เด็กไทยไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่าค่ามาตรฐาน แถมอีคิวมีแนวโน้มลดลง ส่วนเด็กเล็ก 11% เป็นโรคขาดสารไอโอดีน ส่วนเด็กปฐมวัยเผชิญปัญหาโลหิตจาง เผยเกินครึ่งมาจากการขาดธาตุหล็ก กรมสุขภาพจิตจับมือกรมอนามัย เตรียมสำรวจเด็ก ป.1 ทั่วประเทศ ดู “ไอคิว-อีคิว-ไอโอดีน-โลหิตจาง” หวังใช้พัฒนาศักยภาพเด็กไทย
วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวในการเสวนา "สถานการณ์และการสำรวจระดับสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะขาดไอโอดีน และภาวะโลหิตจางในเด็กไทยปี 2557" ว่า จากการสำรวจระดับสติปัญญา (ไอคิว) นักเรียนไทยทั่วประเทศ เมื่อปี 2554 พบไอคิวเฉลี่ย 98.59 ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากลคือ 100 โดยมีเด็กไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 48.5% เป็นเด็กสติปัญญาบกพร่องหรือไอคิวต่ำกว่า 70 อยู่ถึง 6.5% สูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรเกิน 2% ขณะที่การสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) เด็กไทยวัย 3-5 ปี เมื่อปี 2545 พบว่า มีเกณฑ์ปกติ 139-202 คะแนน และลดลงเป็น 125-198 คะแนน ในปี 2550 ด้านที่ลดลง คือ การปรับตัวต่อปัญหาและความกระตือรือร้น ส่วนเด็กวัย 6-11 ปี สำรวจเมื่อปี 2545 มีเกณฑ์ปกติ 148-225 คะแนน แต่ลดลงเป็น 129-218 คะแนน ในปี 2550 ด้านที่ลด คือ ความมุ่งมั่นพยายาม
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ นักเรียนไทยยังพบปัญหาโภชนาการ คือ โรคขาดสารไอโอดีน และภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งส่งผลต่อระดับสติปัญญาและสุขภาพ ล่าสุด จากการตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี ของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เมื่อปี 2556 พบเด็กร้อยละ 11.1 เป็นโรคขาดสารไอโอดีน โดยมีปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะน้อยกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลิตร ส่วนการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2546 พบความชุกโรคโลหิตจางกลุ่มเด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน - 5 ปี ร้อยละ 25.9 กลุ่มเด็กวัยเรียน อายุ 6-8 ปี ร้อยละ 46.7 อายุ 9 - 11 ปี ร้อยละ 25.4 และ อายุ 12 - 14 ปี ร้อยละ 15.7 ซึ่งสาเหตุเกินครึ่งมาจากการขาดธาตุเหล็ก
“กรมสุขภาพจิตและกรมอนามัยเตรียมร่วมมือสำรวจ ไอคิว อีคิว ภาวะขาดสารไอโอดีน และภาวะโลหิตจางของเด็กไทย ปี 2557 โดยจะสำรวจกลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนชั้น ป.1 ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นตัวแทนในระดับเขตบริการสาธารณสุข ประมาณ 5,721 - 6,005 คน พร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่าง ก.ค.- ส.ค. เพื่อติดตามสถานการณ์ไอคิวและอีคิวในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เพื่อวางแผนส่งเสริมและพัฒนาไอคิว อีคิวเด็กไทย ให้มีศักยภาพแข่งขันกับนานาประเทศได้ ทั้งนี้ ในช่วงตั้งครรภ์มารดาควรกินไอโอดีน และหลังเด็กคลอด 3 เดือนควรดูแลให้เด็กกินอาหารครบตามหลักโภชนาการ” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
พญ.แสงโสม สีนะวัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านโภชนาการ) กรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อไอคิว ได้แก่ 1. ไอโอดีน เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน ในการพัฒนาสมองและระบบการทำงานของร่างกาย โรคขาดสารไอโอดีนจึงเป็นต้นเหตุของภาวะปัญญาอ่อน เพราะสมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ระดับสติปัญญาลดลง และ 2. ธาตุเหล็ก ซึ่งจะสะสมในสมองตั้งแต่ทารกในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่ มีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ โดยภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในทารกแรกเกิด - 2 ปี จะส่งผลต่อศักยภาพการเรียนรู้อย่างถาวร เด็กไม่สามารถพัฒนาได้เท่ากับเด็กปกติ แต่หากเกิดเพียงระยะสั้นๆ จะสามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ทั้งนี้ การเสริมไอโอดีนทำได้ด้วยการกินเครื่องปรุงรสที่มีการเสริมไอโอดีน เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว