ก.แรงงานหารือประเทศสมาชิกอาเซียนแลกเปลี่ยนความรู้จัดการด้านประกันสังคม รับมือการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี หลังเปิดเออีซี ขยายความคุ้มครองแรงงานนอกระบบ - แรงงานไทยในต่างประเทศ เผยการดูแลแรงงานนอกระบบยังมีข้อจำกัดเล็งหาทางแก้ไข
วันนี้ (8 ก.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระหว่างประเทศ เรื่อง “การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความคุ้มครองทางสังคมแก่ประชาคมอาเซียน” จัดโดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ ลาดพร้าว พร้อมกล่าวว่า สปส. ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี พ.ศ. 2558 โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประสบการณ์ด้านการใหัความคุ้มครองแก่พลเมืองของตนเองเข้าร่วมจำนวนกว่า 300 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยมีประเด็นสำคัญที่จะหารือ คือ การสร้างฐานความคุ้มครองทางสังคม การขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ การให้ความคุ้มครองด้านประกันสังคมแก่แรงงานไทยในต่างประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 หัวข้อสำคัญ คือ 1.การพัฒนาการและแนวโน้มการให้ความคุ้มครองทางสังคมจากอดีตสู่อนาคต 2. การให้ความคุ้มครองประกันสังคมแก่แรงงานนอกระบบ 3. การให้ความคุ้มครองด้านประกันสังคมแก่พลเมืองของตนในต่างประเทศ
ทั้งนี้ การประชุมนี้นับเป็นก้าวสำคัญของการดำเนินงานเชิงรุกของ สปส. อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ก็มุ่งมั่นสร้างความคุ้มครองให้กับแรงงานทุกคน และความพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกการประกันสังคมระหว่างประเทศและสมาชิกการประกันสังคมอาเซียน เพื่อการสร้างความพยายามในการร่วมมือกัน โดยประเด็นสำคัญคือกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ มีลักษณะที่พิเศษ มีข้อจำกัดในการดูแล ซึ่งแต่ละประเทศมีความพร้อมด้านทรัพยากร งบประมาณในการดำเนินการแตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงต้องร่วมมือกัน
นายจีรศักดิ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานว่า ในเรื่องการดูแลแรงงานข้ามชาตินั้น เมื่อออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแล้ว จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการดูแลเรื่องประกันสุขภาพ ส่วนหน้าที่ของประกันสังคมจะต้องเร่งให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนในกองทุนเงินทดแทนเพื่อดูแลปัญหาการประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน จากนั้นจะต้องเร่งพิสูจน์สัญชาติภายใน 60 วัน ส่วนภาคการประมงขณะนี้ได้ให้นายจ้างรวบรวมรายชื่อส่งมายังกระทรวงแรงงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ ส่วนการเปิดศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส อยู่ในแผนของ กนร. ที่จะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 9 ก.ค. นี้
นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่เออีซี เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในด้านต่างๆระหว่างประเทศ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เราจะสามารถเรียนรู้กันและกันจากองค์กรด้านการคุ้มครองทางสังคมต่างๆ เราตระหนักถึงการให้การคุ้มครองทางสังคมกับคนทำงาน ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรด้วยดี
ด้าน น.ส.วิจิตรศรี สงวนวงศ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หากแรงงานได้รับการดูแลที่ดีมีความเข้มแข็ง ภาครัฐก็จะมีความมั่นคงด้วย ซึ่งถือเป็นความท้าทายของภาครัฐที่จะขยายการคุ้มครองไปสู่คนทุกกลุ่ม ซึ่งล่าสุดได้มีการขยายการคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ รวมถึงแรงงานต่างด้าว เพื่อรองรับเออีซี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ก.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระหว่างประเทศ เรื่อง “การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความคุ้มครองทางสังคมแก่ประชาคมอาเซียน” จัดโดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ ลาดพร้าว พร้อมกล่าวว่า สปส. ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี พ.ศ. 2558 โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประสบการณ์ด้านการใหัความคุ้มครองแก่พลเมืองของตนเองเข้าร่วมจำนวนกว่า 300 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยมีประเด็นสำคัญที่จะหารือ คือ การสร้างฐานความคุ้มครองทางสังคม การขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ การให้ความคุ้มครองด้านประกันสังคมแก่แรงงานไทยในต่างประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 หัวข้อสำคัญ คือ 1.การพัฒนาการและแนวโน้มการให้ความคุ้มครองทางสังคมจากอดีตสู่อนาคต 2. การให้ความคุ้มครองประกันสังคมแก่แรงงานนอกระบบ 3. การให้ความคุ้มครองด้านประกันสังคมแก่พลเมืองของตนในต่างประเทศ
ทั้งนี้ การประชุมนี้นับเป็นก้าวสำคัญของการดำเนินงานเชิงรุกของ สปส. อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ก็มุ่งมั่นสร้างความคุ้มครองให้กับแรงงานทุกคน และความพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกการประกันสังคมระหว่างประเทศและสมาชิกการประกันสังคมอาเซียน เพื่อการสร้างความพยายามในการร่วมมือกัน โดยประเด็นสำคัญคือกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ มีลักษณะที่พิเศษ มีข้อจำกัดในการดูแล ซึ่งแต่ละประเทศมีความพร้อมด้านทรัพยากร งบประมาณในการดำเนินการแตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงต้องร่วมมือกัน
นายจีรศักดิ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานว่า ในเรื่องการดูแลแรงงานข้ามชาตินั้น เมื่อออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแล้ว จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการดูแลเรื่องประกันสุขภาพ ส่วนหน้าที่ของประกันสังคมจะต้องเร่งให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนในกองทุนเงินทดแทนเพื่อดูแลปัญหาการประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน จากนั้นจะต้องเร่งพิสูจน์สัญชาติภายใน 60 วัน ส่วนภาคการประมงขณะนี้ได้ให้นายจ้างรวบรวมรายชื่อส่งมายังกระทรวงแรงงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ ส่วนการเปิดศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส อยู่ในแผนของ กนร. ที่จะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 9 ก.ค. นี้
นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่เออีซี เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในด้านต่างๆระหว่างประเทศ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เราจะสามารถเรียนรู้กันและกันจากองค์กรด้านการคุ้มครองทางสังคมต่างๆ เราตระหนักถึงการให้การคุ้มครองทางสังคมกับคนทำงาน ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรด้วยดี
ด้าน น.ส.วิจิตรศรี สงวนวงศ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หากแรงงานได้รับการดูแลที่ดีมีความเข้มแข็ง ภาครัฐก็จะมีความมั่นคงด้วย ซึ่งถือเป็นความท้าทายของภาครัฐที่จะขยายการคุ้มครองไปสู่คนทุกกลุ่ม ซึ่งล่าสุดได้มีการขยายการคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ รวมถึงแรงงานต่างด้าว เพื่อรองรับเออีซี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่