อธิการฯ ยินดี ศธ. เสนอแยกอุดมในโรดแมปปฏิรูปการศึกษา ชี้ที่ผ่านมาอุดมศึกษามักถูกลืม และนึกถึงอันดับท้าย แถมรัฐมนตรีแต่ละคนก็ไม่ใส่ใจ ระบุการแยกตัวทำให้ลดขั้นตอนทำงานและทำให้การบริหารงานคล่องตัวขึ้น
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นชอบแผนโรดแมปปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (2558-2564) ซึ่งในโรดแมปได้เสนอให้แยก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจาก ศธ. ว่า ตนเห็นด้วย เพราะที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนแล้วว่าการรวมอุดมศึกษา ไว้กับ ศธ. ทำให้การบริหารเกิดความไม่คล่องตัว ส่วนหนึ่งเพราะธรรมชาติของอุดมศึกษาต่างกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญ และกำกับดูแลการศึกษาขั้นพื้น น้อยคนที่จะให้ความสำคัญกับอุดมศึกษาซึ่งมักจะถูกลืม หรือถูกนึกถึงเป็นลำดับสุดท้าย อาทิ การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งมหาวิทยาลัยก็จะขอขึ้นให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย แต่ก็มักจะได้รับการพิจารณาในลำดับท้ายๆ ทั้งที่เขาเหล่านั้นก็ทำงานไม่ต่างกับข้าราชการ เป็นต้น ต่างจากสมัยที่มีทบวงอุดมศึกษา มีรัฐมนตรีกำกับดูแลเรื่องต่างๆ ที่สำคัญเร่งด่วนดำเนินการได้ทันทีไม่จำเป็นต้องเสนอหลายขั้นตอน
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้ทดสอบให้เห็นชัดเจนแล้วว่า การรวมอุดมศึกษาไว้กับกระทรวงศึกษาฯ ไม่ได้ทำให้การศึกษาเกิดการพัฒนาไปตามที่คาดการณ์ไว้ ตรงข้าม กลับทำให้อุดมศึกษาทำงานลำบาก การบริหารงานเกิดความเชื่องช้า ไม่คล่องตัว โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ และ รมว.ศึกษาธิการ ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญหน่วยงานอื่นๆ มากกว่า เพราะฉะนั้น ตนเห็นด้วยที่อุดมศึกษาจะแยกตัวออกมาแต่แยกมาเป็นกระทรวง หรือทบวงภายใต้ ศธ. คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับตนขอให้การบริหารงานมีความคล่องตัวมากขึ้นก็พอ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นชอบแผนโรดแมปปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (2558-2564) ซึ่งในโรดแมปได้เสนอให้แยก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจาก ศธ. ว่า ตนเห็นด้วย เพราะที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนแล้วว่าการรวมอุดมศึกษา ไว้กับ ศธ. ทำให้การบริหารเกิดความไม่คล่องตัว ส่วนหนึ่งเพราะธรรมชาติของอุดมศึกษาต่างกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญ และกำกับดูแลการศึกษาขั้นพื้น น้อยคนที่จะให้ความสำคัญกับอุดมศึกษาซึ่งมักจะถูกลืม หรือถูกนึกถึงเป็นลำดับสุดท้าย อาทิ การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งมหาวิทยาลัยก็จะขอขึ้นให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย แต่ก็มักจะได้รับการพิจารณาในลำดับท้ายๆ ทั้งที่เขาเหล่านั้นก็ทำงานไม่ต่างกับข้าราชการ เป็นต้น ต่างจากสมัยที่มีทบวงอุดมศึกษา มีรัฐมนตรีกำกับดูแลเรื่องต่างๆ ที่สำคัญเร่งด่วนดำเนินการได้ทันทีไม่จำเป็นต้องเสนอหลายขั้นตอน
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้ทดสอบให้เห็นชัดเจนแล้วว่า การรวมอุดมศึกษาไว้กับกระทรวงศึกษาฯ ไม่ได้ทำให้การศึกษาเกิดการพัฒนาไปตามที่คาดการณ์ไว้ ตรงข้าม กลับทำให้อุดมศึกษาทำงานลำบาก การบริหารงานเกิดความเชื่องช้า ไม่คล่องตัว โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ และ รมว.ศึกษาธิการ ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญหน่วยงานอื่นๆ มากกว่า เพราะฉะนั้น ตนเห็นด้วยที่อุดมศึกษาจะแยกตัวออกมาแต่แยกมาเป็นกระทรวง หรือทบวงภายใต้ ศธ. คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับตนขอให้การบริหารงานมีความคล่องตัวมากขึ้นก็พอ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่