หรือกินอาหารทะเล ส่วนธาตุเหล็กมีโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยจะเสริมธาตุเหล็กให้นักเรียนสัปดาห์ละ 1 เม็ด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวในการเสวนา "สถานการณ์และการสำรวจระดับสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะขาดไอโอดีน และภาวะโลหิตจางในเด็กไทยปี 2557" ว่า จากการสำรวจระดับสติปัญญา (ไอคิว) นักเรียนไทยทั่วประเทศ เมื่อปี 2554 พบไอคิวเฉลี่ย 98.59 ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากลคือ 100 โดยมีเด็กไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 48.5% เป็นเด็กสติปัญญาบกพร่องหรือไอคิวต่ำกว่า 70 อยู่ถึง 6.5% สูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรเกิน 2% ขณะที่การสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) เด็กไทยวัย 3-5 ปี เมื่อปี 2545 พบว่า มีเกณฑ์ปกติ 139-202 คะแนน และลดลงเป็น 125-198 คะแนน ในปี 2550 ด้านที่ลดลง คือ การปรับตัวต่อปัญหาและความกระตือรือร้น ส่วนเด็กวัย 6-11 ปี สำรวจเมื่อปี 2545 มีเกณฑ์ปกติ 148-225 คะแนน แต่ลดลงเป็น 129-218 คะแนน ในปี 2550 ด้านที่ลด คือ ความมุ่งมั่นพยายาม
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ นักเรียนไทยยังพบปัญหาโภชนาการ คือ โรคขาดสารไอโอดีน และภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งส่งผลต่อระดับสติปัญญาและสุขภาพ ล่าสุด จากการตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี ของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เมื่อปี 2556 พบเด็กร้อยละ 11.1 เป็นโรคขาดสารไอโอดีน โดยมีปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะน้อยกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลิตร ส่วนการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2546 พบความชุกโรคโลหิตจางกลุ่มเด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน - 5 ปี ร้อยละ 25.9 กลุ่มเด็กวัยเรียน อายุ 6-8 ปี ร้อยละ 46.7 อายุ 9 - 11 ปี ร้อยละ 25.4 และ อายุ 12 - 14 ปี ร้อยละ 15.7 ซึ่งสาเหตุเกินครึ่งมาจากการขาดธาตุเหล็ก
“กรมสุขภาพจิตและกรมอนามัยเตรียมร่วมมือสำรวจ ไอคิว อีคิว ภาวะขาดสารไอโอดีน และภาวะโลหิตจางของเด็กไทย ปี 2557 โดยจะสำรวจกลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนชั้น ป.1 ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นตัวแทนในระดับเขตบริการสาธารณสุข ประมาณ 5,721 - 6,005 คน พร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่าง ก.ค.- ส.ค. เพื่อติดตามสถานการณ์ไอคิวและอีคิวในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เพื่อวางแผนส่งเสริมและพัฒนาไอคิว อีคิวเด็กไทย ให้มีศักยภาพแข่งขันกับนานาประเทศได้ ทั้งนี้ ในช่วงตั้งครรภ์มารดาควรกินไอโอดีน และหลังเด็กคลอด 3 เดือนควรดูแลให้เด็กกินอาหารครบตามหลักโภชนาการ” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
พญ.แสงโสม สีนะวัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านโภชนาการ) กรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อไอคิว ได้แก่ 1. ไอโอดีน เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน ในการพัฒนาสมองและระบบการทำงานของร่างกาย โรคขาดสารไอโอดีนจึงเป็นต้นเหตุของภาวะปัญญาอ่อน เพราะสมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ระดับสติปัญญาลดลง และ 2. ธาตุเหล็ก ซึ่งจะสะสมในสมองตั้งแต่ทารกในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่ มีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ โดยภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในทารกแรกเกิด - 2 ปี จะส่งผลต่อศักยภาพการเรียนรู้อย่างถาวร เด็กไม่สามารถพัฒนาได้เท่ากับเด็กปกติ แต่หากเกิดเพียงระยะสั้นๆ จะสามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ทั้งนี้ การเสริมไอโอดีนทำได้ด้วยการกินเครื่องปรุงรสที่มีการเสริมไอโอดีน เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว หรือกินอาหารทะเล ส่วนธาตุเหล็กมีโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยจะเสริมธาตุเหล็กให้นักเรียนสัปดาห์ละ 1 เม็ด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่