กรมอนามัยแนะเมนูเด็ดช่วยคุณแม่เพิ่มปริมาณน้ำนม และคุณภาพน้ำนม ทั้งหัวปลี ขิง มะละกอ พร้อมแนะวิธีบีบเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกกินได้นานถึง 6 เดือน ช่วยพัมนาการลูกสมวัย แข็งแรง
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน มากกว่า 200 ชนิด เป็นยอดอาหาร อุดมไปด้วยสารอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ที่จะช่วยให้ร่างกายเติบโตและพัฒนาสมอง จอประสาทตา ทำให้สายตามองเห็นได้ดีและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งการที่ลูกได้ดูดนมในอ้อมกอดแม่จะช่วยกระตุ้นการทำงาน ประสาทสัมผัสทุกส่วนของลูก ทำให้เซลล์สมองแตกแขนงมากขึ้น ยิ่งอุ้มลูกกินนมแม่อย่างน้อยวันละ 8 - 10 ครั้ง จะย้ำวงจรสมองให้จดจำและเกิดการเรียนรู้ที่ตอกย้ำนานขึ้น ซึ่งการเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิดลูกและแม่อยู่ด้วยกัน สนองความต้องการของเด็กได้อย่างทันการ เด็กจะไว้วางใจและเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างพื้นฐานอารมณ์ที่ดี ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการและเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายและมีความฉลาด
นพ.พรเทพ กล่าวว่า อาหารการกินของแม่ มีความสำคัญต่อคุณภาพน้ำนม ถ้าคุณแม่อ่อนเพลีย น้ำนมอาจไหลน้อย จึงควรกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มน้ำนม เช่น หัวปลี ขิง มะละกอ ฟักทอง กุยช่าย ตำลึง ใบกะเพรา ใบแมงลัก พริกไทย มะรุม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสมุไพรต่างๆ ช่วยในการบำรุงน้ำนม อาทิ 1. กานพลู โดยนำดอกตูมแห้ง 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือดดื่มหรือใช้เคี้ยวก็ได้ 2. ชบาดอกแดง ใช้ดอกสด 10 - 15 ดอก ใส่แกงเลียงกินติดต่อกัน 5 - 6 มื้อ 3. ไทรย้อยใบแหลม รากนำมาทำเป็นยาบำรุงน้ำนม 4. ผักกาดหอม ใช้เมล็ดตากแห้ง 5 กรัม ชงน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มก่อนอาหารเช้า - เย็น 5. นมนาง เปลือกหรือราก ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกายและควรดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและทดแทนน้ำที่เสียไป
“กรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ตลอดเวลา การบีบเก็บน้ำนม จึงเป็นวิธีที่จะทำให้ลูกได้กินนมแม่ครบ 6 เดือน โดยเริ่มจากล้างมือให้สะอาดก่อนบีบน้ำนม จากนั้นให้วางนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านบนของเต้านม และนิ้วชี้ด้านตรงข้ามบริเวณขอบนอกของลานนม ห่างจากฐานหัวนมประมาณ 3 เซนติเมตร ไม่ควรวางนิ้วที่หัวนม เพราะจะไปกดท่อเปิดทำให้น้ำนมไม่ไหล แล้วกดนิ้วมือทั้งสองเข้าที่หน้าอกให้เต้านมบุ๋มเมื่อบีบนิ้วเข้าหากันน้ำนมจะพุ่งออกมา ให้นำขวดแก้วหรือถ้วยรองรับน้ำนม เมื่อน้ำนมไหลให้ผ่อนนิ้วได้ โดยการกดบีบ คลายเป็นจังหวะ 1-2 วินาทีต่อครั้ง น้ำนมจะไหลพุ่งให้บีบเป็นจังหวะจนกระทั่งน้ำนมน้อยลง จึงค่อยๆ เลื่อนนิ้วทั้งสองไปรอบๆ ลานนม” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การบีบเก็บนมแต่ละเต้าใช้เวลา 15 นาที น้ำนมก็จะเริ่มไหลช้าลง จากนั้นให้ย้ายไปที่เต้านมอีกข้างหนึ่งโดยบีบสลับทั้งสองเต้าจนกระทั่งครบ 30 นาที แม่ควรบีบน้ำนมทิ้งก่อน 3 ครั้ง แล้วจึงใช้ขวดรองเก็บ ซึ่งการเก็บน้ำนมลงในขวดควรเก็บเท่ากับปริมาณที่ลูกต้องการกินในแต่ละมื้อ เมื่อบีบน้ำนมเสร็จให้ปิดฝาขวดให้มิดชิดทันที ถ้าตั้งไว้โดยไม่ใส่ในตู้เย็นน้ำนมจะอยู่ได้ 6 - 8 ชั่วโมง ในกรณีที่เก็บไว้ในตู้เย็นต้องเก็บไว้ในส่วนที่เย็นที่สุด คือ ชั้นที่อยู่ในช่องแช่แข็งด้านนมในสุดจะเก็บได้นานถึง 2 วัน หากเก็บในช่องแช่แข็งจะเก้บได้นาน 3 เดือน