หากพูดถึง "เด็กพิเศษ" หลายคนคงจะนึกถึงภาพของเด็กพิการทางสมอง ที่ต้องดูแลและต้องให้ความสนใจพวกเขาอย่างใกล้ชิด บางคนก็อาจจะนึกถึงเด็กที่ไร้ความสามารถและเป็นภาระต่อสังคม แต่ในเมื่อพวกเขาเลือกเกิดไม่ได้ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องคอยเสียสละ ทุ่มเท เพื่อดูแลลูกคนนี้ให้ได้ดีที่สุด... ถึงแม้ว่าจะต้องคอยดูแลพวกเขาไปตลอดชีวิตก็ตาม
เด็กที่เป็น ออทิสติก หรือเรียกกันว่า เด็กพิเศษ ซึ่งเป็นภาระต่อสังคมอย่างมาก ถ้าไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลายคนถูกพ่อแม่ทิ้งเพราะรับไม่ได้ที่ลูกเกิดมาเป็นแบบนี้ และก็อีกหลายครอบครัว ที่ไม่สามารถดูแลลูกของตัวเองได้ ด้วยฐานะการเงินหรืออะไรก็ตาม แต่ เด็กเหล่านี้ต้องได้รับดูเป็นพิเศษหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะเป็นปัญหาสังคมต่อไป
แต่ครูบุญชู ม่วงไหมทอง อดีตข้าราชการครู วัย 50 เศษ ครูวิเศษ ของเด็กพิเศษ หรือ ครูบุญชู ของทุกคน ซึ่ง เขาขอละทิ้งชีวิตที่สุขสบายในอาชีพราชการและความก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน เพื่อทุ่มเทแรงกายแรงใจและกำลังทรัพย์ที่เหลืออยู่ ให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้ โดยการตั้ง บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ บนพื้นที่ เกือบ 2 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนสาย 331 หมู่ 5 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ก่อตั้งเมื่อปี 2552 เพื่อ มาดูแลเด็กเหล่านี้ ด้วยทุนทรัพย์ของตนเอง หวังให้เป็นที่พึงให้กับเด็กๆเหล่านี้
การดูแลเด็กออทิสติก เป็นภารกิจที่ค่อนข้างยาก ต้องมีความเสียสละ และมีใจรักจริงจึงจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางรายชอบใช้ความรุนแรง แต่ก็มีความสุขที่ได้ดูแล โดยเฉพาะในยามที่เห็นเด็กมีอาการดีขึ้น ทำให้ครู และผู้ช่วยภูมิใจเป็นอย่างมาก
เด็กพิเศษสิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการพัฒนาสมอง เด็กที่เข้ามาบำบัดที่นี่ ได้มีการพัฒนามากขึ้น มีการจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น และทรงตัวได้ดี จากเด็กที่เคยกลัวก็จะมีความกล้าและมีความสุขกับกิจกรรมที่ทำได้
เด็ก ๆ เหล่านี้มีความพิการทางสมอง เนื่องจากมีความผิดปกติในด้านพัฒนาการอย่างรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็กก่อให้ เกิดพัฒนาการทาง ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้มี พฤติกรรมความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองนำมาฝากไว้ให้ศูนย์แห่งนี้ดูแลจำนวนมาก
ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ปกครองต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว จึงจำเป็นต้องนำเด็กเหล่านี้มาฝากไว้ให้ดูแล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ถ้าเด็กมีการพัฒนาไปในทางที่ดี ก็จะส่งเด็กไปเรียนร่วมกับเด็กนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆตามปกติได้ทันที เพื่อให้พวกเขาได้มีสังคม และสามารถใช้ชีวิตเช่นคนปกติได้
“การบำบัดเด็กพิเศษเป็นภารกิจที่ค่อนข้างยาก ต้องมีความเสียสละทั้งกายและจิตใจ เนื่องจากเด็กเหล่านี้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อีกทั้งบางรายชอบใช้ความรุนแรง อาจจะทำร้ายคนที่เข้าใกล้ได้ จึงต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมาก และต้องมีใจรักจริง ๆจึงจะประสบความสำเร็จ เด็กที่เข้าการบำบัดรักษาบางรายมีอาการค่อนข้างหนัก บางคนไม่สามารถเดินได้ บางคนน้ำลายไหล บางคนมีอารมณ์ฉุนเฉี่ยว ซึ่งผู้ฝึกบางคนถูกเด็กถมน้ำลายใส่หน้า และถูกทุบตี แต่เรา ก็มีความสุขที่ได้ทำงาน”
โดยเฉพาะในยามที่เห็นเด็กที่เข้ารับการบำบัดอาการดีขึ้น เช่น รายที่ไม่สามารถเดินได้เลยต้องนั่งอยู่บนรถเข็ญอยู่ตลอดเวลา สามารถก้าวเดินได้ ส่วนรายที่น้ำลายไหลตลอดเวลากลับพบว่าน้ำลายหยุดไหล และรายที่ก้าวร้าวชอบทำร้ายผู้อื่นลดพฤติกรรมดังกล่าวลง เป็นสิ่งที่ทำให้ครูและผู้ช่วยกันดูแลนั้นมีภูมิใจเป็นอย่างมาก
