แรงงานบาดเจ็บเหตุตึกถล่มยังรักษาตัว 6 คน ก.แรงงาน ช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ สั่งนายจ้างจ่ายตามสิทธิประโยชน์ กรณีแรงงานไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับระบบประกันสังคม
วันนี้ (13 ส.ค.) เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีเหตุอาคารกำลังก่อสร้าง จ.ปทุมธานี ถล่ม ว่า ได้รับรายงานว่าขณะเกิดเหตุมีแรงงานทำงานอยู่ จำนวน 33 คน โดยมีแรงงานไทยและเด็กเสียชีวิต 3 คน คือ นายเชษฐา กำพูชาติ นางอ้วน ไม่ทราบนามสกุล ซึ่งกำลังตั้งท้อง 7 เดือน รวมทั้งลูกชายของนางอ้วนวัย 4 ขวบ ไม่ทราบชื่อ ส่วนแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บมี 25 คน โดยในจำนวนนี้บาดเจ็บเล็กน้อย ไม่ต้องส่ง รพ. 5 คน และต้องส่งไปรักษาที่ รพ. 20 คน ขณะนี้ยังมีแรงงานที่พักรักษาอยู่ รพ. 6 คน ที่ รพ.คลองหลวง 1 คน รพ.ธรรมศาสตร์ 1 คน รพ.ปทุมธานี 3 คน และ รพ.วิภาราม 1 คน นอกจากนี้ ยังมีแรงงานที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร 5 คน โดยเมื่อค่ำวานนี้ (12 ส.ค.) ได้มีการช่วยเหลือแรงงานออกมาได้ 1 คนคือ นายกล้าณรงค์ ปราบภัย
นายจีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการช่วยเหลือแรงงานที่ประสบเหตุนั้น แรงงานจะได้รับสิทธิกองทุนเงินทดแทน เนื่องจากบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงาน หากเป็นแรงงานไทยและต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมจะใช้เงินกองทุนเงินทดแทนช่วยเหลือได้ทันที โดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แรงงานตามจ่ายจริงไม่เกินคนละ 3 แสนบาท ส่วนกรณีเสียชีวิตจ่ายค่าทำศพ 3 หมื่นบาท และได้รับเงินสงเคราะห์โดยทายาทได้รับเงินชดเชยร้อยละ 60 ของค่าจ้างงวดสุดท้ายเป็นเวลา 8 ปี และเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีหยุดงานเพื่อพักรักษาตัว แต่ถ้าเป็นกรณีแรงงานไทยและต่างด้าวที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับระบบประกันสังคม ตนได้ให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปดำเนินการออกคำสั่งให้บริษัทที่เป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ เงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิที่ได้รับจากองทุนเงินทดแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแรงงานที่พักรักษาตัวอยู่ใน รพ. 6 คนใน รพ. 4 แห่ง ได้แก่ 1. รพ.คลองหลวง 1 คน นายสมัย นิวาท อาการเจ็บหลัง ถูกแผ่นปูนทับ 2. รพ.ปทุมธานี 3 คน ได้แก่ น.ส.สุกัญญา โพธิ์ตะมี ตั้งครรภ์ 4 เดือน กระดูกสะโพกซ้ายแตก ไหปลาร้าขวาหัก ปอดถูกกระแทก ยังอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู. นายจันทร์ ชาวกัมพูชา กระดูกซี่โครงหัก มีเลือดออกจากปอดด้านขวามีภาวะช็อกกระดูกสันหลังแตก และนายกล้าณรงค์ ปราบภัย กระดูกไหปลาร้าขวาหัก กระดูกสะโพกซ้ายแตก ยังอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู. 3. รพ.ธรรมศาสตร์ 1 คน นายสุวัฒน์ ชมพูจันทร์ อาการกระดูกแขนขวาหัก เส้นเลือดแดงใหญ่แขนขวาขาด ขาขวาหัก บาดเจ็บตาขวายังอยู่ห้อง ไอ.ซี.ยู. ซึ่งขณะนี้ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ต้องการรับบริจาคเลือดกรุ๊ป O Rh-Negative จำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือแรงงานคนดังกล่าว และ 4. รพ.วิภาราม 1 คน นายเฉลียว ไม่ทราบนามสกุล อาการกระดูกหัวไหล่เคลื่อน ข้อต่อข้อเท่าเคลื่อน มีแผลถลอกตามร่างกาย
ด้านนางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ แรงงานจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ล่าสุด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานีได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามข้อเท็จจริงจากนายจ้าง บริษัท ปลูกแปลง จำกัด ถนนรัชดาภิเษก กทม. เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการพิจารณาว่านายจ้างกระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเรื่องใดบ้าง จากเจ้าของกิจการและผู้รับเหมาเพื่อประกอบการดำเนินการทางกฎหมาย ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของทางการกัมพูชาได้แจ้งว่ามีแรงงานชาวกัมพูชาสูญหายไป 3 คน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้สั่งการให้ตั้งศูนย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ประสบเหตุ เพื่อรับลงทะเบียนรวมทั้งตอบข้อซักถามของญาติแรงงาน และให้บริการอาหารและเครื่องดื่มโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดย นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานไปร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการให้บริการประชาชนและผู้ใช้แรงงานในพื้นที่
