดทำระบบประกันคุณภาพที่เหมาะสม ส่วนจะเสนอให้ยุบ สมศ. หรือไม่นั้น ตนยังไม่ทราบ แต่เป็นอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณา
“มหาวิทยาลัยมีข้อเสนอเกี่ยวกับการประเมินไปยัง สมศ. หลายครั้ง แต่ สมศ. อาจจะไม่ได้หยิบมาพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมา สมศ. จะเป็นฝ่ายกำหนดตัวบ่งชี้ให้มหาวิทยาลัยทำตามแต่ตัวบ่งชี้บางตัวทำให้มหาวิทยาลัยเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นยืนยันว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้กลัวการประเมิน แต่อยากให้ได้การประเมินที่สามารถวัดคุณภาพได้ตามจริง” นายประดิษฐ์ กล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (มรภ.พบ.) ในฐานะประธาน ทปอ.มรภ. กล่าวว่า หนังสือดังกล่าวถือเป็นมติของทั้ง ทปอ. ทปอ. มรภ. ทอมก. และ สสอท. โดยได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และได้มีการประชุมร่วมกันหลายครั้ง ดังนั้น จึงยืนยันว่าอยากให้มีการระงับ พ.ร.บ. ดังกล่าว ไว้ก่อน เพื่อจัดทำระบบประเมินที่มีคุณภาพจริงๆ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้จัดทำหนังสือด่วนที่สุดถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอความอนุเคราะห์พิจารณาการประกาศระงับใช้หมวด 6 เรื่อง “มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 สำหรับระดับอุดมศึกษา เป็นการชั่วคราว โดยมีเนื้อหาใจความตอนหนึ่งว่า เครือข่ายอุดมศึกษา 4 เครือข่าย ประกอบด้วย ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก.) และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เห็นตรงกันว่าจากการศึกษารายละเอียดของตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 ระดับอุดมศึกษา พบว่า ตัวบ่งชี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถสะท้อนผลผลิต ที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละสถาบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาบัณฑิตที่เป็นพิมพ์เดียวกันในแต่ละสาขาวิชาชีพทั่วทั้งประเทศ ทำให้ไม่เห็นลักษณะเด่นของแต่ละสถาบัน และผลผลิตไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างกันของภาครัฐและเอกชน เพราะฉะนั้นเครือข่ายอุดมศึกษาทั้ง 4 เครือข่ายจึงไม่เห็นด้วยที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จะนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ประเมินคุณภาพของสถาบันการศึกษา ในการประเมินรอบ 4 และขอความอนุเคราะห์พิจารณาประกาศระงับพ.ร.บ. ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังเสนอให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาภาพรวมโครงสร้างและระบบประกันคุณภาพอุดมศึกษาของชาติใหม่ เนื่องจากระบบประกันคุณภาพของประเทศในปัจจุบันมีลักษณะต่างฝ่ายต่างดำเนินการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งควรบูรณาการทั้งมิติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สมศ. และสภาวิชาชีพ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ขอเสนอให้มีองค์กรกลาง/อิสระ ทำการเก็บข้อมูล สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้องค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สะท้อนถึงคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อให้ผู้บริหารประเทศใช้เป็นข้อมูลวางแผนการศึกษาของประเทศ ตลอดจนให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลเทียบเคียงของแต่ละสถาบันได้ด้วย
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องและคงต้องขึ้นอยู่กับ คสช. พิจารณาซึ่งหากเรียกพบตนก็ยินดี และพร้อมจะเข้าไปชี้แจงข้อมูลถึงสถานภาพการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร และอยู่จุดใดในเอเชียและโลก ส่วนกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาไม่เห็นตัวกับตัวบ่งชี้ที่จะนำมาใช้ประเมินนั้น ตนรู้สึกเห็นใจสถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้ เพราะคงกลัวว่าจะประเมินไม่ผ่าน ซึ่งตนคิดว่าหากอุดมศึกษาดำเนินการโดยมีคุณภาพมาตลอดก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเรื่องคุณภาพต้องทำให้เป็นเรื่องปกติ วิถีชีวิตที่ต้องทำทุกวันไม่ใช่จะมาทำเมื่อมีการประเมิน อย่างไรก็ตาม การกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์แต่ละตัวนั้นต้องผ่านการพิจารณาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการบริหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีการทำประชาพิจารณ์ ไม่ได้เป็นไปตามที่ ผอ.สมศ. ปรารถนา อีกทั้งที่ผ่านมาทาง สมศ. ได้มีการหารือร่วมกับสถาบันอุดมศึกษามาโดยตลอด ซึ่งบางแห่งก็เห็นด้วยและบางแห่งก็ไม่เห็นด้วยกับตัวบ่งชี้ที่จะใช้ประเมิน ดังนั้น จึงอยากให้อุดมศึกษาเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นด้วย แต่ทั้งนี้ หากมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ ก็สามารถส่งมาได้ที่ สมศ. เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินรอบ 4
ด้าน นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ทาง ทปอ. ทปอ.มรภ. รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชน ต่างเห็นว่าตัวบ่งชี้หลายตัวของ สมศ. ยังไม่สามารถวัดคุณภาพของมหาวิทยาลัยได้จริง อาทิ ตัวบ่งชี้เรื่องเงินบริจาคของศิษย์เก่า เป็นต้น ดังนั้น จึงอยากให้ คสช. ระงับการการบังคับใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไว้ชั่วคราว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือจัดทำระบบประกันคุณภาพที่เหมาะสม ส่วนจะเสนอให้ยุบ สมศ. หรือไม่นั้น ตนยังไม่ทราบ แต่เป็นอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณา
“มหาวิทยาลัยมีข้อเสนอเกี่ยวกับการประเมินไปยัง สมศ. หลายครั้ง แต่ สมศ. อาจจะไม่ได้หยิบมาพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมา สมศ. จะเป็นฝ่ายกำหนดตัวบ่งชี้ให้มหาวิทยาลัยทำตามแต่ตัวบ่งชี้บางตัวทำให้มหาวิทยาลัยเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นยืนยันว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้กลัวการประเมิน แต่อยากให้ได้การประเมินที่สามารถวัดคุณภาพได้ตามจริง” นายประดิษฐ์ กล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (มรภ.พบ.) ในฐานะประธาน ทปอ.มรภ. กล่าวว่า หนังสือดังกล่าวถือเป็นมติของทั้ง ทปอ. ทปอ. มรภ. ทอมก. และ สสอท. โดยได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และได้มีการประชุมร่วมกันหลายครั้ง ดังนั้น จึงยืนยันว่าอยากให้มีการระงับ พ.ร.บ. ดังกล่าว ไว้ก่อน เพื่อจัดทำระบบประเมินที่มีคุณภาพจริงๆ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่