สำหรับกิจกรรมในแต่ละวันที่ทางบ้านครูบุญชู ทำให้กับน้องๆที่เป็นเด็กกินนอน ตื่นเช้ามามาต้องฝึกต้องสอนให้ทุกคำทำภารกิจ ส่วนตัวอาบน้ำ ล้างหน้าแปลงฟัน หลังจากนั้นมารับประทานอาการเช้าร่วมกัน รวมทั้งได้มีการเรียนการสอน เท่าที่เด็กจะรับได้ ต่อจากนั้นถึงเวลาพักเที่ยง หากวันไหนมีผู้ใหญ่ใจดีมาเลี้ยงอาหารกลางวัน พวกเด็กๆก็จะดีใจ และได้สนุกสนานเล่นกิจกรรมไป แต่ถ้าไม่มี หลังจากทานอาหารกลางวันแล้ว ทางบ้านฯ ก็จะทำกิจกรรมให้เด็กๆ ได้สนุกสนานเป็นการผ่อนคลายการเปิดเพลงเต้นรำกัน
ช่วงบ่ายก็จะปล่อยให้ทุกคนได้พักผ่อนและผ่อนคลาย เพราะเด็ก พิเศษเหล่านี้จะเหนื่อย พวกเขาต้องการพักผ่อน บางคนก็นอนหลับ บางก็นั่งเล่น โดยในแต่ละวัน จะมีการจัดกิจกรรรมให้เด็กๆเหล่านี้ได้เข้าถึงธรรมนะ โดยทางเราได้สร้างหอพระ สำหรับเด็กได้ขึ้นไปสวดมนต์ ไหว้พระ ซึ่งถือว่าเป็นการทำสมาธิไปด้วยอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้ในช่วงเย็นหรือยามว่างจะให้เด็กๆ ได้ทำการฝีมือ สินค้าโอทอป น้ำยาล้างจาน ปุ๋ยชีวิภาพ เอาไว้ใช้เอง และ ขายเพื่อหารายได้ เป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้านฯ
นอกจากนี้ยังฝึกให้เด็กได้ทำแปลงผัก ปลูกผักเพื่อไว้ประกอบอาหาร โดยได้รับการสนับสนุน จากบริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จํากัด และบริษัทซียูอีแอล จำกัด ได้สนับสนุนเงินงบประมาณในการจัดทำแปลงผักออแกนิก ซึ่งถือว่าเป็นการบำบัดเด็กให้มีการพัฒนาสมอง และล่าสุดทางเราได้นำแกะมาเลี้ยง ซึ่งถือเป็นการบำบัดเด็กพิเศษได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับ เด็กออทิสติก แบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย เด็กออทิสติกที่ช่วยเหลือตนเองได้ สามารถเรียนร่วม กับเด็กปกติได้ และเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ปัจจุบันเด็กออทิส ติกรวมทั่วประเทศมีมาก กว่า 500,000 คน รวมถึงยังมีเด็กออทิสติกอีกจำนวนมากที่ผู้ปกครองไม่เปิดโอกาสให้บุตรหลานใช้ชีวิตร่วมกับสังคมปกติ ต้องใช้ความอดทนเพื่อให้เป็นตัวอย่างให้แก่จังหวัดอื่นๆ ในการจัด การศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กออทิสติกในโรงเรียนต่างๆ ส่วนที่บ้านครูบุญชู เป็นเด็กที มีความบกพร่องทางสติปัญญา ออทิสติก พิการซ้อน มีปัญหาทางการเรียนรู้ บกพร่องทางร่างกาย และสายตาเลื่อนลาง
ครูบุญชู เล่าต่อว่าสำหรับเด็กออทิสติก ที่บ้านครูบุญชู ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 100 คนทั้งแบบไปกลับ ทุกวัน และไป-กลับ เสาร์อาทิตย์ และ อยู่ประจำ สำหรับอยู่ประจำมีทั้งหมด 70 คน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ที่เราจะต้องดูแลทุกอย่าง อายุโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ 3 ขวบครึ่ง- 29 ปี จากทั่วประเทศ และพี่เลี้ยงอีก 18 คน บางคนต้องดูแลทั้งครอบครอบครัวเพราะเป็นออทิสติก ทั้งบ้าน แต่ผู้ปกครองพอที่จะจะใช้ชีวิตในสังคมแต่ถูกกระทำมา และมีฐานะอยากจนไม่มีที่อยู่อาศัย ทางบ้านฯ จึงจัดหาที่อยู่ให้แต่ต้องช่วยเหลือตัวเองด้วย
สำหรับค่าใช้จ่ายของบ้านฯ โดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 2 แสนบาท ซึ่งถือว่าหนักพอสมควรเพราะเราไม่ใช้หน่วยงานของรัฐ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายทุกอย่างเราต้องดูแลเอง แต่ก็ต้องประคับประคองกันไปเพื่ออยู่ให้ได้
...ไม่ว่าจะหนักแค่ไหน ครูบุญชู แม่พระของเด็กพิเศษ ซึ่งเปลี่ยนเสมือนแม่คนหนึ่งที่ต้องจับตาดูลูกอยู่ไม่ห่าง เรียกได้ว่าเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่และเป็นภาระที่ไม่มีวันสิ้นสุด แต่ครูบุญชู ก็ยังคงตั้งมั่นทำหน้าที่แม่ที่แสนดีให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้ ด้วยความหวังอันเล็ก ๆ ที่อยากเห็นเพียงแค่เด็ก ๆ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และอยากให้สังคมได้มองเห็นคุณค่าของเด็กพิเศษ อย่างที่เธอเห็น เพื่อที่พวกเขาจะได้มีจุดยืนในสังคมบ้างเท่านั้นเอง.....