แต่ห้ามเก็บไว้ที่ประตูตู้เย็นเนื่องจากเป็นส่วนที่เปิด - ปิด ทำให้ความเย็นจะไม่คงที่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน มากกว่า 200 ชนิด เป็นยอดอาหาร อุดมไปด้วยสารอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ที่จะช่วยให้ร่างกายเติบโตและพัฒนาสมอง จอประสาทตา ทำให้สายตามองเห็นได้ดีและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งการที่ลูกได้ดูดนมในอ้อมกอดแม่จะช่วยกระตุ้นการทำงาน ประสาทสัมผัสทุกส่วนของลูก ทำให้เซลล์สมองแตกแขนงมากขึ้น ยิ่งอุ้มลูกกินนมแม่อย่างน้อยวันละ 8 - 10 ครั้ง จะย้ำวงจรสมองให้จดจำและเกิดการเรียนรู้ที่ตอกย้ำนานขึ้น ซึ่งการเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิดลูกและแม่อยู่ด้วยกัน สนองความต้องการของเด็กได้อย่างทันการ เด็กจะไว้วางใจและเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างพื้นฐานอารมณ์ที่ดี ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการและเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายและมีความฉลาด
นพ.พรเทพ กล่าวว่า อาหารการกินของแม่ มีความสำคัญต่อคุณภาพน้ำนม ถ้าคุณแม่อ่อนเพลีย น้ำนมอาจไหลน้อย จึงควรกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มน้ำนม เช่น หัวปลี ขิง มะละกอ ฟักทอง กุยช่าย ตำลึง ใบกะเพรา ใบแมงลัก พริกไทย มะรุม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสมุไพรต่างๆ ช่วยในการบำรุงน้ำนม อาทิ 1. กานพลู โดยนำดอกตูมแห้ง 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือดดื่มหรือใช้เคี้ยวก็ได้ 2. ชบาดอกแดง ใช้ดอกสด 10 - 15 ดอก ใส่แกงเลียงกินติดต่อกัน 5 - 6 มื้อ 3. ไทรย้อยใบแหลม รากนำมาทำเป็นยาบำรุงน้ำนม 4. ผักกาดหอม ใช้เมล็ดตากแห้ง 5 กรัม ชงน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มก่อนอาหารเช้า - เย็น 5. นมนาง เปลือกหรือราก ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกายและควรดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและทดแทนน้ำที่เสียไป
“กรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ตลอดเวลา การบีบเก็บน้ำนม จึงเป็นวิธีที่จะทำให้ลูกได้กินนมแม่ครบ 6 เดือน โดยเริ่มจากล้างมือให้สะอาดก่อนบีบน้ำนม จากนั้นให้วางนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านบนของเต้านม และนิ้วชี้ด้านตรงข้ามบริเวณขอบนอกของลานนม ห่างจากฐานหัวนมประมาณ 3 เซนติเมตร ไม่ควรวางนิ้วที่หัวนม เพราะจะไปกดท่อเปิดทำให้น้ำนมไม่ไหล แล้วกดนิ้วมือทั้งสองเข้าที่หน้าอกให้เต้านมบุ๋มเมื่อบีบนิ้วเข้าหากันน้ำนมจะพุ่งออกมา ให้นำขวดแก้วหรือถ้วยรองรับน้ำนม เมื่อน้ำนมไหลให้ผ่อนนิ้วได้ โดยการกดบีบ คลายเป็นจังหวะ 1-2 วินาทีต่อครั้ง น้ำนมจะไหลพุ่งให้บีบเป็นจังหวะจนกระทั่งน้ำนมน้อยลง จึงค่อยๆ เลื่อนนิ้วทั้งสองไปรอบๆ ลานนม” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การบีบเก็บนมแต่ละเต้าใช้เวลา 15 นาที น้ำนมก็จะเริ่มไหลช้าลง จากนั้นให้ย้ายไปที่เต้านมอีกข้างหนึ่งโดยบีบสลับทั้งสองเต้าจนกระทั่งครบ 30 นาที แม่ควรบีบน้ำนมทิ้งก่อน 3 ครั้ง แล้วจึงใช้ขวดรองเก็บ ซึ่งการเก็บน้ำนมลงในขวดควรเก็บเท่ากับปริมาณที่ลูกต้องการกินในแต่ละมื้อ เมื่อบีบน้ำนมเสร็จให้ปิดฝาขวดให้มิดชิดทันที ถ้าตั้งไว้โดยไม่ใส่ในตู้เย็นน้ำนมจะอยู่ได้ 6 - 8 ชั่วโมง ในกรณีที่เก็บไว้ในตู้เย็นต้องเก็บไว้ในส่วนที่เย็นที่สุด คือ ชั้นที่อยู่ในช่องแช่แข็งด้านนมในสุดจะเก็บได้นานถึง 2 วัน หากเก็บในช่องแช่แข็งจะเก้บได้นาน 3 เดือน แต่ห้ามเก็บไว้ที่ประตูตู้เย็นเนื่องจากเป็นส่วนที่เปิด - ปิด ทำให้ความเย็นจะไม่คงที่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่