บอร์ด สปส. ไฟเขียวปล่อยกู้เงินกองทุนประกันสังคม 2 พันล้าน เดินหน้าโครงการสนับสนุนการจ้างงานเขตพัฒนาพิเศษ 15 จังหวัดชายแดนใต้ เร่งหาธนาคารเข้าร่วมโครงการปล่อยกู้เน้นมีความมั่นคง - มีกำไร
วันนี้ (31 ก.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บอร์ด สปส. มีมติเห็นชอบอนุมัติเงินกองทุนประกันสังคมภายใต้กรอบวงเงินการลงทุนทางสังคมตามแผนการลงทุนประจำปี 2557 จำนวน 2,000 ล้านบาทตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ที่เสนอผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการจ้างงานเขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวงเงินดำเนินโครงการ 2,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารให้แก่สถานประกอบการรายละไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี และผู้ประกันตนรายละไม่เกิน 150,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี โดยทั้งสองกลุ่มคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนคุณสมบัติของสถานประกอบการ และผู้ประกันตนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะขอกู้สินเชื่อในโครงการสนับสนุนการจ้างงานนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนกับ สปส. ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ส่วนจะปล่อยกู้สินเชื่อในโครงการได้เมื่อใดนั้น ขณะนี้ยังกำหนดไม่ได้ เพราะ สปส. กำลังออกประกาศรับสมัครธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยต้องเป็นธนาคารที่มีความมั่นคงสูงและมีกำไรสะสม รวมทั้งได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีแล้ว หากเป็นธนาคารที่มีปัญหาขาดทุนไม่อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการเพื่อป้องกันปัญหาหนี้สูญ
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อ สปส. คัดเลือกธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการได้แล้วก็จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง สปส. กับธนาคาร ซึ่งการดำเนินการโครงการนี้ สปส. จะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 1 ต่อปี คงที่ 5 ปี เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนให้ธนาคารคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวน ทั้งนี้ สถานประกอบการและผู้ประกันตนยื่นคำขอกู้สินเชื่อได้หลังจากวันที่มีการลงนามเอ็มโอยูจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และหากสถานประกอบการหรือผู้ประกันตนพ้นสภาพจากระบบประกันสังคม จะถือว่าไม่อยู่ในเงื่อนไขของโครงการ ให้สำนักงานถอนเงินต้นคงเหลือคืน
“โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่ง สปส. อนุมัติวงเงินกองทุน 1,000 ล้านบาท ปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารโดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 คงที่ 5 ปีให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 5 จังหวัดภาคใต้ เพื่อไม่ให้มีการเลิกจ้างแรงงานในภาคใต้ ทาง กรอ. เห็นว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคใต้ จึงเสนอ คสช. ให้มีการดำเนินโครงการนี้ต่อ” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (31 ก.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บอร์ด สปส. มีมติเห็นชอบอนุมัติเงินกองทุนประกันสังคมภายใต้กรอบวงเงินการลงทุนทางสังคมตามแผนการลงทุนประจำปี 2557 จำนวน 2,000 ล้านบาทตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ที่เสนอผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการจ้างงานเขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวงเงินดำเนินโครงการ 2,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารให้แก่สถานประกอบการรายละไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี และผู้ประกันตนรายละไม่เกิน 150,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี โดยทั้งสองกลุ่มคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนคุณสมบัติของสถานประกอบการ และผู้ประกันตนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะขอกู้สินเชื่อในโครงการสนับสนุนการจ้างงานนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนกับ สปส. ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ส่วนจะปล่อยกู้สินเชื่อในโครงการได้เมื่อใดนั้น ขณะนี้ยังกำหนดไม่ได้ เพราะ สปส. กำลังออกประกาศรับสมัครธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยต้องเป็นธนาคารที่มีความมั่นคงสูงและมีกำไรสะสม รวมทั้งได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีแล้ว หากเป็นธนาคารที่มีปัญหาขาดทุนไม่อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการเพื่อป้องกันปัญหาหนี้สูญ
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อ สปส. คัดเลือกธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการได้แล้วก็จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง สปส. กับธนาคาร ซึ่งการดำเนินการโครงการนี้ สปส. จะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 1 ต่อปี คงที่ 5 ปี เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนให้ธนาคารคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวน ทั้งนี้ สถานประกอบการและผู้ประกันตนยื่นคำขอกู้สินเชื่อได้หลังจากวันที่มีการลงนามเอ็มโอยูจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และหากสถานประกอบการหรือผู้ประกันตนพ้นสภาพจากระบบประกันสังคม จะถือว่าไม่อยู่ในเงื่อนไขของโครงการ ให้สำนักงานถอนเงินต้นคงเหลือคืน
“โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่ง สปส. อนุมัติวงเงินกองทุน 1,000 ล้านบาท ปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารโดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 คงที่ 5 ปีให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 5 จังหวัดภาคใต้ เพื่อไม่ให้มีการเลิกจ้างแรงงานในภาคใต้ ทาง กรอ. เห็นว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคใต้ จึงเสนอ คสช. ให้มีการดำเนินโครงการนี้ต่อ” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่