นอกจากนี้ ในส่วนของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างทียังค้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง กรณีที่นายจ้างอาจต้องเลิกกิจการ ทั้งจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามอายุงาน ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานคุ้มครองลูกจ้างทุกคนไม่ว่าสัญชาติใด และไม่ว่าจะเข้าเมืองถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ในส่วนที่ลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน หากไม่ใช่ผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคม ลูกจ้างมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ขอให้นายจ้างรับผิดชอบในการเยี่ยวยารักษาลูกจ้าง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ส.ค.) เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีเหตุอาคารกำลังก่อสร้าง จ.ปทุมธานี ถล่ม ว่า ได้รับรายงานว่าขณะเกิดเหตุมีแรงงานทำงานอยู่ จำนวน 33 คน โดยมีแรงงานไทยและเด็กเสียชีวิต 3 คน คือ นายเชษฐา กำพูชาติ นางอ้วน ไม่ทราบนามสกุล ซึ่งกำลังตั้งท้อง 7 เดือน รวมทั้งลูกชายของนางอ้วนวัย 4 ขวบ ไม่ทราบชื่อ ส่วนแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บมี 25 คน โดยในจำนวนนี้บาดเจ็บเล็กน้อย ไม่ต้องส่ง รพ. 5 คน และต้องส่งไปรักษาที่ รพ. 20 คน ขณะนี้ยังมีแรงงานที่พักรักษาอยู่ รพ. 6 คน ที่ รพ.คลองหลวง 1 คน รพ.ธรรมศาสตร์ 1 คน รพ.ปทุมธานี 3 คน และ รพ.วิภาราม 1 คน นอกจากนี้ ยังมีแรงงานที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร 5 คน โดยเมื่อค่ำวานนี้ (12 ส.ค.) ได้มีการช่วยเหลือแรงงานออกมาได้ 1 คนคือ นายกล้าณรงค์ ปราบภัย
นายจีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการช่วยเหลือแรงงานที่ประสบเหตุนั้น แรงงานจะได้รับสิทธิกองทุนเงินทดแทน เนื่องจากบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงาน หากเป็นแรงงานไทยและต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมจะใช้เงินกองทุนเงินทดแทนช่วยเหลือได้ทันที โดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แรงงานตามจ่ายจริงไม่เกินคนละ 3 แสนบาท ส่วนกรณีเสียชีวิตจ่ายค่าทำศพ 3 หมื่นบาท และได้รับเงินสงเคราะห์โดยทายาทได้รับเงินชดเชยร้อยละ 60 ของค่าจ้างงวดสุดท้ายเป็นเวลา 8 ปี และเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีหยุดงานเพื่อพักรักษาตัว แต่ถ้าเป็นกรณีแรงงานไทยและต่างด้าวที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับระบบประกันสังคม ตนได้ให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปดำเนินการออกคำสั่งให้บริษัทที่เป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ เงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิที่ได้รับจากองทุนเงินทดแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแรงงานที่พักรักษาตัวอยู่ใน รพ. 6 คนใน รพ. 4 แห่ง ได้แก่ 1. รพ.คลองหลวง 1 คน นายสมัย นิวาท อาการเจ็บหลัง ถูกแผ่นปูนทับ 2. รพ.ปทุมธานี 3 คน ได้แก่ น.ส.สุกัญญา โพธิ์ตะมี ตั้งครรภ์ 4 เดือน กระดูกสะโพกซ้ายแตก ไหปลาร้าขวาหัก ปอดถูกกระแทก ยังอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู. นายจันทร์ ชาวกัมพูชา กระดูกซี่โครงหัก มีเลือดออกจากปอดด้านขวามีภาวะช็อกกระดูกสันหลังแตก และนายกล้าณรงค์ ปราบภัย กระดูกไหปลาร้าขวาหัก กระดูกสะโพกซ้ายแตก ยังอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู. 3. รพ.ธรรมศาสตร์ 1 คน นายสุวัฒน์ ชมพูจันทร์ อาการกระดูกแขนขวาหัก เส้นเลือดแดงใหญ่แขนขวาขาด ขาขวาหัก บาดเจ็บตาขวายังอยู่ห้อง ไอ.ซี.ยู. ซึ่งขณะนี้ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ต้องการรับบริจาคเลือดกรุ๊ป O Rh-Negative จำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือแรงงานคนดังกล่าว และ 4. รพ.วิภาราม 1 คน นายเฉลียว ไม่ทราบนามสกุล อาการกระดูกหัวไหล่เคลื่อน ข้อต่อข้อเท่าเคลื่อน มีแผลถลอกตามร่างกาย
ด้านนางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ แรงงานจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ล่าสุด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานีได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามข้อเท็จจริงจากนายจ้าง บริษัท ปลูกแปลง จำกัด ถนนรัชดาภิเษก กทม. เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการพิจารณาว่านายจ้างกระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเรื่องใดบ้าง จากเจ้าของกิจการและผู้รับเหมาเพื่อประกอบการดำเนินการทางกฎหมาย ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของทางการกัมพูชาได้แจ้งว่ามีแรงงานชาวกัมพูชาสูญหายไป 3 คน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้สั่งการให้ตั้งศูนย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ประสบเหตุ เพื่อรับลงทะเบียนรวมทั้งตอบข้อซักถามของญาติแรงงาน และให้บริการอาหารและเครื่องดื่มโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดย นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานไปร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการให้บริการประชาชนและผู้ใช้แรงงานในพื้นที่
นอกจากนี้ ในส่วนของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างทียังค้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง กรณีที่นายจ้างอาจต้องเลิกกิจการ ทั้งจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามอายุงาน ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานคุ้มครองลูกจ้างทุกคนไม่ว่าสัญชาติใด และไม่ว่าจะเข้าเมืองถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ในส่วนที่ลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน หากไม่ใช่ผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคม ลูกจ้างมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ขอให้นายจ้างรับผิดชอบในการเยี่ยวยารักษาลูกจ้าง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่