ศธ. สรุปปฏิรูป 7 ประเด็นหลังยกทีมถกร่วมที่ปรึกษา คสช. “ชัยพฤกษ์” ระบุข้อเสนอแยกอุดมฯ ทางที่ปรึกษา คสช. แนะให้เสนอต่อสภาปฏิรูปที่ดูแลภาพรวมประเทศโดยตรง เหตุกระทบต่อหลายฝ่าย
วันนี้ (18 ส.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ประชุมร่วมกับ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ซึ่งคณะที่ปรึกษา คสช. ได้ให้ความเห็นหลายประเด็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและมอบหมายให้ ศธ. ไปจัดทำประเด็นเสนอมา เพราะฉะนั้น ศธ. จึงได้จัดทำข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเสนอต่อที่ปรึกษา คสช. และได้นำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษามีทั้งหมด 7 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 เสนอให้เพิ่มการอุดหนุนรายหัวแก่นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนักเรียนสายสามัญในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะเสนอให้มีการเพิ่มอัตราเงินรายหัวให้เหมาะสมตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษาเสนอให้จัดค่าอุปกรณ์การเรียนตามความจำเป็นในทุกสาขาและให้ดูแลเด็กกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะเด็กยากจนและเด็กพิการ
ประเด็นที่ 2 ให้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรอาชีวศึกษา โดยเปิดช่องให้ผู้มีทักษะอาชีพมาเป็นครูอาชีวศึกษาโดยง่าย มีระบบที่ยืดหยุ่นในการสมัคร การมีใบอนุญาตประกอบการสอน และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมถึงให้เพิ่มกรอบอัตรากำลังข้าราชการและพนักงานราชการเพื่อทำหน้าที่สอนและสนับสนุน หรืออาจใช้วิธีตัดโอนพนักงานราชการมาเป็นข้าราชการครู โดยให้อัตราตามตัว หรือขอคืนอัตราเกษียณ 100% โดยทันทีเพื่อนำมาบรรจุรับราชการครู ประเด็นที่ 3 ให้มีการปรับปรุงอัตราตำแหน่งผู้บริหารระดับต้นและระดับสูงของแต่ละองค์กรหลักให้เหมาะสม ประเด็นที่ 4 พัฒนากำลังแรงงานตามความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศ โดยพัฒนากำลังแรงงานสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ให้ทันกับความต้องการ ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการโดยสนับสนุนเงินทุนและระบบช่วยเหลือทางวิชาการ อบรมเพิ่มทักษะฝีมือให้แรงงานในสถานประกอบการ อบรมอาชีพที่สองให้ผู้มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น เกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 5 พัฒนาให้มีวิทยาลัยเฉพาะทางในทุกสาขาอาชีพกระจายทุกภูมิภาค ประเด็นที่ 6 สร้างค่านิยมอาชีวศึกษา เพื่อให้คนหันมาเรียนสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น และประเด็นที่ 7 จัดระบบการประสานงานการจัดอาชีวศึกษาของทุกหน่วยงาน เพราะปัจจุบันมีหลายหน่วยงานจัดการศึกษาสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา วิทยาลัยชุมชน สช. และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จึงควรต้องประสานงานเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน
“ในการประชุมร่วมกับที่ปรึกษา คสช.ที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการพูดถึงข้อเสนอให้แยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจาก ศธ. ด้วย แต่ที่ปรึกษา คสช. เห็นว่าเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อหลายฝ่าย จึงต้องการให้สภาปฏิรูปที่ดูแลนโยบายของประเทศในภาพรวมได้เป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้เอง ทั้งนี้ พรุ่งนี้ผมจะส่งประเด็นข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาส่งให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอต่อ คสช. เป็นข้อเสนอ”นายชัยพฤกษ์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ส.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ประชุมร่วมกับ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ซึ่งคณะที่ปรึกษา คสช. ได้ให้ความเห็นหลายประเด็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและมอบหมายให้ ศธ. ไปจัดทำประเด็นเสนอมา เพราะฉะนั้น ศธ. จึงได้จัดทำข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเสนอต่อที่ปรึกษา คสช. และได้นำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษามีทั้งหมด 7 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 เสนอให้เพิ่มการอุดหนุนรายหัวแก่นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนักเรียนสายสามัญในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะเสนอให้มีการเพิ่มอัตราเงินรายหัวให้เหมาะสมตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษาเสนอให้จัดค่าอุปกรณ์การเรียนตามความจำเป็นในทุกสาขาและให้ดูแลเด็กกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะเด็กยากจนและเด็กพิการ
ประเด็นที่ 2 ให้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรอาชีวศึกษา โดยเปิดช่องให้ผู้มีทักษะอาชีพมาเป็นครูอาชีวศึกษาโดยง่าย มีระบบที่ยืดหยุ่นในการสมัคร การมีใบอนุญาตประกอบการสอน และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมถึงให้เพิ่มกรอบอัตรากำลังข้าราชการและพนักงานราชการเพื่อทำหน้าที่สอนและสนับสนุน หรืออาจใช้วิธีตัดโอนพนักงานราชการมาเป็นข้าราชการครู โดยให้อัตราตามตัว หรือขอคืนอัตราเกษียณ 100% โดยทันทีเพื่อนำมาบรรจุรับราชการครู ประเด็นที่ 3 ให้มีการปรับปรุงอัตราตำแหน่งผู้บริหารระดับต้นและระดับสูงของแต่ละองค์กรหลักให้เหมาะสม ประเด็นที่ 4 พัฒนากำลังแรงงานตามความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศ โดยพัฒนากำลังแรงงานสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ให้ทันกับความต้องการ ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการโดยสนับสนุนเงินทุนและระบบช่วยเหลือทางวิชาการ อบรมเพิ่มทักษะฝีมือให้แรงงานในสถานประกอบการ อบรมอาชีพที่สองให้ผู้มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น เกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 5 พัฒนาให้มีวิทยาลัยเฉพาะทางในทุกสาขาอาชีพกระจายทุกภูมิภาค ประเด็นที่ 6 สร้างค่านิยมอาชีวศึกษา เพื่อให้คนหันมาเรียนสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น และประเด็นที่ 7 จัดระบบการประสานงานการจัดอาชีวศึกษาของทุกหน่วยงาน เพราะปัจจุบันมีหลายหน่วยงานจัดการศึกษาสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา วิทยาลัยชุมชน สช. และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จึงควรต้องประสานงานเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน
“ในการประชุมร่วมกับที่ปรึกษา คสช.ที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการพูดถึงข้อเสนอให้แยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจาก ศธ. ด้วย แต่ที่ปรึกษา คสช. เห็นว่าเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อหลายฝ่าย จึงต้องการให้สภาปฏิรูปที่ดูแลนโยบายของประเทศในภาพรวมได้เป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้เอง ทั้งนี้ พรุ่งนี้ผมจะส่งประเด็นข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาส่งให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอต่อ คสช. เป็นข้อเสนอ”นายชัยพฤกษ์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่